นิทานคนตัดไม้ ให้ข้อคิดอะไร
นานมาแล้วยังมีคนตัดไม้คนหนึ่ง เป็นคนที่ขยันขันแข็ง ใช้ขวานสับต้นไม้เพื่อให้โค่นลงมา เขาขยันมาก วันแรกเขาตัดได้ถึง ๒๐ ต้นต่อวัน แต่ยิ่งตัด นานวันเข้าจำนวนซุงที่เขาตัดได้กลับลงลดเรื่อยๆ จนเหลือ ๑๐ ต้นต่อวัน ทั้งๆที่เขาไม่ได้อู้เลย
วันหนึ่งมีคนเดินผ่านมาเห็นชายตัดไม้กำลังใช้ขวานสับต้นไม้อยู่อย่างแข็งขัน
จากการสังเกตอยู่ราวชั่วโมงหนึ่ง
ชายคนที่เดินผ่านมาจึงเอ่ยปากกับชายตัดไม้ว่า
“ทำไมท่านไม่หยุดพักก่อน และ ลับคมขวานเสียให้คมกริบ จะได้ตัดไม้ได้เร็วขึ้น”
คนตัดไม้บอกว่า ” ไม่ได้หรอก ถ้าเราหยุด ก็จะทำให้ตัดไม้ได้น้อยลงสิ”
ชายคนที่เดินผ่านทางพูดว่า “ลองหยุดพักสักนิด และมองหาข้อผิดพลาดจากการทำงาน และจะได้ปรับปรุงการทำงานที่ดีขึ้น”
คนตัดไม้ไม่เชื่อ ยังตงตัดไม้ด้วยขวานที่ทื่อย่างมากต่อไป
จนในที่สุดจำนวนซุงที่เขาตัดได้น้อยลงๆ
จนนายจ้างไล่เขาออก เขาตกงาน และไม่มีงานทำ
เข้ากลับบ้านพร้อมขวานที่ทื่อๆเล่มหนึ่ง
นิทานเรื่องนี้สอนอะไรเรา
๑.การทำงานนอกจากจะรักงาน หรือ มีฉันทะ ,มีความเพียร(วิริยะ) ความตั้งใจเอาใจจดจ่ออยู่กับงาน(จิตตะ) ยังไม่พอ ต้องใช้ สติปัญญาทบทวน ใคร่ครวญหาสาเหตุข้อบกพร่องของงานเพื่อทำให้ดียิ่งขึ้น
๒.การทำงานโดยไม่หยุดพัก ทำให้เราพลาดโอกาสในการมองเห็นความสุขของเนื้องาน การมุ่งแต่เป้าหมายไม่สนใจระหว่างทางก็ทำให้เราไม่ซาบซึ้งกับความสุขที่ได้ทำงาน
ต้องใช้วิธีของเณรน้อยเจ้าปัญญา อิกคิวซัง บอกตนเองว่า “จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน…พักเดี๋ยวหนึ่งสิครับ” รับรองได้เห็นอะไรดีๆอีกมากครับ
๓.การเสียเวลาลับคมขวานก็เหมือนกับการศึกษาหาความรู้ โดยเข้าห้องรับการฝึกอบรม จริงอยู่ว่ามันเสียเวลา แต่สิ่งที่ได้จากการศึกษาอบรมอาจจะช่วยทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น
จากนิทานเรื่องนี้ ถ้าชายตัดไม้ หยุดและลับคมขวาน เขาก็จะตัดไม้ได้เร็วเท่าเดิม เขาก็มีงานทำ ไม่ต้องโดนไล่ออกจากงาน ความขยันอย่างดียวไม่ได้ช่วยอะไร
เรื่องเล่าดีดี : teenee.com
สวัสดีจ้ะัน้องหนูอ้อ
นิทานเรื่องนี้คลาสสิกมาก พี่เคยเขียนเป็นบันทึกไว้เว็บอื่นเหมือนกันจ้ะ
และชอบข้อคิดดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันเพิ่มเติม
ชอบนิทาน ๆ ๆ ๆ …
มีเวลาจะมาคุยใหม่จ้ะ
ความคิดเห็น โดย freemind — 5 กันยายน 2010 @ 2:43 (เย็น)
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
เมื่อคุณทำไม่ได้ตาม KPI คุณก็มีสิทธิ์ถูกไล่ออก ไม่ว่าคนจะมีความซื่อสัตย์กับองค์กรของคุณแค่ไหน หรือว่าคุณได้ทุ่มเทชีวิตให้กับองค์กรของคุณหรือไม่
ทั้งๆ ในการได้ผลผลิตน้อยลงนั้นนายจ้างควรมีส่วนรับผิดชอบจัดหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพให้กับคุณด้วย
หนูอ้อจ๋า
เรื่องนี้สนุกนะคะ วิเคราะห์ได้หลายทาง อยู่ที่ว่าเราอยู่ในมุมของลูกจ้างหรือนายจ้าง และเราใช้ค่านิยมแบบวัตถุนิยมแค่นั้นหรือในการประเมินคน
ความคิดเห็น โดย อุ๊ยสร้อย — 6 กันยายน 2010 @ 12:46 (เย็น)