โครงการ Civic Education – เทศบาลนครพิษณุโลก

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 26 กรกฏาคม 2015 เวลา 4:23 (เย็น) ในหมวดหมู่ Civic Education #
อ่าน: 1591

เทศบาลนครพิษณุโลกได้ประกาศนโยบายให้การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง เป็นที่มาของโครงการ Civic Education ของเทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ

1. บุคลากรของเทศบาลนครพิษณุโลก

2. ประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก

3. เครือข่ายที่สนใจ

หลักสูตร Civic Education สำหรับพนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก ออกแบบไว้ 8 ครั้ง ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง เมื่อจบหลักสูตรคาดหวังว่าพนักงานเทศบาลนครพิษณุโลกจะเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย, พลเมือง และเริ่มพัฒนาตัวเองเป็นพลเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การออกแบบหลักสูตรใช้แนวทาง Backward Design คือกำหนดเป้าหมาย สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นก่อน(Identify Desired Results) แล้วจึงมาคิดว่าจะตรวจสอบอย่างไรว่าได้ผลตามที่ต้องการ(Determine Acceptable Evidence) แล้วจึงมาออกแบบกิจกรรมที่นำไปสู่เป้าหมาย (Plan Learning Experiences and Instruction) หรือ (OEL – Objective, Evaluation and Learning) ซึ่งกลับกันกับวิธีเดิมที่กำหนดเป้าหมาย ออกแบบกิจกรรมที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ สุดท้ายจึงจะกำหนดวิธีการติดตามประเมินผล ( OLE – Objective, Learning and Evaluation)

วิธีการจัดการฝึกอบรม Civic Education เป็น Outcome-based Education (ปริญญา เทวานฤมิตรกุล)

ใช้ วิทยากรกระบวนการ(Facilitator) เป็น Activity-based Learning ไม่ใช้ ผู้บรรยาย (Lecturer)

clip_image002

ถ้าจะพูดเรื่องหลักสูตรคงจะยาว เอาเป็นว่า มี Keywords ที่ผู้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรนี้ต้องรู้มี

ประชาธิปไตย (democracy)

   หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (Popular Sovereignty)

   หลักเสรีภาพ (Liberty)

   หลักความเสมอภาค (Equality)

   หลักกฎหมาย (Rule of Law)

   หลักเสียงข้างมาก (Majority Rules) – ไม่ละเลยสิทธิของเสียงข้างน้อย(Minority Rights)

 

พลเมือง (Citizen)

clip_image004

   -มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (analytical Thinking)

   -เคารพหลักความเสมอภาค (Equality)

   -เคารพความแตกต่าง (Pleuralism)

   -รับผิดชอบต่อสังคมและมีส่วนร่วม (Community Involvement and Public Participation)

   -เคารพกติกา เคารพสิทธิผู้อื่น

   -มีส่วนร่วมทางการเมือง วิพากษ์การเมือง (Political Critism)

ขณะนี้ก็ได้เปิดตัวโครงการไปแล้ว โดยอาจารย์ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า และ ผศ.ดร.ปริญญาเทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดิช เนามัน ช่วยสาธิตเกม Sim Democracy และจัดการฝึกอบรมทีมงานของเทศบาลนครพิษณุโลกให้เป็นวิทยากร นำเล่นเกม Sim Democracy ให้กับบุคลากรของเทศบาล ประชาชน และเครือข่ายที่สนใจ และจะช่วยจัดการฝึกอบรม “หลักสูตรวิทยากรกระบวนการ” ให้กับทีมงานของเทศบาลนครพิษณุโลกในเดือนสิงหาคมนี้

จัดการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการ “จัดวงคุยสำหรับผู้เห็นต่าง” สนับสนุนโดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล มีพลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ อาจารย์เมธัส อนุวัตรอุดม อาจารย์ชลัท ประเทืองรัตนา อาจารย์สุวรินทร์ ทองกร และอาจารย์นารี เจริญผลพิริยะ และส่งทีมงานไปรับการฝึกอบรมในหลักสูตรวิทยากรกระบวนการอีกหลายหลักสูตร

ขณะนี้ได้ยกร่างหลักสูตร Civic Education ของเทศบาลนครพิษณุโลกเรียบร้อยแล้ว อยู่ในขั้นตอน Testrun หลักสูตร เพื่อเตรียมให้การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education) แก่บุคลากรของเทศบาลนครพิษณุโลก ประชาชนในเขตเทศบาลและเครือข่ายที่สนใจต่อไป



Main: 0.038299083709717 sec
Sidebar: 0.061949014663696 sec