ประเมินผลแบบใช้ “ใจ”
เมื่อ 29 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา ได้ไปกราบนมัสการท่านสมณะเสียงศีล ชาตวโร ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ชุมชนปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม
@@@การไปกราบท่านในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 (อย่างเป็นทางการ) ตั้งใจนำความก้าวหน้าในการทำดุษฎีนิพนธ์ของตัวเอง และกรอบแนวคิด รวมทั้งขั้นตอนต่อจากนี้ในการทำวิจัยไปกราบเรียนให้ท่านได้ทราบ และอธิบายถึงประเด็นที่ต้องการขอความอนุเคราะห์จากท่าน และได้รับความเมตตาจากท่านเป็นอย่างดี
ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากทั้งที่เป็นเอกสาร(ได้มาแล้วกว่า 3 ลังใหญ่) และข้อมูลจากการเล่าเรื่องงานในโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นด้านกสิกรรม การทำเกษตรไร้สารเคมี การหมักปุ๋ยชีวภาพ การฟื้นฟูดิน โดยโครงการที่ทำริเริ่มใหม่คือที่ “เนินพอกิน” อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
@@@ประเด็นที่ทำให้ต้องรีบบันทึกไว้คือ “กระบวนการและวิธีการประเมินผล” ผู้ที่มารับการถ่ายทอดความรู้จากท่าน ครั้งแรกที่คุยประเด็นนี้ท่านบอกว่าประเมินยาก เนื่องจากโครงการของท่านไม่สามารถคัดกรองและเลือกผู้มารับการอบรมได้ แต่เป็นลูกค้าที่มาตามโครงการพักชำระหนี้ของ ธกส. เป็นส่วนใหญ่ ท่านจึงใช้วิธีการให้กลุ่มที่มารับการอบรมนั้น ตั้ง “เครือข่าย” กันเอง จัด/คัดเลือก/คัดสรรค์ประธาน รองประธาน เลขา เหรัญญิก ฝ่ายวิชาการกันเอง ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2540 มีการตั้งกลุ่มเครือข่ายเช่นนี้ไปแล้วกว่า 200 กลุ่ม และจากการติดตามต่อเนื่องทุกปี พบว่ายังมีกลุ่มเครือข่ายเหล่านี้ที่มีการพัฒนาและทำกิจกรรมต่อเนื่องเกินกว่า 85% ของกลุ่มที่ตั้งขึ้น ท่านติดตาม/ประเมินผลโดยอ้างว่าจะไปเยี่ยมชมกิจกรรมของกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ วิธีการตอน/ตัดต่อพันธุ์พืชใหม่ ๆ เมล็ดพันธุ์พืช และข่าวสารต่าง ๆ ไปให้กลุ่มเครือข่ายนั้น ๆ
@@@แน่ล่ะ…สมาชิกกลุ่มเครือข่ายนั้นก็มีความสุข อยากมาร่วม และไม่รู้สึกว่าถูกติดตาม/ประเมินผลหลังจากการไปอบรมมาแต่อย่างไรเลย…
ฟังแล้วผู้วิจัยตาโต…เพราะเกินความคาดหมายและยังทึ่ง ๆ กับวิธีการประเมินผลอันแยบยลแบบไทย ๆ ไม่ต้องอ้างทฤษฏีฝรั่งให้มึนงงเลย (นี่ไงล่ะ อ่านแต่ตำรา ไม่เคยมีประสบการณ์จริง…ฮา ๆ ๆ)
ตอนท้ายได้ขออนุญาตทิ้งประเด็นไว้ให้ท่าน หากท่านจะเขียนหรือบันทึกข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร (เป็นวิธีการหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ-การตอบประเด็นด้วยแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง) เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้นำมาประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ของท่านให้สมบูรณ์ขึ้น
@@@
มีความสุขและสรุปได้ว่า…
การถ่ายทอดองค์ความรู้ของท่านเป็น “การให้”
ด้วยความรัก เมตตา และปรารถนาดีอย่างจริงใจ
เหมาะสมแล้วที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “ครูภูมิปัญญาไทย”
Next : คนสอนคน » »
4 ความคิดเห็น
ดีจัง ประเมินผลแบบใช้ “ใจ”
