สุนทรียสนทนา : กระบวนกรหัดขับ(เคลื่อน) : หัวหน้างาน (3)

โดย sompornp เมื่อ พฤศจิกายน 7, 2008 เวลา 11:54 ในหมวดหมู่ กระบวนกรหัดขับ #
อ่าน: 1222

หลังจากได้เล่าการทำงานและการสอนงานของหัวหน้างาน 2 ท่านจากบันทึกที่ผ่านมา
วันนี้จะขอเล่าต่อจากการเรียนรู้ร่วมกับหัวหน้างาน ดังนี้

หัวหน้างานคนที่สาม บอกว่า การทำงานเกี่ยวกับการบริการการศึกษา ต้องทำงานในทุกขั้นตอนตั้งแต่นักศึกาเข้าถึงจบ กระบวนการให้บริการต้องมี service mind การจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำโดยผ่านการประชุม ซึ่งได้จัดให้มีการนำเสนอหัวข้อที่น่าสนใจของน้อง ๆ ในงาน เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นด้วย แต่ในหน่วยงานนั้น ยังไม่เข้าใจเป้าหมายหรือความต้องการอย่างแท้จริงของการจัดการความรุ้ของคณะ อยากทราบประเด็นที่ชัดเจน ชอบที่น้องออย ซึ่งเป็นกระบวนกรท่านหนึ่ง นำเสนอเรื่องการจัดการความรุ้ทำให้เข้าใจมากขึ้น ดังนั้นจึงอยากทราบประเด็นที่ชัดเจน และอยากได้วิธีการจัดการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในหน่วยงานอย่างเข้าใจกัน

การทำงานทุกวันนี้อยู่ภายใต้แผน จะใช้แผนเป็นหลักในการทำงาน มีการกำหนดตัวชี้วัด และทำให้ได้ตามตัวชี้วัดนั้น ๆ จะใช้การประชุมเป็นการวางแผนร่วมกัน ติดตามงาน มีปฏิทินการทำงานที่ค่อนข้างชัดเจน เรื่องจากการทำงานประสานกับนักศึกษาต้องมีเวลาในการดำเนินการ นักศึกษาจะเป็นผู้รับบริการ ในส่วนของงานส่งเสริมฯ จะมีปฏิทินไม่แน่นอน ผู้รับบริการจะเป็นอาจารย์ ซึ่งเราต้องอำนวยความสะดวกในทุกเรื่อง อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยได้มีการสื่อสารไปยังนอกหน่วยงาน โดยมีข่าวสานวิชาการส่งให้อาจารย์ ข่าวเขียน ใช้ IT หรือเป็นเอกสารส่งให้ เป็นต้น

เด็ดสะกิดใจ
- ชีวิตวัยทำงานหนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลง ให้กำลังใจน้อง ๆ ขอให้สู้ ๆ อดทน
- Service Mind สำคัญมาก
- การทำงานต้องเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์
- ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลง

หัวหน้างานคนที่สี่ ดูแลรับผิดชอบงานทั้งผู้ที่ทำงานด้านเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยวิเทศสัมพันธ์ เป็นหัวหน้าที่อายุน้อยที่สุด แต่มีความสามารถ การทำงานเป็นที่ยอมรับจากผุ้บริหาร เธอเล่าเรื่องเกี่ยวกับการสอนงานว่า จะมีวิธีการสอนที่เหมือนแบบไม่สอน ให้เรียนรู้จากของจริง และจากเอกสารที่มีอยู่ ให้ดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับงานทั้งหมด เพราะงานส่วนมากมีลักษณะเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ไม่ค่อยมีอะไรซับซ้อน สำหรับงานที่ต้องโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษ ก็เป็นความสามารถเฉพาะตัวอยู่แล้ว ต้องฝึกปฏิบัติเอง เวลาเจอปัญหาหรือข้อคำถามต้องถาม และแก้ไขปัญหาร่วมกัน การทำงานอย่าให้ผิดซ้ำ ต้องรู้จักรับผิดชอบในงาน จะมีการติดต่อประสานงานกับลูกน้องผ่าน IT เช่น ใช้ e-office, e-mail หรือ MSN เพื่อ szve พลังงาน เนื่องจากทำงานคนละที่กัน การทำงานอาจจะมีปัญหาบ้างแต่ก็ต้องคุยและหาทางแก้ร่วมกัน [ให้ลูกน้องอ่านเอง/ศึกษารายละเอียดเอง สอนให้ปฏิบัติ แยกเอกสารเอง ทำให้ดู :เรียนรู้: จำเอง]
เด็ดสะกิคใจ
- ทำงานใช้ IT ช่วย เช่น e-office , e-mail, MSN เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน
- การทำงานอย่าให้ผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ควรศึกษาบทเรียนจากความผิดพลาด

