สถาบันอุดมศึกษากับความรับผิดชอบต่อสังคม: ภารกิจที่ท้าทาย

โดย อุ๊ยสร้อย เมื่อ กันยายน 3, 2010 เวลา 9:30 (เช้า) ในหมวดหมู่ การเรียนรู้ชีวิต #
อ่าน: 6909

คุณโสภณ สุภาพงษ์ บรรยายหัวข้อนี้ได้อย่างน่าติดตามมากค่ะ

การพูดแบบสุภาพแต่มีเสียงหนักเบารวมทั้งเปรียบเปรยทำให้ผู้ฟังสนุกติดตามตลอดการบรรยาย

ประเด็นที่คุณโสภณ พูดถึงการศึกษาว่า การศึกษาคือกระบวนการเรียนรู้เข้าถึงกฏธรรมชาติ

การศึกษาควรทำความเข้าใจเรื่องของกฎสมมติ ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง การจัดการศึกษาเริ่มให้เรียนรู้ไม่ใช่เรียนความรู้

และการเป็นกัลยาณมิตร

คุณโสภณบรรยายการทำงานของสมองได้อย่างเข้าใจง่าย และทำให้เข้าใจถึงการเรียนรู้ การลอกเลียนแบบ การเพิ่มศักยภาพสมองตั้งแต่วัยเด็ก

@@ การเรียนรู้จะเกิดได้ เมื่อเคยพบความจริง
มีสติ ระลึกได้ รอบคอบ
มีปัญญา
มีสัมปชัญญะ
และเคยเป็นกัลยาณมิตร

คำถามที่คุณโสภณถามที่ประชุมคือ มหาวิทยาลัยเป็นกัลยาณมิตรกับนักศึกษาหรือยัง
มหาวิทยาลัยสนับสนุนการเรียนรู้หรือการเรียนความรู้

การดูแลสังคมนั้น มหาวิทยาลัยได้ทำหรือยัง
@@ จิตที่เรียนรู้จะหยุดคิด จะเกิดมุฑิตาจิต หมดความอิจฉา และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งจะไปส่งผลให้สมองหลั่งสารสุขต่อเนื่องจนเป็นอุปนิสัย
มหาวิทยาลัยได้สร้างมุฑิตาจิตกับผู้เรียนอย่างไร และได้ช่วยเหลือสังคมไปในทิศทางของความสุขจากการให้ หรือยัง หรือว่ามหาวิทยาลัยยังคงวนเวียนกับการให้ความรู้เพื่อการแข่งขันมากกว่าการเรียนรู้

@@ เริ่มที่จิตไม่ใช่ด้วยจำ
เริ่มที่การเรียนรู้ไม่ใช่ความรู้

»»» คำพูดของคุณโสภณอาจจะไม่ใช่อย่างที่เขียนบันทึกนี้ทั้งหมดนะคะ ก็เป็นการเรียนรู้ของผู้บันทึกและเก็บประเด็นที่เห็นสมควรเผยแพร่นะคะ

พิมพ์บนเครื่องมือถือ กลับเชียงใหม่แล้วค่อยเติมรูปค่ะ

« « Prev : สภามหาวิทยาลัย:ปฐมบทการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย

Next : เก็บตกจากโปสเตอร์ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

913 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 3.0199570655823 sec
Sidebar: 0.066390991210938 sec