ควันหลงจากงาน:ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน (ต่อ)
อ่าน: 1494มาถ่ายทอดต่ออีกนิดหน่อยนะคะ
การเข้าถึงชุมชน ชาวบ้าน ขอถ่ายทอดย่อๆ 2ตัวอย่างค่ะ
ท่านผอ.รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ท่านได้เล่าว่า
เมื่อท่านมาทำหน้าที่ใหม่ๆ ท่านทำงานอยู่แต่ในโรงพยาบาล
และท่านก็ได้พบคนไข้ ได้ตรวจ ได้รักษา ท่านเข้าใจว่าได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว
จนกระทั่งวันหนึ่ง ท่านได้คุยกับคนไข้ คุยไปมา ท่านได้ชวนคนไข้ว่า
วันหลังมาคุยกันใหม่ คนไข้บอกว่าไม่ได้มาหรอก มาไม่ได้
แต่ถ้าท่านว่างก็ไปคุยกับเขาที่บ้านได้ และเมื่อท่านออกมานอก รพ.
ได้พบแม่ค้า ได้คุยกับชาวบ้าน ท่านจึงได้ทราบว่า ผู้คนที่ท่านได้พบใน รพ.
นั้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ยังมีชาวบ้านอีกมากที่ต้องการการดูแล รักษา
แต่ไม่ได้ไป รพ. ยึ่งได้เรียนรู้ ท่านยิ่งได้พบความยากลำบากของคนไข้ ปัญหาของชาวบ้าน
ท่านจึงได้พบว่า ควรมีการออกมาดูแลในชุมชนด้วย การให้คำแนะนำ
ให้การปรึกษา ให้การรักษาเบื้องต้น การติดตามการรักษา ไม่จำต้องทำที่ รพ.
จากนั้นท่านก็ส่งทีมออกมาเรียนรู้ กลับไปฝึกปฏิบัติ และออกมาให้การดูแลชาวบ้าน
ในที่สุด บุคคลากรใน รพ.ก็ร่วมกันปฎิบัติในแนวทางสู่ชุมชนด้วย
สิ่งที่ท่านทำนั้น หลายๆรพ.ก็อาจทำอยู่แล้ว แต่ที่นำมาเล่าคือ
เล่าถึงแรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่น การปรับเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ เริ่มต้นที่ใจ
และนำมาปฎิบัติจริง แล้วขยายต่อ
ท่านผอ.รพ อุบลรัตน์ ก็มีงานประสานกับชาวบ้าน ผสมผสานทั้งทาง
การเกษตร สมุนไพร ภูมิปัญญาชาวบ้าน จากคำพูดติดตลกของท่านว่า
“กลายเป็นเรื่องกล้วยๆ” คือท่านใช้การปลูกกล้วยแก้ปัญหาจริงๆ
ป้าหวานสนใจ ก็เลยไปค้นดูในอินเตอร์เนต พบโครงการของท่านอีกมากมาย
ยังมีอีกหลายท่านที่เป็นตัวอย่าง น่ายกย่องอีกหลาย รพ. ที่ไม่สามารถนำมาถ่ายทอดได้หมด
ในที่นี้ จึงขออภัยในความไม่สมบูรณ์ไว้ด้วยค่ะ
การเรียนรู้ที่ดี คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ
ท่าน นพ.ประเวศ วะสี ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ที่ดี คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ
อย่างเช่น การเดิน เราอยากเดินเป็น ต้องไปหัดเดิน ไม่ใช่เรียนรู้ว่า กล้ามเนื้อชิ้นไหนบ้าง
กี่ชิ้นที่ใช้ในการเดิน กระดูกกี่ข้อ ข้อไหนบ้าง
ประทับใจป้าหวานและอ.ดร.แสวงมากๆค่ะ ดร.แสวงได้ยกตัวอย่างเช่นกันว่า
การทำนา ต้องเรียนรู้ของจริงด้วย ไม่ใช่เรียนแต่ในตำรา
การถ่ายทอดนี้หวังจะนำเรื่องที่เกิดขึ้นมาเล่าสู่กันฟัง
อาจมีการพิจารณานำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อๆไปค่ะ
ขอจบการถ่ายทอดเท่านี้นะคะ
Everything has its beauty but not everyone sees it.
ช่องว่างระหว่างอุดมคติกับความจริงก็มีสิ่งให้ต้องเรียนรู้อยู่มากมาย
พยายามคิดถึงตอนจบที่มีความสุขเข้าไว้…
สองบรรทัดสุดท้าย ขอยืมมาจาก ลานเวลา ค่ะ ขอบคุณค่ะ
« « Prev : ควันหลงจากงาน:ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน (ต่อ)
Next : บทส่งท้าย…ควันหลง.. » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ควันหลงจากงาน:ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน (ต่อ)"