เมื่อผมกับ ดร.เม้ง คุยกันใหม่ๆ

3 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 3 กรกฏาคม 2009 เวลา 10:19 (เช้า) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1146

    ดร.เม้ง เขาเรียกผม “พี่บ่าว” และผมก็เรียกเขา “น้องบ่าว” จนชินแล้ว  เรารู้สึกใกล้ชิดกันมากทั้งๆที่จนบัดนี้ ยังไม่เคยเจอตัวเป็นๆกันเลย  นัดกินข้าวต้มก็หลายครั้ง แต่แห้วทุกที  และที่อยากบันทึกไว้ตรงนี้อีกเรื่องคือ  เมื่อคุณแม่ผมเสีย และผมแจ้งข่าวขึ้น Blog ที่ Gotoknow  โทรศัพท์แสดงความเสียใจสายแรกที่ผมได้รับเป็นโทรทางไกลจากเยอรมันครับ ก็จากน้องบ่าวสุดที่รัก ดร.เม้งคนเดียวกันนี่แหละ

    วันนี้ย้อนรอยไปอ่านบันทึกเก่าๆ  ได้พบกับข้อเขียน ความคิด ความเห็นที่เราแลกเปลี่ยนกันในระยะแรกๆ  จึงอยากนำมาตัดต่อและบันทึกไว้ให้เห็นง่ายๆที่ตรงนี้ครับ จะมีคุณค่าอย่างไร หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการมองของแต่ละคน  สำหรับผม มันมีค่ามากครับ .. ตอนนั้น ดร.เม้ง ยังเรียกผม “คุณ Handy” อยู่เลย

    เชิญติดตามครับ …

    จากบันทึกของผมเรื่อง “ เพิ่มความเร็วอย่างเหลือเชื่อ ในการคูณเลขสองหลักด้วย 11” ดร.เม้งมาเริ่มคุยด้วยการบอกว่า ..

  …

กราบสวัสดี คุณแฮนดี้ครับ

      ผมก็คนหนึ่งที่ชอบคณิตศาสตร์ครับ และรู้สึกดีครับ ที่มีการหยิบยกตัวอย่างทางคณิตศาสตร์ ซึ่งนำมาใช้ในประจำวันได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคณิตศาสตร์หรือภาษามันก็เป็นเรื่องเดียวกันทั้งสิ้น ล้วนมาจากสาขาปรัชญาทั้งสิ้น แต่พอเราเรียนลงลึกแล้วแยกสาขาลงไปจนเห็นความแตกต่างระหว่างสาขาที่แยกลงไปเลยกลับกลายไปว่ามีหลายๆ อย่างจนต้องชอบหรือไม่ชอบวิชาต่างๆตามมา จริงๆแล้วหากเรารู้ว่าในโลกนี้มีความรู้มากมาย แล้วที่เรียนมานำไปประยุกต์ใช้อย่างไร เรียนเรื่องนี้นำไปใช้ในส่วนใด แต่ละเรื่องเกี่ยวกับรอบตัวอย่างไร ก็จะเห็นความสำคัญขึ้นมาทำให้ตอนเรียนน่าสนใจ น่าติดตามและศึกษาก่อนที่อาจารย์สอนเพราะสนใจเป็นพิเศษ ดังนั้นหากเรามีคนแนะนำ โดยนำเข้าสู่บทเรียนโดยการสอนหรือหยิบยกอะไรบางอย่างให้เด็กเห็น เด็กๆ ก็จะจำเป็นภาพ เป็นการประยุกต์ การจำสิ่งรอบข้างทำให้เชื่อมโยงกับความคิดในบทเรียน นั่นคือเรื่องเดียวกัน

อย่างคณิตศาสตร์ แต่ละเรื่องแต่ละบทก็เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวเราทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าเราจะเชื่อมต่อมันเข้ากันได้อย่าง เพราะตอนนี้มันแปลงมาอยู่ในรูปสัญลักษณ์และสมการแล้ว ซึ่งหากเราอ่านสมการและสัญลักษณ์นั้นได้เข้าใจ ก็ไม่ต่างไรกับการอ่านบทความทางภาษาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์นั่นเอง และในทางกลับกันบทความทางภาษาศาสตร์หรือทางสัมคมศาสตร์ก็แปลงให้อยู่ในรูปคณิตศาสตร์ได้เช่นกันครับ

ผมอยากให้เด็กไทยอยากเรียนคณิตศาสตร์และก็ชอบภาษาและสังคมด้วย เพราะมันคือเรื่องเดียวกัน