หัวหน้าคนที่ห้า ท่านติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมสุนทรียเสวนาในครั้งนี้ได้

สำหรับอีก 2 ท่านที่เหลือเป็นผุ้แทนจาก 2 สายวิชา (ภาควิชา) ในการประสานงานดำเนินงานในสายวิชา
ได้ ลปรร.ว่า การทำงานในสายวิชานั้นแบ่งเป็น จนท.สำนักงาน และจนท.ห้องปฏิบัติการ และต้องให้บริการอาจารย์และนักศึกษาเป็นหลัก การทำงานไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมีแผนการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกันอยากให้มีความต่อเนื่อง บางครั้งงานมาก clear ไม่ค่อยได้ เวลาไม่อำนวย เป็นปัญหาอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ร่วมกัน การอยู่ด้วยกันต้องใช้ความอดทน เรียนรู้เพื่อร่วมงาน เรียนรู้หัวหน้า และผู้เกี่ยวข้องทุกคน เพื่อจะได้เข้าใจกันมากขึ้น ยอมรับในความแตกต่าง ก็จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จได้ เกิดความภูมิใจ

เด็ดสะกิดใจ
- งานสำเร็จ ภูมิใจ
- ต้องละเอียดรอบคอบ มีการแบ่งกันตรวจงานกันก่อน (ทีม)
- รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

หลังจากนั้นได้โยนตัวกวนไปว่า ปัจจัยที่คิดว่าทำให้งานสำเร็จ หัวหน้าคิดอย่างไร
ได้มีการแลกเปลี่ยนและบรรยากาศผ่อนคลายมากขึ้น มีการพูด และเสริมกัน อย่างเหมาะสม
และสรุป ปัจจัยที่คิดว่าทำให้งานสำเร็จคือ
1. ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญ
2. การตรงต่อเวลา
3. ข้อมุลสมบูรณ์
4. มีความรับผิดชอบ
5. ศึกษางานจากผุ้มีประสบการณ์ ไม่ทราบให้ถาม
6. เรียนรุ้เรื่องกฎ ระเบียบที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
7. มี service mind
8. ยอมรับความต่างระหว่างวัย ระหว่างคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่
9. มีปัญหาขอให้ clear ให้จบใน 1 วัน อย่าสะสม และเก็บไว้เป็นสัญญาเก่า
10. บางคนตั้งใจดี แต่หัวไม่ไป ต้องให้ทำงานอย่างอื่นที่เหมาะสม
11. คิดอะไรที่คนอื่นไม่คิด/มองต่างมุม เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ๆ
12. การสอนงานลูกน้องแต่ละคนมีต้นทุนไม่เหมือนกัน ต้องสอนตามที่เขาจะรับได้และมีความสุข
13. หัวหน้าไม่เหมือนกัน ต้องมีวิธีการ กระบวนการเข้าไปเรียนรู้ มี trick เล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจกันได้

หลังจากนั้นได้เปิดเวทีให้น้อง ๆ กระบวนกรได้มีโอกาสเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันกับหัวหน้า
กระบวนกร 11 คน ได้มีโอกาสพูดในสิ่งที่ตนเองตั้งเป้าหมายไว้ในใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่จะนำกลับไปทำต่อไป

Post to Facebook

« « Prev : สุนทรียสนทนา : กระบวนกรหัดขับ(เคลื่อน) : หัวหน้างาน (2)

Next : ลูกคนกลางกับการจัดการความรู้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.30190110206604 sec
Sidebar: 0.25839591026306 sec