กายบริหารสำหรับผู้สูงวัย (2)

ไม่มีความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 23 กุมภาพันธ 2010 เวลา 3:24 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 1608

การออกกำลังกายนั้นทำได้หลายวิธี ในที่นี้ขอกล่าวถึง
การออกกำลัง หรือ การบริหารร่างกาย ที่ทำได้เองง่ายๆที่บ้าน

สำหรับผู้สูงวัยนั้น
การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นการช่วยกระตุ้นการทำงานของร่างกายได้ดีวิธีหนึ่ง
แต่ผู้สูงวัยหลายท่านยังไม่เข้าใจวิธีการ และ
สื่อที่เห็นส่วนใหญ่จะเห็น การออกกำลัง การบริหารร่างกาย ที่ไม่จำกัดวัย
ดูเหมือนจะไม่เหมาะ หรือ ทำไม่ไหว ทำได้ยาก จำไม่ได้ ทำไม่ได้ จึงไม่ค่อยได้สนใจออกกำลัง

การเคลื่อนไหวข้อต่างๆในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการทำงานของร่างกาย
ท่าทางต่างๆนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยนำไปสู่การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ
แต่สำหรับการออกกำลังเองที่บ้านของผู้สูงอายุ ขอให้ยึดธรรมชาติเป็นหลัก
ไม่ต้องเน้นตามหนังสือ ตามวิดีโอ จนขาดการพิจารณาประกอบ

ธรรมชาติของข้อต่างๆ

ได้เสนอเรื่อง คอ ไปแล้ว ต่อไปเรื่องไหล่ ข้อ แขน มือ
ลองสังเกตการเคลื่อนไหวดูง่ายๆ
นั่ง หรือ ยืน ตามความเหมาะสม ใช้ความต้องการเป็นเกณฑ์เบื้องต้น
ปกติยืนมากแล้ว เดินมากแล้ว อาจนั่งเก้าอี้ เพื่อบริหารส่วนบนก็ได้
หรือ บางท่า อาจนั่งที่พื้น เหยียดขาหรือ ขัดสมาธิ ก็ได้
ทำและสังเกต เลือกวิธีที่เหมาะกับเราเอง

การบริหารไหล่ แขน ข้อ นั้น ทำได้หลายท่าแต่ขอให้ใช้
การสังเกตตัวเองประกอบเสมอ เริ่มต้นช้าๆ ค่อยๆ ก่อนเสมอ

ท่าต่างๆ ต่างกันตรงไหน
ยกแขนลองดูด้วยตนเอง สังเกตว่าเรายกได้คล่องทั้ง 2 แขนไหม?
สังเกตว่า ยกแขนขึ้นมาตรงๆ เหยียดแขนตรงไปข้างหน้า ปกติ มือจะตั้ง หัวแม่มือชี้ขึ้น
เพียงยกขึ้นมาค้างไว้สักครู่ แล้วเอาลง เท่านี้ก็ได้ ท่าหนึ่งแล้ว

ลองใหม่อีกท่า….ยกแขนขึ้นมา แล้วยกเลยขึ้นไปสูงๆ เหมือนชูมือนั่นแหละ
แต่ให้แขนเหยียดไว้ สังเกตดูสิว่า เรายกได้แค่ไหน แบบสบายๆไม่ต้องฝืนมาก
ที่สุดของเราอาจไม่สูงสุดเท่าใครก็ไม่เป็นไร ค่อยๆทำไป ยกขึ้น ค้างไว้สักครู่
แล้วเอาลง เท่านี้ก็ได้อีกท่าหนึ่งแล้ว

บางท่านทำพร้อมกัน 2แขนได้เลย
บางท่านทำไม่ได้ก๊ทำทีละแขนก็ได้ ทุกสิ่งเป็นตามความต้องการ ไม่ต้องเกร็ง
เคลื่อนไหวให้เป็นธรรมชาติทุกครั้ง ร่างกายจะบอกเองว่าต้องการอย่างไร เท่าไร

พอจะสนุกบ้างแล้วไหมคะ จะเปิดเพลงที่ชอบ หรือ ฟังอะไรที่ชอบไปพลางๆก็ได้
ไม่มีเพื่อน ออกกำลังหน้ากระจกก็ได้ ทุกสิ่งปรับให้สบาย ถูกกับความชอบของตน
เคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ เท่านี้ก็ได้ออกกำลังแล้ว ทำให้มากเท่าที่ทำได้ ค่อยๆเพิ่มขึ้น

การคิดท่าเอง…ร่างกายของเรา เรารู้เอง การทดลองเคลื่อนไหว เป็นธรรมชาติ
ทำแล้วจะเกิด ท่า ขึ้นมาเอง ว่าสำหรับเรา ชอบท่านี้ ร่างกายจะบอกเราเอง
ทำบ่อยๆ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงท่า ไป อาจจะสูง ต่ำ เร็ว ช้า สลับกัน แล้วแต่สะดวก

ลองสังเกตเพิ่ม…เหยียดแขนออกมา คว่ำมือลง สังกตว่าต้องใช้กล้ามเนื้อแขนต่างไป
แล้วลดแขนลง ไปทางด้านหลัง คว่ำมือไว้ ยกเลยไปอีก เป็นเหยียดแขนไปด้านหลัง

ได้อีกท่าแล้ว…เรารู้แล้วว่า ฝ่ามือคว่ำ ก็มีความหมาย

ลองอีกท่า…เหยียดแขนออกมาข้างหน้าตรงๆ

ฝ่ามือจะตั้ง นิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้น คว่ำมือลง ยกค้างไว้สักครู่ ตั้งฝ่ามือกลับคืน
พลิกหงายมือขึ้น ค้างไว้สักครู่ ตั้งฝ่ามือกลับคืน ยกค้างไว้อีกหน่อย ก่อนเปลี่ยน..
ได้อีกท่าแล้ว..

