อันนี้ รวบรวม และ ดึงมาจาก comment ที่ได้คุยกัน ผมดึงมาเฉพาะส่วนที่ผมพูดนะครับ ใน web board แห่งหนึ่ง
- งานอาสา หรือ ทำอะไรก็แล้วแต่ ล้วนต้องมีทุนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทุนเงิน , ทุนกาย และ ทุนใจ แต่ถ้ามีเงินสนับสนุนก็ดี ไปได้เร็วและมากกว่า
- Solution ที่เบ็ดเสร็จสำหรับการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาใดก็ตาม หรือ โดยเฉพาะ ปัญหาด้านธรรมชาติ จำเป็นต้องอาศํย คนในพื้นที่ และ / หรือ คนที่เข้าใจ สภาพสภาวะของพื้นที่หรือ ปัญหาโดยแท้จริง แม้ในเบื้องต้นไม่สามารถ ระบุกำหนดกฏเกณฑ์ตายตัวไปเลย่วา เขาสามารถให้เราได้ แต่จำเป็นต้องมีการ สอบถาม และ วิเคราะห์กันแบบแท้จริง ในสภาพปัญหาเหล่านั้น การจะตัดสินข้อมูลภายนอก อย่างเดียวอาจไม่พอ หรือ ไม่ดี เลยด้วยซ้ำ
check-list ของปัญหา
- สิ่งที่ต้องการ
- ทรัพยากรที่มี
- ปัญหาและอุปสรรค
- ทางแก้ไข
- ผลลัพธ์ของการแก้ไข และ การปรับปรุง
- กรณีการเกิดภัยพิบัติ สิ่งที่สำคัญก็คือ อาชีพหลังการฟื้นฟู , การมีอาชีพหรือพอเลี้ยงตัวเองได้ระหว่างนั้น
หลายอย่าง อยากให้ภาครัฐ ให้การสนับสนุน และ รับฟังความคิดเห็นจาก คนที่รู้จริงบ้าง มากกว่าจะรับฟัง และ แก้ปัญหาแบบ เดิมๆ ( หรือ อาศัยทิฐิเดิม , เอาหน้า bla bla bla ) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรมากนัก หรือ จะวิบัติกว่าเดิม อันนี้ไม่แน่ใจ ยกตัวอย่างนะครับ “รั้วกั้นน้ำ” ถ้ามีเงิน มี ภาครัฐ ระดับจังหวัด ไหน สนใจ สั่งซื้อ ไอ่ตัวนี้มาก้ได้ ประสิทธิภาพดีกว่า กระสอบทราย เคลื่อนย้ายสะดวก ตอนแรกผมเห็น ชื่อเรื่อง แล้ว ผม ยัง มองเลยผ่านเลย ยังคิดในใจ ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ พอคลิ๊กเข้าไปแล้ว ยังแปลกใจเลยว่า มันทำได้ไง อ่ะ
http://lanpanya.com/wash/archives/2539
ถ้าแต่ละจังหวัดที่ประสบปัญหา ซื้อ มา แล้วเอามากั้นน้ำ ผมว่าจะเวิร์คมากทีเดียว ดูเหมือนมันรับกำลังแรงกดของน้ำ หลาย ลบม. ได้ดี ( แต่คงจะหลายตังค์ ) จากรั้วกั้นน้ำ ถ้า จะสั่งซื้อจริงๆ แล้ว มันไม่มี “กิน” กันอีก น่าจะยกมือท่วมหัวและ ยินดีด้วยจริงๆ + การบำรุงรักษาด้วย
การศีกษา เรื่องทางเดินของน้ำ ลักษณะของพื้นที่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ( idea จาก blog Conductor Logos อีกเช่นกัน เพราะ สิ่งปลูกสร้าง เดี๋ยวนี้ไปขวางทางน้ำ ซะส่วนมาก การระบายน้ำ ก็เลยมีปัญหา รวมถึง ความซวย เวลาน้ำมา มากๆ แล้ว พัดเอาบ้านหายไปทั้งหลัง แต่ อันนี้ พูดยากใครจะไปรุ้ฟะ ว่าน้ำจะมาแบบ โอฬารขนาดนั้น )
