คนสอนคน
ได้กราบนมัสการถามท่านสมณะเสียงศีลหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการเลือกผู้ที่จะมาช่วยงานวิจัย ท่านชี้ให้ดูป้ายนี้
@@@ปัญหาที่กำลังพบก็คือต้องเลือกน้อง 2 คนจากที่มีให้เลือก 3 คน พิจารณาจากการทำงานที่ผ่านมา ไม่แตกต่างกันนักในด้านทักษะต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ การติดต่อ การปรับตัว ซึ่งเป็นคุณสมบัติจำเป็นในการทำงานในพื้นที่
บางครั้งก็ยากเหมือนกันที่จะแยกว่า ใครเป็น “เรือแพที่ดี ไม่รั่ว เหมาะที่จะใช้งาน” ยิ่งเรามีอคติรู้สึกเห็นใจ เมื่อบังเอิญได้ไปรู้ว่า น้องคนหนึ่งมีปัญหาเรื่องเงิน ครั้นจะตัดปัญหาเลือกไว้ทั้ง 3 คน ก็ดูจะเกินความจำเป็นของงานและเป็นภาระด้านค่าใช้จ่ายจนเกินไป
@@@ ก็เลยลองเรียกมาคุยทั้ง 3 คน ให้ทุกคนลองคิดและบอกว่าหากน้อง ๆ เป็นพี่ ซึ่งต้องเลือกคนมาช่วยงานโดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย และความเจริญงอกงามทางวิชาการแล้ว น้องคิดว่าพี่ควรเลือกใคร ให้เวลาคุยกัน 20 นาที
หลังจาก 30 นาทีผ่านไป (เกินเวลาที่ตั้งใจไว้ไปหน่อย) ได้ฟังน้อง ๆ คุยทีละคน… ดีใจที่เลือกใช้วิธีนี้ เพราะน้อง 3 คน ตัดสินกันเองเสร็จสรรพว่าใครควรมาทำงานวิจัยนี้
@@@ รายละเอียดขออนุญาตไม่เล่า… แต่ที่นำมาบันทึกไว้เพราะตกลงใจว่า เลือกน้องไปทำงานในพื้นที่ด้วย 2 คนตามที่น้อง ๆ ตกลงกันเอง และอีกคนหนึ่งก็ให้คอยเก็บตกงาน พิมพ์งาน ประสานงานให้ไม่ต้องลงไปในพื้นที่ด้วย โดยได้ค่าแรงตามปริมาณงานที่ทำ ซึ่งทั้ง 3 คนก็มีความสุขกับข้อเสนอนี้
@@@ ส่วนตัวก็มีความสุข ไม่ได้สนใจ Win-Win Situation อะไรทำนองนั้นหรอก แต่การที่น้อง ๆ ได้มีโอกาสประเมินและมองตัวเองอย่างเปิดใจ ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้และความงอกงามทางจิตวิญญาณของน้อง ๆ เองแล้ว
@@@
ยินดีและขอบคุณน้อง ๆ มาก ที่ได้ทำให้พี่รู้สึก
งอกงามเติบโตขึ้นเหมือนกัน
« « Prev : ประเมินผลแบบใช้ “ใจ”
4 ความคิดเห็น
น้องที่รัก
เรื่องการพูดคุยแบบนี้อยากเห็นในกระบวนการทำงานมากที่สุด
เป็นตัวเองเมื่อมีงานก็จะคุยเช่นกัน แต่งานไหนที่เราได้เคยพูดคุยกัน แล้วเป็นทีทราบกันว่าใคร “เซียน” แล้ว เราก็จะมอบหมายงานนั้น ๆ ให้เซียนไปทำ แต่เมื่อใดที่เป็นงานที่ต้องคุยกันก็จะคุยและให้ตัดสินใจร่วมกัน และเป็นการคุยกันจริง ๆ ไม่ใช่เรียกมาเพื่ให้ออกความคิดเห็นแล้วสรุปเองเพราะถ้าเป็นแบบนี้ ตัวเองเรียกว่า “เสียเวลาไปไถนา” คริคริคริ
อยากเห็นกระบวนการแบบนี้ในที่ทำงานของตัวเองมาก พูดไปก็รังแต่จะปวดใจกัน แต่เป็นตัวเองถ้าพูดเพื่อให้เห็นความสำคัญของน้อง ๆ ที่ทำงานที่จะต้องถูกสั่งให้ไปทำตำแหน่งนั้น ตำแหน่งนี้โดยไม่ถาม ถ้าผลจากการพูดของตัวเองแล้วไม่เกิด…. ก็ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการตัดสินใจ (และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องพิจารณาตัวเอง)
ธรรมชาติสอนให้เราได้เรียนรู้ที่จะรักในสรรพสิ่ง
คนก็ไม่ต่างกัน เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
แต่….เรามักจะลืมไป เพราะคิดว่า “คน” เป็นเครื่องจักร
อิอิอิ
พี่ที่รัก
ขึ้นชื่อว่า “คน” ก็คือสิ่งที่เป็นแหล่งรวมของความหลากหลาย…คน ๆ กวน ๆ มารวมกันนี่เอง
อะไรที่พูด คิด ทำแล้วปวดใจ ไม่สบายใจ น่าจะไม่ใช่สิ่งที่เหมาะกับ คนดี ๆ และตั้งใจดีเช่นพี่ ไม่ได้ให้ปฏิเสธสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่ แต่เมื่อทำอะไรไม่ได้ เกินกว่าที่เราจะควบคุม เราก็ต้อง “วาง” นะจ้ะ
ส่งกำลังใจให้พี่ทุกวันค่ะ
เยี่ยม เป็นวิธีหนึ่งที่เข้าท่า
เพราะเราให้คุณค่าเขาแลกเปลี่ยนตัดสินใจเอง โดยเราเคารพในความคิดเห็นของเขา แทนที่เราตัดสินเองซึ่งมักจะเป็นเช่นนั้น ก็มักจะเกิดความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตามมันแล้วแต่ประเด็น เรื่องราว สาระ เพราะบางเรื่องนั้น เราต้องตัดสินใจเท่านั้น..