ต่อไปเป็นท่าทางตามธรรมชาติ
ทำท่าว่ายน้ำ..เหวี่ยงแขนไปเหมือนว่ายน้ำ..สนุกไหม..สลับแขนเหมือนว่ายน้ำเลย
ทำท่าเหมือนต่อยมวย.. ท่าสอยดาว ต่อยเสยขึ้น..ต่อยเข้าด้านข้าง..ได้อีกแล้ว
ทำท่าผีเสื้อ..ยกแขนขึ้น งอศอก คล้ายตั้งการ์ดมวย แต่ตั้งต่ำๆก็ได้
เหวี่ยงแขนไปข้างลำตัว ดึงกลับมาเหมือนเดิม ท่านี้ บริหารอก หลัง ด้วย การหายใจด้วย

ท่า กระพือปีก กำมือ กางศอกออก หุบศอกเข้า  ทำเหมือนไก่กระพือปีก
ท่า จราจร ยกแขนตรง งอข้อมือขึ้น เหมือนจราจรห้ามรถ  ห้ามทางตรง ตรงหน้า  แล้วกวาดแขนออกไป เป็นห้ามด้านข้าง  เป็น ตร.จราจรซักวัน….
ท่า นกบิน กางแขนออกทั้ง 2 ข้าง ยกขึ้นลงเหมือนนกบิน

ลองสังเกตดูอีก  การกำมือ  กับแบมือ เมื่อหงายแขน กับ คว่ำแขน ใช้กล้ามเนื้อต่างกัน เป็นต้น.

ยังทำได้อีกหลายท่า ขอให้เป็นธรรมชาติไม่ฝืนร่างกาย
ทำเท่าที่ทำได้ เรื่มต้นจากค่อยๆก่อน น้อยๆ ช้าๆ ก่อนเสมอ
เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพ.


กายบริหารสำหรับผู้สูงวัย

ไม่มีความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 14 กุมภาพันธ 2010 เวลา 5:34 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 1583

การทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เดิน ยืน นั่ง นอน ก็เป็นการใช้งานส่วนต่างๆของร่างกายอยู่แล้ว และ บางท่านก็คิดว่าเพียงพอแล้ว แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น การออกกำลังให้ได้หลายๆส่วน อาจจะไม่ถึงกับครบทุกส่วน แต่ออกกำลังมากกว่าปกติในชีวิตประจำวันเพิ่มอีกสักหน่อยจะดีกว่ามาก  และเมื่อพบกับผลลัพธ์แล้วจะเข้าใจการออกกำลังมากขึ้น นำมาปรับให้เข้ากับตนเองได้ต่อไป

การออกกำลัง ..ยุ่งยาก…..

ไม่จริงเลย..เราสามารถออกกำลังที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ และเท่าไรก็ได้ เลือกให้เหมาะสม กับตัวเราต่างหาก เลือกที่ควรเป็นเพราะแต่ละคนมีความพร้อม ความต้องการ อุปสรรค แตกต่างกัน ข้อควรคำนึงสูงสุดคือ ความปลอดภัย ก่อนอื่นควรทราบภาวะเบื้องต้นของตนเองก่อน มีข้อห้ามอะไรทางการแพทย์หรือไม่ ที่คุณหมอท่านห้ามไว้ ถ้าไม่ทราบ ก็ควรได้ตรวจสุขภาพบ้างและปรึกษาแพทย์ได้ว่า ตัวเองนั้นมีข้อห้ามอะไรบ้าง หรือไม่

หลังจากนั้นเริ่มต้นแบบง่ายๆ

1 ใช้เวลาบิดขี้เกียจเพิ่มขึ้น   ผู้สูงวัย อย่างไรก็รู้จักบิดขี้เกียจ  เป็นกายบริหารเบื้องต้นจริงๆ ทำได้ตามใจนึก เคยบิดทีเดียวก็อาจจะเพื่มเป็น 3-5ที ทำแล้วสบายๆ ก็เพิ่มอีกเป็น 10ที  ไม่กำหนดตายตัวว่าบิดท่าไหน ขอให้ทำแล้วถนัด สบาย  ไม่ฝืนออกแรงส่วนใดหักโหมมากไป ใช้ได้

2 ทำใจให้ร่าเริงระหว่างวัน  ในขณะทำอะไรอยู่ก็สามารถออกกำลังง่ายๆไปด้วยได้ หรือ พัก สักครู่ สะบัดแขน สะบัดขาได้การทำเช่นนี้ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด และเมื่อลดความตึงเครียดได้ การปวดเมื่อยจะลดลงได้บ้างด้วย

3 เมื่อตื่นนอนใหม่ๆ  ก่อนนอน หรือ หลังเลิกงาน อาจเลือกทำอะไรง่ายๆ เป็นประจำ จะช่วยทำให้ร่างกายได้รับการกระตุ้น หรือ ผ่อนคลาย ในเวลาที่สบายๆ

ทำไม่เป็น…..