อันนี้เห็นจากข่าว ฟากนึงน้ำท่วม อีกฟากไม่มีปัญหาเลย เพราะ ถนนกั้นอยู่ ฝ่งที่ท่วมอยู่เลยอยากจะให้เจาะ ถนน ก็เลยว่า รู้ทางน้ำ ดีๆ แล้ว เจาะ กันเอาไว้ ก่อนเลย น่าจะช่วยอะไรได้เยอะ บางทีอาจถึงขั้น ต้องเอา GIS Data มานั่งดูกัน เลยมั้ง ว่าจะให้น้ำมันไปทางไหนยังไง และ หมู่บ้าน จะรับน้ำสูงสุด ขณะที่ฝนตก กี่ มม. ต่อชม. หรือ จะให้มันไปทางไหน ยังไง บ้านใครบ้างที่สุ่มเสียง จะหายไปทั้งหลัง
พืชที่จะปลุกทดแทน กรณีพืชไร่ หรือ พืชสวนที่เคยทำไว้ หายจ้อยหมด จะเอาอะไรมาปลุกดี / เปลียนรูปแบบการปลุกข้าว ?? พืชเศรษฐกิจใหม่
ส่วนตัวแล้ว ผมว่า การแก้ไข อยู่ที่การบริหารจัดการน้ำ ดีๆ จะเป็นอย่างแรก ถ้าให้ผมเลือกทำนะ ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าน้ำมามาก จะระบายมันยังไง ท่วม อี ก็ท่วมซะมิดหัว จะเอาอะไรทำกิน เครื่องมือที่ใช้ทำกินอยู่ใต้น้ำหมด หรือ จะกันจะแก้ยังไงไม่ให้น้ำมันท่วม และ ก็ต้องรอ ถุงยังชีพต่อ อาชีพ ทำไม่ได้หรอก เครื่องมือไม้ อะไรจมน้ำหมด ต้องรอของอย่างเดียว ทำอะไรไม่ได้
ต่อจากปัญหาข้างต้น ถ้าน้ำแห้ง หรือ ปีนั้นแล้งล่ะ จะทำยังไง จะเอาน้ำที่ไหนมาใช้ เพราะ อีตอนมันท่วมมันก็ล้ำ พอตอนไม่มี จะไปหาที่ไหนก็ไม่มี ( แหล่งเก็บน้ำ ขนาดย่อมๆ ในแต่ละหมูบ้าน แต่ละตำบล แต่ละครัวเรือน idea from Conductor Logos again ^_^ ) จากนั้น ค่อยมาดู เรื่องอาชีพที่ทำหลังน้ำลด จะทำอะไร ดี ไอ่ที่ มีๆ อยู่ หายเกลียง จะปลุกใหม่ ก็รออีกเป็น เดือนๆ ปีๆ จะทำอะไรกินดี ? ( หลายเรื่องก็มาจาก blog ของพี่เขาอีกเช่นกัน )
บ้านกรณีหายไปหลายหลัง หรือ พังซะจน แก้ไม่ได้ภายในปี เดียว ผมอยากให้เป็น บ้าน Knock down แบบที่ญี่ปุ่น หรือ site งานก่อสร้าง ใช้ กัน ราคาถูก อยู่ได้เยอะ มีคุณภาพกว่า รัฐอาจสร้างหรือปลูกให้ฟรี ราคาเท่ากัน แต่อาจอยู่ได้หลายครอบครัว มากกว่า ประกอบ และ รื้อถอนง่าย
แม้ภาพไม่เหมือนกับบ้านปูน แต่งบเท่ากัน แต่อาจสร้างได้มากกว่า 1 ช่วยได้มากกว่า 1 บางทีคนเราต้องยอมสละความภาคภูมิใจบ้าง เพื่อให้คนอื่นได้มี เช่นเดียวกับเรา ถ้าจะแย้งในแง่ของความคงทน ระหว่างบ้านถาวร กับแบบ Knock-down ผมว่า น่าจะพอๆ กัน แล้วนะครับสำหรับเทคโนโลยีสมัยนี้
การศึกษาเรื่องดิน สภาพภูมิประเทศในแต่ละ หมู่บ้าน ตำบลก็สำคัญ จะรอให้ภาครัฐ ลงไปทำให้ครอบคลุมท่วประเทศ คงกินเวลานาน คนในพื้นที่สอนให้เขา สำรวจ ให้ข้อมูล จะช่วยได้มาก