ใจที่อยากช่วย ใจที่เป็นมิตร ใจที่รักและเมตตา ใจที่ปรารถนาให้สิ่งดีเกิดแก่กันและกัน
อ่านแล้วได้คิดต่ออีกค่ะ ^^
การประเมินผลโดยใช้ใจอย่างได้ผลนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างมาเป็นตัวกำหนด
คิดง่าย ๆ สไตล์พี่ว่า
ถ้ากิจกรรมนั้น เรามาร่วมกันด้วยใจ ด้วยเป้าหมายเดียวกัน ไม่มีการบีบ บังคับ กันมา/ทำ
ผลการประเมินโดยใช้ใจ ก็มีชัยไปกว่า 80 เปอร์เซ็น
ถ้ากิจกรรมนั้น มาร่วมด้วยการเกณฑ์กันมา/ทำ
ผลการประเมินโดยใช้ใจ อาจมีชัยได้ที่ 50:50
(เพราะอาจจะถูกจริตของคนที่มา…บ้าง)
แต่ถ้ากิจกรรมใด มาร่วมด้วยเพราะบังคับ สุด ๆ และเป็นกิจกรรมที่ไม่ตรงกับจริต หรือทำให้ได้ตามเป้า ตาม KPI หรือเพื่อการประเมินอันใดก็ตาม
ผลการประเมินโดยใช้ใจนั้น อาจจะน้อยกว่า 50 ก็เป็นได้
แต่ให้คิดในมุมมองที่เป็นกุศล
กิจอันใดก็ตามที่ทำด้วยจิตตั้งมั่นแห่งการให้ ด้วยความรัก ความปรารถนาดีอย่างจริงใจ
ในฐานะผู้ทำ ถือว่าการประเมินผลทางใจ ได้เกินร้อยแล้วค่ะ
คริคริคริ
(เข้ากันได้ไหมเนี่ย นี่มองมุมเดียวแบบคนชั้นเดียวนะ…แต่อยากให้ความเห็น)
5555555
ขอบคุณพี่ครูอึ่งและพี่อึ่งอ๊อบที่รักทั้งสองค่ะ
น้องเชื่อมั่นว่าพี่ครูอึ่ง…มีการประเมินผลโดยใช้ใจแน่ ๆ เลยค่ะ ^_^
ตอนทำเครื่องมือเป็นแบบฟอร์มแนวทางการสัมภาษณ์ ติดตามประเมินผลนั้น… อ้างตำราสัก 10 เล่มได้ เกือบไม่มีตำราไทยเลย และเท่าที่สรุปมาก็พบวิธีการประเมินต่าง ๆ ซึ่งโดยมากเป็นการใช้เอกสารในการ check list มีการวางแผนไว้ทุก 6 เืดือน 1 ปี…ประเมินทีอะไรทำนองนี้ แต่สิ่งที่ท่านทำติดต่อกันมากว่า 10 ปี โดยไม่ได้ตั้งใจจะเป็นการไปติดตามประเมินอะไรเลย กลับกลายเป็นเครื่องมือการติดตาม/ประเมินแบบชั้นยอดซึ่งทำจริง ได้ผลจริงอย่างยั่งยืน
ในยุคที่มีการบูมเรื่องปราชญ์ชาวบ้านเช่นยุคนี้ ทำให้มีการยกย่อง คัดเลือก ส่งเสริมสนับสนุน (เงินและวิชาเกิน ๆ ของนักวิชาการ) โดยเิิอิกเริกใหญ่โต ได้สร้างปราชญ์ชาวบ้านใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย ซึ่งก็เป็นดาบหลายคม (ไม่ใช่เพียงสองคม)
ข้อดีก็คือมีการยกย่อง/ค้นหาองค์ความรู้/มรดก/คนที่ทำจริงรู้จริงให้ขึ้นมามีพื้นที่ในสังคม
แต่อีกด้านหนึ่งก็ได้สร้างคนที่ไม่มีองค์ความรู้จริง ๆ แต่เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการตัดแต่งพันธุกรรม (โดยหน่วยงานทั้งรัฐ/เอกชน) เป็นองค์ความรู้ที่ไม่มีรากแก้ว มีแต่รากฝอย ไม่มีเนื้อหาที่สั่งสมแต่เป็นเนื้อหาที่ลอกเลียนมาตามยุคตามสมัย
“ปราชญ์แท้”และ “ปราชญ์ตัดแต่งพันธุกรรม” จึงมีคุณภาพที่ต่างกันมากค่ะ
และ…ชอบที่พี่ที่รักว่า… แต่ให้คิดในมุมมองที่เป็นกุศล กิจอันใดก็ตามที่ทำด้วยจิตตั้งมั่นแห่งการให้ ด้วยความรัก ความปรารถนาดีอย่างจริงใจ ในฐานะผู้ทำ ถือว่าการประเมินผลทางใจ ได้เกินร้อยแล้วค่ะ
ระบบการศึกษาของเราอิ่มตัวเต็มที…
กำลังวิ่งหาทางออกในแง่มุมต่างๆ ซึ่งเป็นปกติ ที่พี่เห็นมันเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ และจำเป็น…
นับตั้งแต่มี summer hill มี รุงอรุณ มีสัตยา..ที่สระบุรี มี…มี….วิถีพุทธ(ดูเหมือนเป็นความพยายามในระบบ)
และมีคนคิดอีกมากมายที่เป็น home school แบบชุมชนอโศก …..
พี่เชื่อว่ากระบวนการต่างๆในเรื่องของระบบการศึกษากำลังหาทางปรับตัว รวมทั้งการประเมินผลโดยใช้ใจ
ขอสนับสนุนการปรับตัวครับ