นั่นเป็นเพราะ ยึดติดกับท่าทางมากไป  สำหรับผู้สูงวัยแล้ว ลดความเร็ว ลดความแรง ลดเวลา ในการทำท่าต่างๆได้  เราสามารถเริ่มจากช้าๆ ง่ายๆ ไม่ต้องกังวลกับเกณฑ์ต่างๆ  ทุกอย่างยืดหยุ่นได้ ใช้ตัวเองเป็นที่ตั้ง อยากทำระดับใด ก็ค่อยๆทำไป หลักการง่ายๆคือ

บริหาร  คอ แขน ขา ลำตัว

ทุกส่วนของร่างกายมีความเชื่อมโยงติดต่อกัน เราทำอย่างหนึ่ง ก็จะมีผลต่ออีกหลายอย่าง  บริหารคอ  มีผลต่อ หลัง ไหล่ สะบัก  เป็นต้น  คราวหน้าจะมาคุยเรื่อง จะทำอะไรดี

การบริหารบริเวณลำคอ สำหรับผู้สูงวัย อาจนั่งเก้าอี้ หรือ นั่งบนเตียง เหยียดขา หรือ งอขา ได้ตามสบาย มือ แขนจะจับอะไรไว้หรือปล่อย ก็ตามสบาย ให้สังเกต ตัวเอง ถ้ารู้สึกไม่มั่นคง อาจยึดอะไรไว้ด้วยก็ได้ ค่อยๆทำค่ะ ไม่ควรยืนทำค่ะ

ตำแหน่งที่ดูเหมือนไม่สำคัญ แต่ที่จริงสำคัญไม่น้อย คนแต่ละอาชีพ มีท่า บางท่าที่ทำเป็นประจำ สร้างความตึง ความเครียดที่บริเวณนั้นๆ  บางคนใช้คอมพิวเตอร์แทบทั้งวัน  อาจมีการตึง ที่ช่วงไหล่ ต้นแขน สะบัก หรือ บางคนกัมหน้าบ่อยๆนานๆต่เนื่อง อาจปวดเมื่อยที่บริเวณคอด้านหลัง เช่น ช่างฝีมือต่างๆ  นักออกแบบ นักวาด ฯลฯ

พิจารณาการเคลื่อนไหวบริเวณคอ

ด้านหน้าตรง มองไปข้างหน้าตรงๆ หันหน้าไปตรงๆ แนวทางเคลื่อนไหวคือ  ก้มหน้าลง คืนกลับตรง เงยหน้าขึ้น แต่ความละเอียดของการเคลื่อนไหวคือ การค่อยๆก้มหน้า ช้าๆ ลงมาได้ครึ่งหนึ่งคือประมาณ 45องศา ค้างไว้ที่ตำแหน่งนั้น นับ1..2..3…..หรือ ผ่อนลมหายใจ เข้าออก ตามความถนัด ตามความพอใจ สักครู่จึงก้มต่อ ลงไปตรงๆช้าๆ จนสุดเท่าที่สบายตัวไม่เกร็ง  ไม่มีกฎเกณฑ์ว่าตัองก้มมากๆที่สุด ต้องค้างไว้นานๆที่สุด ความพอดีต่างหากที่สำคัญ  ถ้ารู้สึกเจ็บหรือต้องฝืนแสดงว่าไม่ปกติ ควรลดเวลา หรือ ลดองศา ให้เป็นสบายๆแทน เมื่อทำบ่อยขึ้นดีขึ้นก็ส่ามารถเพิ่มองศา เพิ่มเวลา ได้แต่ถ้าทำแล้วเจ็บมากไม่ควรฝืน อาจหยุดทำไปให้หายเจ็บก่อนจึงค่อยๆเริ่มใหม่ แต่ถ้าเจ็บมากๆขยับแล้วเจ็บควรปรึกษาแพทย์ค่ะ  สำหรับผู้ที่ทำแล้วปกติ สบายขึ้น ให้ทำแล้วย้อนกลับ ค่อยๆทำ และลองหยุด ลองขยับในแนวนั้น เหมือนซ้ำไปมาสักครู่  จะเลือกได้ว่าทำเท่าไร ขนาดไหน รู้สึกดี

ด้านข้างตรง มองไปข้างหน้าตรงๆ หน้าตรง แล้วค่อยๆเอียงคอลงมาที่ไหล่ ไม่ต้องเกร็ง ทำสบายๆ ไม่มีอะไรตายตัว ยืดหยุ่นได้ พอดีสำหรับตัวเอง คือ พอดี ยกขึ้นคืนกลับไปเหมือนจะตั้งตรงอีกแต่ยังไม่ต้องตั้งตรง  คืนไปเพียงครึ่งหนึ่ง คือ ประมาณ 45องศา เหมือนยังทำคอเอียงอยุ่ เอาลงมาใหม่ แล้วทำขึ้นลงแบบนั้นอีก ทำแบบสบายๆค่อยๆทำ เพิ่มความเร็วได้ถ้าทำแล้วสบายดี  เอียงขึ้นลง 3-5 ครั้งได้ตามสบาย แล้วจึงยกขึ้นตั้งตรง พัก…ควรทำทีละข้าง ซ้ำๆจนพอใจ แล้วจึงพัก พักก่อนสักครู่  จึงค่อยเริ่มต้นใหม่อีกข้างตรงข้าม  เอียงคอลงไปตรงๆ ไม่บิด ทำเหมือนกันอีกข้างหนึ่ง

ท่ารวม เมื่อทำข้างต้นแล้ว  เอาท่าด้านตรงและด้านข้างมาทำต่อเนื่องกัน อนุญาตให้ห่อไหล่ได้  เราจะทำตามสบายของเราให้นึกไว้เสมอ  ปรับท่าให้พอดีกับตัวเองค่ะ  ทบทวนท่าข้างต้น ทำซ้ำ ไปมา ตามสบาย ตามถนัด สังเกต และปรับต้วไปพร้อมกัน  สุดท้ายเมื่อ สบายกล้ามเนื้อแล้ว จะค่อยๆหมุนรอบ เท่าที่ทำได้ ย้อนกลับ เท่าที่ทำได้ จะพบว่า ลบายต้นคอ ลงไปถึงไหล่ สะบัก กลางหลังค่ะ


บทส่งท้าย…ควันหลง..