ผลที่ได้ คือ อาจทำระบบเตือนภัยหรือระบบสารสนเทศที่ละเอียดขึ้น รวมถึงการสร้าง ระบบเตือนภัยถุกๆ ขึ้นมาเอง ราคาถูกๆ ไม่ต้องเป็นแสน หรอก เตือนว่า ตกกี่ มม. แล้ว ใน ชม. นี้ให้ทำการ เตือนภัยเลย ดิน ภูเขา บ้านเรา รับได้ เ่ท่านี้ นะ เกินกว่านี้ ไม่ไหวแล้วให้เตรียมตัวเลย
ระบบดังกล่าว อาจจะ Link กับ ส่วนกลาง ได้ด้วย ( ระดับ จว. & อำเภอ ) โดยอาจใช้เป็น ระบบ RF แทน GSM หรือ Mobile cell เพราะ ถูกกว่า และ สื่อสารได้ไกลกว่า “ผมเชื่อว่า นักวิทยุ อิเลคทรอนิคส์ ในพื้นที่ สามารถทำได้อยู่แล้วนะครับ เพียงแต่อาจไม่มีใครทำ หรือ ยังไม่มีใครให้ข้อมูล ” ถ้าเราสามารถใช้ ระบบ APRS ( RF backend ) ทำการสื่อสาร ได้ จะทำให้การส่งข้อมูล ในพื้นที่ไกลๆ หรือ ขาด cell สัญญาณ สามารถทำได้ ไม่ต้อง ร้องกล่าว หรือ ฝากบอกกันเป็น ทอดๆ ไป
อาจอบรม หรือ สร้างขึ้นมา นำไปแจก หรือ ติดตั้งไว้ ในแต่ละหมู่บ้าน ส่งคนมาอบรม หรือ สอนการใช้งาน หรือ การสร้าง ทำเป็น ระบบสือสาร backup เอาไว้ คงไม่ต้องถึง ระบบ Iridium phone หรอก แพงหูดับ ตับไหม้ แล้ว โทรไป ใช่ว่า ตอนเดือดร้อน จะรับสายได้หมด ทุกคน หรือ ทุกคู่สาย ?
ซอฟต์แวร์ช่วยบริหารจัดการ การขนส่ง ของ อุทกภัย การายงาน สภาพของพื้นที่ และ ของที่ต้องการ รายงานได้ทันที ( ผ่าน Mobile , RF , APRS etc. ) ของจะได้ช่วย ได้ทันทีและมีคน รายงานด้วยว่า ได้ยังไง ถ่ายรูป share ด้วยก็ได้ ไม่ใช่ว่า บ้านนึง มาม่า ร่วม 3 ลัง ทั้งๆ ที่ไม่ได้ ตั้งใจอม แต่อีกหมู่บ้านนึง ไส้แห้ง มา 3-4 วันล่ะ กินแต่น้ำ เพราะจ่ายของ ซ้ำซ้อน ? ) รวมถึงการแจ้งเตือนภัย ลักษณะต่างๆ
ฐานข้อมูลอาสาสมัคร จะติดต่อใครยังไง ถนัด อะไร ขาดอะไร ติดต่อกันได้ทันที
อันนี้ #บ่นตัวเอง จริงๆ ตอนนี้ คิดไว้อยู่นะครับ ว่าจะทำ software ช่วย บริหารจัดการภัยพิบัติ หรือ ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ไว้เหมือนกัน แต่ความขี้เกียจเฉพาะตัว และ งานที่มีอยู่ ยังไม่เสร็จ จึงยงไม่ขอพูดต่อ ไว้ระบบเกิดขึ้นได้ พอเป็นรูปเป็นร่างได้ มาคุยกันต่อ เพราะจะได้ถือ เป็นความตั้งใจจริง แบบ ไม่บิดพริ้ว ทำให้มันเกิดขึ้นได้ อันนี้เป็นข้อเสียของผมเอง ซึ่งกำลังแก้โดยการที่ว่า คิดจะทำอะไร ทำไปเลย ดีกว่า ไม่งั้นติดนิสัย ไอเดียเกิด แต่ไม่มีผลลัพธ์อะไรเลย
ไว้ผมก่อมันขึ้นมาได้ ก่อน ค่อยมาหาคนช่วย ออกแต่ความคิด ไม่ทำ กระบวยอะไร เหมือนตัวเอง ไม่มีประโยชน์ ไงไม่รูัแฮะ “กับคำถาม เรื่องมีตั้งเยอะแยะ ทำไมต้อง list เอาประเด็นเรื่องน้ำมาอย่างเดียว” น้ำมันมีปัญหามากที่สุด ขาดน้ำ ก็ตาย ก็ทำอะไรไม่ได้ / มีเกิน ก็ทำอะไรม่ได้ ปัญหาวน Loop และ มันจะเป็นแบบนี้ ไปอีก พักใหญ่ๆ ( ภัยเรื่องน้ำ )