หลายเรื่องเราให้ชาวบ้านตัดสินใจเอง แล้วให้เขาอธิบายเหตุผลให้ฟัง มันเป็นเหตุผลที่เราไม่คิดมาก่อนเลย เพราะเราเป็นคนนอก อิอิ เขามีบริบทในการตัดสินใจ เขามีเหตุผลที่เขาเองแลกเปลี่ยนกันได้เต็มที่กับเพื่อนของเขา กับเราเขาอาจจะไม่แสดงเหตุผลนั้นๆออกมา เพราะเรา อย่างที่พี่ประสบ เขาบอกว่า ที่เขาไม่กล้าไปเก็บเงินคนใช้น้ำเพราะกลัว ความเป็นปอบ…(ผีปอบ) เพราะคนคนนั้นเป็นปอบ เราไม่เคยคิดว่าการเก็บเงินหรือไม่เก็บนั้นไม่มีคำว่าปอบอยู่ในหัว ผู้ใช้น้ำก็ต้องเสียค่าน้ำ นั่นมันตรงไปตรงมา แต่สำหรับชาวบ้านไม่ใช่แค่นั้น การที่เขาเป็ยน “คนใน” เขามีเหตุมากกว่า “คนนอก” อย่างเรา เราก็เข้าใจและยอมรับการตัดสินใจของเขาและค่อยๆหาทางออกกัน….
วิธีการให้เด้กคุยกันเองนั้นเป็น constructive method จริงๆ
เพิ่งมาเห็นคอมเม้นท์นี้ของพี่บางทรายค่ะ
ในการทำงานทุกครั้ง โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือ น้องมีมุมมองส่วนตัวว่า “คนสำราญ งานสำเร็จ” เสมอ
และก็คงจริงดังพี่ว่าค่ะ บางเรื่องบางประเด็นเราก็ต้องเป็นผู้ตัดสินใจเอง แม้ไม่อยากตัดสินใคร แต่หากมีหน้าที่ บทบาทนั้นก็ต้องทำ
คิดถึงตอนที่ขึ้นเป็นผู้รับผิดชอบโครงการครั้งแรก ๆ ความที่เคยทำงานคนเดียวทุกอย่าง น้องอีก 2 คนที่ผู้ใหญ่ให้มาช่วยก็นั่งทำตาปริบ ๆ เพราะพี่ทำหมดทุกอย่าง เป็นคนทำงานใจร้อนมาก ถึงมากที่สุด คิดแต่ว่าทำเองดีกว่าทีเดียวก็เรียบร้อย มัวแต่นั่งอธิบายเสียเวลา นานวันเข้าน้องก็ยิ่งห่างจากเราไป ยิ่งไม่เคยไปทานข้าวข้างนอก แต่นำข้าวไปทานเองจากบ้านอีก ละคร นิยายอะไรก็ไม่เคยดู ไม่เคยอ่าน … คุยกับน้องไม่รู้เรื่องเลยค่ะ
หลัง ๆ ก็ปรับตัวเอง หัดอ่านเรื่องย่อละครในหนังสือพิมพ์บ้าง จะได้คุยกับน้องรู้เรื่อง ชวนน้อง ๆ ไปทานส้ัมตำ ไก่ย่าง ขนมข้างนอกสำนักงาน ฯ บ้าง ทำให้สนิทสนมกัน ทำงานเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น งานก็เดิน คนทำงานด้วยก้ันก็มีความสุข
และน้องคิดว่าในฐานะที่เราเป็น “พี่” เราควรเป็นผู้ปรับตัว ปรับกระบวนการทำงานค่ะ