ไม่มีความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2009 เวลา 14:05 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 1946

มาตอบเรื่อง ข้อสรุปนะคะ

น่าเสียดายที่เวลามีน้อย หรือพูดอีกอย่างเรื่องราวมีมากกว่าเวลา
ที่ประชุมเริ่มประชุมประมาณบ่ายโมง เพราะประชุมมาจาก
รพ.น้ำพอง ช่วงเช้า แล้วค่ะ
เริ่มประชุมไม่นาน พนักงานโรงแรมต้องเอาเก้าอี้มาเสริม หลายรอบ หลายแถว
พูดกันตลอด ไม่มีเบรค ไม่มีใครออกไปพัก ประชุมกันจน 17.30 น.จึงจบการประชุม
มีเรื่องราว และผู้คนมากจริงๆ

สำหรับท่านที่มาเสนอตัวอย่าง เช่น
รพ.สมเด็จพระยุพราขด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย (นพ.ภักดี สืบนุการณ์ )
อบต.ที่จังหวัดยโสธร (กองทุน รพ. 2 บาท)
สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ( นพ.วุฒิไกร มุ่งหมาย )
เจ้าอาวาสวัดคำประมง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (พระภิกษุปพนพชร จิรธัมโม)
รพ.ศูนย์ขอนแก่น (นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ )
รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (นพ.ภิเศก ลุมภิกานนท์)
รพ.อุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ ขอนแก่น (นพ.อภิสิทธิ์ พญ. ทานทิพย์ ธำรงวรางกูร)

แต่ละท่านถูกขอให้พูดสั้นๆ แต่กระนั้นเวลาก็ยังไม่เพียงพอค่ะ
แต่ละเรื่องที่แต่ละท่านได้หยิบยกมาเสนอนั้น มีเนื้อหาสาระมาก มีประโยชน์มาก
(ท่านที่สนใจอาจติดตามค้นหาทางอินเตอร์เนตเพิ่มเติม
โครงการแต่ละโครงการมีรายละเอียดอีกมาก ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยค่ะ )
จึงใช้เวลาจนเกือบ 17.00 น.

การสรุปจึงมีเพียงสั้นๆค่ะ
ท่านปลัดกระทรวง ได้กล่าวสรุป และกล่าวเกี่ยวกับงานที่ท่านดูแลว่า
ท่านสนใจและพยายามจะส่งเสริมสนับสนุน และ
คงต้องดำเนินการกันเป็นลำดับต่อๆไป ทางด้านกฎระเบียบต่างๆก็จะเร่งดูแล
ท่าน นพ.มงคล ณ.สงขลา ประธานโครงการฯได้กล่าวว่า
ปัญหาในการสาธารณสุขนั้น มีความแตกต่างกันอยู่ในแต่ละภาค แต่ละพื้นที่
การแก้ปัญหาก็ย่อมจะแตกต่างกันด้วย ก็จะเร่งดำเนินการสนับสนุน ส่งเสริมกันต่อไป

คงสรุปได้สั้นๆเพียงเท่านี้ค่ะ เรื่องสำคัญๆกระทรวงคงไม่สามารถสรุปในเวลาสั้นๆได้

จะมีการประชุมกันอีกค่ะ ความคืบหน้าคงปรากฎในการประชุมครั้งต่อไปค่ะ


ควันหลงจากงาน:ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน (ต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 เวลา 5:25 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 1395

มาถ่ายทอดต่ออีกนิดหน่อยนะคะ

การเข้าถึงชุมชน ชาวบ้าน ขอถ่ายทอดย่อๆ 2ตัวอย่างค่ะ

ท่านผอ.รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ท่านได้เล่าว่า
เมื่อท่านมาทำหน้าที่ใหม่ๆ ท่านทำงานอยู่แต่ในโรงพยาบาล
และท่านก็ได้พบคนไข้ ได้ตรวจ ได้รักษา ท่านเข้าใจว่าได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว
จนกระทั่งวันหนึ่ง ท่านได้คุยกับคนไข้ คุยไปมา ท่านได้ชวนคนไข้ว่า
วันหลังมาคุยกันใหม่ คนไข้บอกว่าไม่ได้มาหรอก มาไม่ได้
แต่ถ้าท่านว่างก็ไปคุยกับเขาที่บ้านได้ และเมื่อท่านออกมานอก รพ.
ได้พบแม่ค้า ได้คุยกับชาวบ้าน ท่านจึงได้ทราบว่า ผู้คนที่ท่านได้พบใน รพ.
นั้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ยังมีชาวบ้านอีกมากที่ต้องการการดูแล รักษา
แต่ไม่ได้ไป รพ. ยึ่งได้เรียนรู้ ท่านยิ่งได้พบความยากลำบากของคนไข้ ปัญหาของชาวบ้าน
ท่านจึงได้พบว่า ควรมีการออกมาดูแลในชุมชนด้วย การให้คำแนะนำ
ให้การปรึกษา ให้การรักษาเบื้องต้น การติดตามการรักษา ไม่จำต้องทำที่ รพ.
จากนั้นท่านก็ส่งทีมออกมาเรียนรู้ กลับไปฝึกปฏิบัติ และออกมาให้การดูแลชาวบ้าน
ในที่สุด บุคคลากรใน รพ.ก็ร่วมกันปฎิบัติในแนวทางสู่ชุมชนด้วย
สิ่งที่ท่านทำนั้น หลายๆรพ.ก็อาจทำอยู่แล้ว แต่ที่นำมาเล่าคือ
เล่าถึงแรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่น การปรับเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ เริ่มต้นที่ใจ
และนำมาปฎิบัติจริง แล้วขยายต่อ

