ควันหลงจากงาน:ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน
อ่าน: 264719 พ.ย.ที่โรงแรมพูลแมน ราชา ออคิด จ.ขอนแก่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส พร้อมด้วยคณะกรรมการกำลังพลด้านสุขภาพแห่งชาติ (สช.)เปิดเวทีจุดประกาย “ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน” โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาร่วมงานด้วยกัน เพื่อจัดทำแผนแม่บทกำลังคนด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับประชากรใน 19 จังหวัดภาคอีสาน โดยมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุข 19 จังหวัดอีสานเข้าร่วม
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณะสุข กล่าวว่า ขณะนี้ภาคอีสานเผชิญปัญหาการขาดแคลน แพทย์ พยาบาล มากที่สุด โดยทั่วทั้งภาคมีแพทย์ 4,028 คน ขณะที่ภาคกลางและ กทม.มีแพทย์รวม 12,422 คน เมื่อเทียบกับกรุงเทพฯและปริมณฑลแล้ว สัดส่วนแพทย์ 1 คน ต่อประชากรของภาคอีสานสูงกว่าประมาณ 8 เท่า ขณะที่สัดส่วนของพยาบาล 1 คนต่อประชากรก็สูงกว่าประมาณ 3-4 เท่าเช่นกัน
ขอขอบคุณภาพและข่าว และโปรดอ่านรายละเอียด จาก:
http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=66042
เก็บตกควันหลงมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ขอเล่าย่อๆในแต่ละตอนที่ประทับใจผู้เขียนนะคะ
จากที่ทราบกันดีว่า แพทย์และบุคคลากรไม่พียงพอ การบริการที่โรงพยาบาลแน่นขนัด
เดิมทีเราหลงทาง ฝากความหวังเรื่องสุขภาพดี ไว้กับแพทย์และโรงพยาบาลเท่านั้น
เหมือนตั้งความหวังไว้บนยอด แต่ไม่ได้คิดถึงฐานราก ( นพ.ประเวศ วะสี )
ปัจจุบันเราได้เรียนรุ้และระดมความรู้ความสามารถ การศึกษา การวิจัย มากมาย
เราได้ทราบว่า เราต้องเรียนรู้จากพื้นที่ วางแผนจากพื้นที่
ว่าพื้นที่มีความต้องการอย่างไร มีปัญหาอย่างไร ขาดอะไร
ไม่ใช่ใช้ส่วนกลางเป็นตัวตั้ง หรือ ใช้วิชาชีพเป็นตัวตั้ง
จาก การศึกษาของแพทย์ผู้บริหาร รพ.หลายๆท่าน ท่านพบว่า
ความต้องการของชุมชนนั้นมีหลายระดับ และปัญหานั้นก็มีหลายระดับ
แต่ส่วนหนึ่งที่ชัดเจนคือ ขุมชนต้องการการดูแลที่มีความรู้ มีคุณภาพ
และประหยัด ทั้งเงินและเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คำตอบไม่ได้อยู่ที่แพทย์
หรือ รพ.เพียงอย่างเดียว พบว่าเมื่อการแก้ไขเบื้องต้นยังขาดแคลน
การรับบริการจึงมากระจุกตัวอยู่ที่ รพ.และมีอาการมากแล้วจึงมา
การแก้ไขส่วนหนึ่งจึงมุ่งไปที่การให้การดูแลชุมชน ในพื้นที่ ถึงที่บ้าน ที่ชุมชน
พบว่ามีประชาชนที่ต้องการการดูแลที่ไม่ซับซ้อนจำนวนมาก แพทย์ผู้ใส่ใจจึงทราบว่า
หนทางหนึ่งคือ ไปเรียนรู้จากภูมิปัญญาของชาวบ้านหรือจากปราชญ์
ซึ่งคนกลุ่มนี้อาศัยการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติ
ใช้ระบบสุขภาพของประชาชน ทำให้เกิดมีความสุข
มีสุขภาวะดีทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา
ทำให้อัตราการตาย อัตราการป่วยน้อยลง อัตราที่จะต้องมาโรงพยาบาลน้อยลง( รพ.อุบลรัตน์ ขอนแก่น )
อีกหนทางหนึ่งคือ ส่งคนเข้าไปในพื้นที่ คนที่เข้าไปนี้สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง
ให้คำแนะนำ ดูแลรักษาเบื้องต้น ติดตามการรักษา
ให้บริการที่ไม่ซับซ้อน ที่ไม่จำเป็นต้องไป รพ.
บุคคลากรที่เหมาะสมนี้คือ พยาบาลชุมชน และ คนบริบาล
แนวทางนี้ส่งผลพัฒนาทั้งชุมชนและพัฒนาการวางแผนงานการสาธารณสุขด้วย
โปรดติดตามต่อค่ะ…
« « Prev :
Next : ควันหลงจากงาน:ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน (ต่อ) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ควันหลงจากงาน:ขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังพลด้านสุขภาพการสร้างสุขภาวะภาคอีสาน"