ท่านผอ.รพ อุบลรัตน์ ก็มีงานประสานกับชาวบ้าน ผสมผสานทั้งทาง
การเกษตร สมุนไพร ภูมิปัญญาชาวบ้าน จากคำพูดติดตลกของท่านว่า
“กลายเป็นเรื่องกล้วยๆ” คือท่านใช้การปลูกกล้วยแก้ปัญหาจริงๆ
ป้าหวานสนใจ ก็เลยไปค้นดูในอินเตอร์เนต พบโครงการของท่านอีกมากมาย

ยังมีอีกหลายท่านที่เป็นตัวอย่าง น่ายกย่องอีกหลาย รพ. ที่ไม่สามารถนำมาถ่ายทอดได้หมด
ในที่นี้ จึงขออภัยในความไม่สมบูรณ์ไว้ด้วยค่ะ

การเรียนรู้ที่ดี คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ

ท่าน นพ.ประเวศ วะสี ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ที่ดี คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ
อย่างเช่น การเดิน เราอยากเดินเป็น ต้องไปหัดเดิน ไม่ใช่เรียนรู้ว่า กล้ามเนื้อชิ้นไหนบ้าง
กี่ชิ้นที่ใช้ในการเดิน กระดูกกี่ข้อ ข้อไหนบ้าง
ประทับใจป้าหวานและอ.ดร.แสวงมากๆค่ะ ดร.แสวงได้ยกตัวอย่างเช่นกันว่า
การทำนา ต้องเรียนรู้ของจริงด้วย ไม่ใช่เรียนแต่ในตำรา
การถ่ายทอดนี้หวังจะนำเรื่องที่เกิดขึ้นมาเล่าสู่กันฟัง
อาจมีการพิจารณานำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อๆไปค่ะ

ขอจบการถ่ายทอดเท่านี้นะคะ
Everything has its beauty but not everyone sees it.
ช่องว่างระหว่างอุดมคติกับความจริงก็มีสิ่งให้ต้องเรียนรู้อยู่มากมาย
พยายามคิดถึงตอนจบที่มีความสุขเข้าไว้…
สองบรรทัดสุดท้าย ขอยืมมาจาก ลานเวลา ค่ะ ขอบคุณค่ะ


ควันหลงจากงาน:ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน (ต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 เวลา 18:35 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 1554

ความต้องการพยาบาลชุมชน และแนวทางการผลิต

เนื่องจากเสียงจาก รพ.ต่างๆ ต่างต้องการพยาบาลเพิ่มขึ้น
เดิมทีการผลิตและการกระจายของพยาบาล มีส่วนกลางได้พยายามผลิต
และส่งไปตามพื้นที่ต่างๆ แต่ก็ยังไม่พอเพียง อาจเกิดจากการย้าย หรือ
บางส่วนเข้าไปอยู่ในภาคเอกชน บางส่วนเลือกท้องถิ่นที่ต้องการอยู่เป็นต้น
การกระจายจึงไม่เป็นไปตามแผนการผลิต

การผลิตเพิ่ม และความต้องการ ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณ ตำแหน่ง
เกี่ยวกับ กระบวนการผลิตที่จะต้องเพิ่มผู้สอน เพิ่มต้นทุน เพิ่มอุปกรณ์ เพิ่มสถานที่
และ เพิ่มงบการเงินส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นๆ ทั้งระเบียบราชการต่างๆอีกด้วย

จากการประสานความร่วมมือ ระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งแพทย์
ทั้งพยาบาล ทั้งสถาบันการศึกษา ทั้งสำนักงานสาธารณสุข
และทั้งชุมชนเจ้าของพื้นที่ ได้มีการประสานงานร่วมมือ ร่วมใจกันแก้ป้ญหาดังกล่าว

ฝ่ายชุมชนต้องการอะไร ต้องการพยาบาลชุมชน คนบริบาล
เพื่อแบ่งเบาภาระแพทย์และพยาบาลที่ รพ.และเพื่อสุขภาพของชุมชน
ทาง รพ.ตระหนัก ถึงปัญหานี้ และเกิดการศึกษาว่า ชุมชนต้อง
พึ่งพาชุมชนเอง ดังที่ผอ.รพ.น้ำพองได้กล่าวว่า เราต้องการส่งคนดี
ในชุมชนไปเรียน ให้กลับมาเป็นคนเก่ง และ
มาพัฒนาท้องถิ่นของตนด้วยความผูกพันทางใจ เต็มใจ

รพ.อื่นๆก็เช่นเดียวกัน

แพทย์ผู้บริหารแต่ละท่านมีความสามารถอย่างยิ่ง ท่านได้คำนวณ
แผนการผลิตที่เยี่ยมยอด ต้องการกี่คน ใช้เวลาผลิตนานเท่าไร
ต้องใช้ต้นทุนเท่าไร มีข้อจำกัดที่จุดใดบ้าง

ฝ่ายสภาการพยาบาลและ สาธารณสุขจังหวัดซึ่งต้องดูแลเรื่องการผลิต
ก็ได้ร่วมมือร่วมใจช่วยกันไม่ยอมแพ้ต่อข้อจำกัด ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ จนลุล่วง
ผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพออกมาตามความต้องการของชุมชนจนได้

ตัวอย่าง เทคนิคของท่านผอ.รพ. ต่างๆเช่น หาทุนโดยบางรพ.มีทุนเพียงพอ
แต่ท่านมีวิธีบริหารให้คุ้มทุนอย่างน่าทึ่ง  บางรพ. ท่านได้รับการสนับสนุนจากชุมชน
จัดตั้งกองทุนโดยชาวบ้านร่วมกันลงขัน คนละสองบาทต่อเดือน เป็นต้น
และบางรพ. ก็ได้ใช้การเกษตรเข้ามาช่วย เช่น ผอ.รพ.อุบลรัตน์
ได้คำนวณแล้ว สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ปลูกกล้วย และกลุ่มที่ต้องการรับทุน
จะนำกล้วยนั้นไปขาย ต้นทุนให้คนปลูก หวีละ 5บาท กำไรให้คนขาย หวีละ 5 บาท
ตลาดคือรพ. ชุมชน และเครือข่าย รายได้ต่อเดือนก็สามารถนำมาเป็นทุนส่งพยาบาลเรียนได้
คุณหมอประเวศได้กล่าวว่า ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ ไม่ต้องรองบประมาณของราชการ
เพียงอย่างเดียว ขณะนี้มีพยาบาลชุมชน ได้สำเร็จโดยการผลิตจากชุมชน มาแล้วค่ะ

นอกจากพยาบาลชุมชน ก็มีทันตาภิบาลด้วยนะคะ

ขอชื่นชมและยกย่องทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องค่ะ
ถ้าบทความนี้ขาดตกบกพร่อง ประการใดขออภัยเป็นอย่างสูงค่ะ


ควันหลงจากงาน:ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน

ไม่มีความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 เวลา 16:02 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 2438

19 พ.ย.ที่โรงแรมพูลแมน ราชา ออคิด จ.ขอนแก่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส พร้อมด้วยคณะกรรมการกำลังพลด้านสุขภาพแห่งชาติ (สช.)เปิดเวทีจุดประกาย “ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน” โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาร่วมงานด้วยกัน เพื่อจัดทำแผนแม่บทกำลังคนด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับประชากรใน 19 จังหวัดภาคอีสาน โดยมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุข 19 จังหวัดอีสานเข้าร่วม

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณะสุข กล่าวว่า ขณะนี้ภาคอีสานเผชิญปัญหาการขาดแคลน แพทย์ พยาบาล มากที่สุด โดยทั่วทั้งภาคมีแพทย์ 4,028 คน ขณะที่ภาคกลางและ กทม.มีแพทย์รวม 12,422 คน เมื่อเทียบกับกรุงเทพฯและปริมณฑลแล้ว สัดส่วนแพทย์ 1 คน ต่อประชากรของภาคอีสานสูงกว่าประมาณ 8 เท่า ขณะที่สัดส่วนของพยาบาล 1 คนต่อประชากรก็สูงกว่าประมาณ 3-4 เท่าเช่นกัน

ขอขอบคุณภาพและข่าว และโปรดอ่านรายละเอียด จาก:
http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=66042

เก็บตกควันหลงมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ขอเล่าย่อๆในแต่ละตอนที่ประทับใจผู้เขียนนะคะ

จากที่ทราบกันดีว่า แพทย์และบุคคลากรไม่พียงพอ การบริการที่โรงพยาบาลแน่นขนัด
เดิมทีเราหลงทาง ฝากความหวังเรื่องสุขภาพดี ไว้กับแพทย์และโรงพยาบาลเท่านั้น
เหมือนตั้งความหวังไว้บนยอด แต่ไม่ได้คิดถึงฐานราก ( นพ.ประเวศ วะสี )

ปัจจุบันเราได้เรียนรุ้และระดมความรู้ความสามารถ การศึกษา การวิจัย มากมาย
เราได้ทราบว่า เราต้องเรียนรู้จากพื้นที่ วางแผนจากพื้นที่
ว่าพื้นที่มีความต้องการอย่างไร มีปัญหาอย่างไร ขาดอะไร
ไม่ใช่ใช้ส่วนกลางเป็นตัวตั้ง หรือ ใช้วิชาชีพเป็นตัวตั้ง

จาก การศึกษาของแพทย์ผู้บริหาร รพ.หลายๆท่าน ท่านพบว่า
ความต้องการของชุมชนนั้นมีหลายระดับ และปัญหานั้นก็มีหลายระดับ
แต่ส่วนหนึ่งที่ชัดเจนคือ ขุมชนต้องการการดูแลที่มีความรู้ มีคุณภาพ
และประหยัด ทั้งเงินและเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คำตอบไม่ได้อยู่ที่แพทย์
หรือ รพ.เพียงอย่างเดียว พบว่าเมื่อการแก้ไขเบื้องต้นยังขาดแคลน
การรับบริการจึงมากระจุกตัวอยู่ที่ รพ.และมีอาการมากแล้วจึงมา
การแก้ไขส่วนหนึ่งจึงมุ่งไปที่การให้การดูแลชุมชน ในพื้นที่ ถึงที่บ้าน ที่ชุมชน
พบว่ามีประชาชนที่ต้องการการดูแลที่ไม่ซับซ้อนจำนวนมาก แพทย์ผู้ใส่ใจจึงทราบว่า

หนทางหนึ่งคือ ไปเรียนรู้จากภูมิปัญญาของชาวบ้านหรือจากปราชญ์
ซึ่งคนกลุ่มนี้อาศัยการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติ
ใช้ระบบสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดมีความสุข
มีสุขภาวะดีทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา
ทำให้อัตราการตาย อัตราการป่วยน้อยลง อัตราที่จะต้องมาโรงพยาบาลน้อยลง
( รพ.อุบลรัตน์ ขอนแก่น )

อีกหนทางหนึ่งคือ ส่งคนเข้าไปในพื้นที่ คนที่เข้าไปนี้สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง
ให้คำแนะนำ ดูแลรักษาเบื้องต้น ติดตามการรักษา
ให้บริการที่ไม่ซับซ้อน ที่ไม่จำเป็นต้องไป รพ.
บุคคลากรที่เหมาะสมนี้คือ พยาบาลชุมชน และ คนบริบาล

แนวทางนี้ส่งผลพัฒนาทั้งชุมชนและพัฒนาการวางแผนงานการสาธารณสุขด้วย
โปรดติดตามต่อค่ะ…


ข่าวไข้หวัด 2009 (ต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 10 ตุลาคม 2009 เวลา 1:49 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 2068

มาส่งข่าวต่อค่ะ

เพื่อนป้าหวาน  ส่งข่าวมาว่าลูกอาการทุเลาแล้ว แต่ก็ยังต้องพาไปหาหมออีกตามคำสั่งหมอ และต้องกักบริเวณต่อไปด้วย ป้าหวานขอคัดลอก อีกส่วนหนึ่งมาให้อ่านกันค่ะ

วันนี้เจ้าโตอ่านข่าวทางเน็ตให้ฟัง บอกว่าภายในอาทิตย์เดียวนี่ในญี่ปุ่นมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ถึงสามแสนสามหมื่นคนเลยทีเดียว และวานนี้มีเด็กผู้ชายอายุห้าขวบได้เสียชีวิตไปเป็นรายที่ 22 ของโรคนี้ค่ะ ข่าวว่าเด็กไข้ขึ้นถึง 40 องศาในวันที่สามเมื่อพาไปรพ.และให้ยาทะมิฟลูแล้วก็ช้าเกินไป เพราะสมองไม่ตอบรับแล้ว..

สำหรับเจ้าตัวเล็ก หมอให้ยาตัวใหม่สำหรับไข้หวัดใหญ่มาค่ะ ชื่อ Relenza เป็นยาที่ใช้สูดเข้าทางปาก หมอให้มาสองวันค่ะ

ขอขอบคุณ ป้าโซ ค่ะ

ที่นี่ มีคนรู้จักคนหนึ่ง  ป้าหวานเพิ่งพบเธอเมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว เธอเสียชีวิตแล้ว ทั้งๆทีวันนั้นเธอยังดูแข็งแรง  เธอมีโรคประจำตัวค่ะ  แต่ไม่ได้มีอาการหนักอะไรเลยในวันที่พบกัน  แม่ของเธอบอกว่า  เธอมีไข้  แล้วก็ ปอดบวม และเสียชีวิต ช่างรวดเร็วเหลือเกินแต่แม่ของเธอก็ไม่ได้เอ่ยถึงไข้หวัด 2009 ป้าหวานก็ไม่ทราบค่ะว่า มีการตรวจไหม ถ้าตรวจ ถ้าใช่ ทำไมไม่มีใครพูดถึง  และญาติก็ไม่ได้กักบริเวณ  ที่สำคัญ คนที่ได้รับเชื้อ แต่ไม่มีอาการ เป็นพาหะที่มาเงียบ ติดได้ไม่รู้ตัว ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็มีไม่น้อยกว่าคนติดเชื้อที่ทราบ ที่รายงานแล้ว อีกด้วย


บันทึกอื่นๆ เกี่ยวกับ ไข้หวัดใหญ่ 2009

5 ความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 17 กันยายน 2009 เวลา 12:49 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 2214

ขอขอบคุณ ผู้เขียนบทความ และ เวป ที่เกี่ยวข้อง ที่นำมาแนะนำไว้ที่นี่นะคะ  ขอบพระคุณค่ะ

Call Center สำหรับสายด่วนให้ประชาชนโทรสอบถามข้อมูล ที่หมายเลข 02-5903333 ตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์รวมข้อมูลไข้หวัด 2009
http://flu.in.th/

บันทึกอื่นๆ ที่ได้รวบรวมสกัดความรู้จากประสบการณ์ของสมาชิก GotoKnow.org
http://flu.in.th/pages/4952/


การเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระลอกที่สอง
: บทเรียนจากสถานการณ์การระบาดในปัจจุบัน
แปลและเรียบเรียงโดย สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=24787440&Itemid=240

ทำหน้ากากอนามัยใช้เองก็ได้..ง่ายนิดเดียว / เอมอร คชเสนี
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000080757

หวัด 09 คร่าอีก 11 ราย รวมยอด 153 ราย สธ.ห่วงช่วงปิดเทอมระบาด ต.ค.-พ.ย.
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000107877

การใช้หลักยาจีน ช่วยทุบ เชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 http://gotoknow.org/blog/9thai/281531

เตรียมความรู้ และ ยา ไว้รับมือ กับ ไข้หวัดใหญ่ 2009 http://gotoknow.org/blog/9thai/282000

เชื่อมั่นสมุนไพร ร่วมต้านไข้หวัดใหญ่ 2009 เมื่อลูกหมอป่วย http://gotoknow.org/blog/9thai/286122

สังเกตุ พิษร้อน จากไข้หวัดใหญ่ http://gotoknow.org/blog/9thai/283227

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรไทย รักษาไข้หวัด 2009 http://thaihealth.allblogthai.com/10#levalRe2_1027

เกาะติดสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 http://thaihealth.allblogthai.com/subcatagories/555

รายงานพิเศษ http://www.oknation.net/blog/bypunnee/category/FLU2009

ตาย - ดื้อยา ทาง 2 แพร่ง “ยาหวัดใหญ่ 2009” http://www.oknation.net/blog/bypunnee/2009/08/03/entry-1

ไข้หวัดหมู(2009H1N1) เกิดขึ้นได้อย่างไร??? http://gotoknow.org/blog/socialwithoutborders/261990

ไข้หวัดใหญ่ 2009 . . ความจริงที่ต้องรู้ http://gotoknow.org/blog/auttamon/282358

ตลาดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 เดือด http://www.oknation.net/blog/bypunnee/category/FLU2009

ท่านที่สนใจ  อาจส่งบทความ หรือ แนะนำเวป ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวมพลังกันนะคะ ขอบคุณค่ะ


ไข้หวัดใหญ่ 2009 อันตรายใกล้ต้ว….

5 ความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 17 กันยายน 2009 เวลา 8:05 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 4118

ไข้หวัดใหญ่ 2009 อันตรายใกล้ต้ว….
http://en.wikipedia.org/wiki/File:Thailand_2009_Flu_Outbreak.png

ภาพเมื่อ 12 มิถนายน 2552
ส่วนที่เป็นสีดำ คือ มีการตายเกิดขึ้น
สีแดงคือ มีการติดเชื้อ ที่ยีนยันแล้ว
สีเหลืองคือ สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ


Number of confirmed cases of A(H1N1) virus in Asia (as of 23 June 2009):
บริเวณที่มีการยืนยันการติดเชื้อ
50 000+ cases สีดำ 5 000+ cases สีน้ำตาลเข้ม 500+ cases สีน้ำตาลอ่อน 50+ cases สีส้ม 5+ cases สีส้มอ่อน 1+ cases สีชมพู

ไทย: แผนที่ของประเทศการติดเชื้อ H1N1 ของไข้หวัดใหญ่ 2009

Cases of the A(H1N1) virus in Asia:
Deaths Confirmed cases Suspected cases No reported cases

ส่วนที่เป็นสีดำ คือ มีการตายเกิดขึ้น
สีแดงคือ มีการติดเชื้อ ที่ยีนยันแล้ว
สีเหลืองคือ สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ

ในภาพเป็นวันที่ 27 มิถนายน 2552 ดูภาพภาพปัจจุบันได้จาก :
http://en.wikipedia.org/wiki/2009_flu_pandemic_by_country#cite_note-who_searo_Aug23-10


บวก…ใครคิดว่าไม่สำคัญ….

2 ความคิดเห็น โดย ป้าหวาน เมื่อ 13 กันยายน 2009 เวลา 14:44 ในหมวดหมู่ ความรู้เพื่อประชาชน, ด้านสุขภาพ #
อ่าน: 1866

ท่านมีความรู้เบื้องต้นอย่างไรกับคำว่าเลือดบวก

บวก บวก บวก บวกนั้น..ประการใด…ไฉนหนอ…….

คำว่าเลือดบวกนั้น น่าจะมาจากภาษาพูดที่ย่อและพูดในวาระหนึ่งๆเฉพาะเจาะจงเท่านั้น

แต่มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจคลาดเคลื่อน
โดยเข้าใจว่า เลือดบวกคือโรคชนิดหนึ่งทางเพศสัมพันธ์
ซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่าหมอเขาเรียกว่าอะไร
ต่อมาเมื่อมีเรื่องเอดส์ เข้ามาแพร่หลาย ประชาชนบางส่วนก็สับสน
และไม่ได้หาคำตอบเพราะไม่มีเวลา
ขอให้ไม่บวกเป็นใช้ได้ แต่มากกว่านั้นไม่ทราบ

จริงๆแล้ว เลือดบวก เป็นคำพูดลอยๆที่จะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมจะคิดเองว่าเป็นอย่างนั้น  อย่างนี้ ไม่ได้ค่ะ

ในภาษาของหมอ  การตรวจมีมากมายหลายเรื่อง หลายโรค
หลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการตรวจ
แต่สรุปว่า สิ่งที่หมอตรวจไม่ได้มีแต่เชื้อโรคอย่างเดียว
หมอยังตรวจหาสารบางขนิดที่บ่งบอกถึงบางสภาวะของร่างกาย
บางทีก็ตรวจหาปริมาณของสารอื่นๆที่ไม่ใช่เชื้อโรค

ดังนั้น การรายงานผลว่ามีอะไรบางอย่างบวกนั้นไม่ได้แปลว่ามีเชื้อโรคเสมอไป
และ ไม่ได้แปลว่า ไม่ดี เสมอไป

ขอให้สนใจในรายละเอียด ก่อนที่จะสรุปว่าอะไร เป็นอะไร ไม่เช่นนั้น
เมื่อทราบว่ามีผลเลือดบวก เท่านั้น  คนไข้ก็สั่นไปถึงหัวใจ เท่านั้นไม่พอ
อาจกระเทือนไปถึงครอบครัว การงานอีกด้วย

การฟังการสิ่อสารจึงสำคัญมาก ควรปรึกษาแพทย์โดยตรง
ซักถามให้เข้าใจจริงๆ ว่าเป็นอะไรหรือไม่ อย่างไร นะคะ

สามารถตั้งคำถามที่ต้องการทราบไว้ที่ ความคิดเห็น นะคะ



Main: 1.0621068477631 sec
Sidebar: 0.097916126251221 sec