ขอบคุณครับผม

สมพร

         จากนั้นผมก็ไปตอบแกว่า …

  • นาย สมพร ช่วยอารีย์ .. เป็นครั้งแรกที่ชื่อท่านมาปรากฏใน Blog นี้ หลังจากตามสะกดรอยไป บ้านของท่าน บอกได้ว่าประทับใจ โดนใจกับสิ่งที่นำเสนอครับ ข้อคิด ความเห็นข้างบนของท่านก็เห็นด้วยทุกประการ ส่วนที่ท่านว่า ..    นำเข้าสู่บทเรียนโดยการสอนหรือหยิบยกอะไรบางอย่างให้เด็กเห็น เด็กๆ ก็จะจำเป็นภาพ เป็นการประยุกต์ การจำสิ่งรอบข้างทำให้เชื่อมโยงกับความคิดในบทเรียน .. นั้น ผมถือเป็นเรื่องสำคัญมากเสมอ .. เพราะเชื่อว่าการเรียนรู้โดยปราศจากเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาได้อย่างไร .. ไม่น่าจะเป็นการเรียนรู้ที่ดี และไม่มีชีวิตชีวาครับ
  •        แล้ว ดร.เม้งก็มาต่ออีกครั้งว่า …

    สวัสดีครับ

           ผมก็เป็นนักคณิตศาสตร์ผสมกับคอมพิวเตอร์ รวมๆกัน เหมือนจะเป็นคณิตศาสตร์ประยุกต์ และทำวิจัยเกี่ยวกับการเกษตร ต้นไม้อะไรพวกนี้ครับ มันจะเป็นการงงของคนที่ถามคำถามอยู่เสมอว่า คณิตศาสตร์กับเกษตรมันเกี่ยวกันได้อย่างไร ไว้ผมจะค่อยเขียนไว้นะครับ ให้ลองหาความสัมพันธ์กันเล่นๆ ดูครับ ในบล็อก มิสเตอร์ช่วย นาย สมพร ช่วยอารีย์ ครับ ซึ่งจริงๆ แล้วคณิตศาสตร์เอาไปใช้ได้ทุกๆสาขาเลยครับ

         ขอบคุณครับ

            สมพร

             เรื่องต่างๆก็คืบหน้าไปจนเราได้คุยกันทั้งทาง Blog ทางโทรศัพท์ และทาง Skype ในบางครั้ง  และจนกระทั่งวันหนึ่งขณะผมกำลังขับรถอยู่แถววงศ์สว่าง  น้องบ่าวคนนี้ก็โทรทางไกลจากเยอรมันมาขออนุญาตใช้ชื่อ Blog “ลานปัญญา” ของผม ไปเปิด Web ที่ชื่อ lanpanya.com และผมได้ตอบ OK ไปด้วยความยินดียิ่ง .. ก็ ลานปัญญา ของพวกเรานี่แหละครับ

             ขอบคุณน้องบ่าว ดร.เม้ง มากครับ

      ….  อิ อิ อิ


    การบันทึกข้อมูลการทำงานเชิงช่างลงสมุดบันทึก

    1 ความคิดเห็น โดย handyman เมื่อ 1 กรกฏาคม 2009 เวลา 6:11 (เย็น) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
    อ่าน: 932

         ผมมีบุคคลที่ชื่นชอบและชื่นชมอยู่ในดวงใจมากมาย ทั้งไทยและเทศ  หนึ่งในจำนวนนั้นคือคุณ Glen  Williamson ซึ่งแอบชื่นชมและใช้ประโยชน์จากวิทยาทานของท่านมานับสิบปี  ท่านเป็นผู้ใหญ่ใจดี ที่มีจิตสาธารณะอันสูงยิ่งในความรู้สึกของผม  ประสบการณ์ที่กว้างขวาง ลุ่มลึก และมากมายในด้านวิศวกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับการแปรรูปให้เป็นของง่ายๆ สะดวกต่อการเรียนรู้ของมือใหม่ผ่าน Website ของท่าน  ส่วนมีอะไรน่าสนใจบ้างคงต้องลองเข้าไปดูเองครับ 

                                                                  

        สำหรับบันทึกนี้ตั้งใจจะถ่ายทอดคำชี้แนะของท่านผู้นี้ในเรื่อง การบันทึกข้อมูลเชิงช่างลงสมุดบันทึก  ขอนำต้นฉบับมาลงโดยไม่แปลนะครับ  เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา

      Keep a Contemporaneous Engineering Notebook. 

        That means, Write EVERYTHING Down, even include a dentist appointment; that’s what helps make it a believable Legal Document

         So keep the notebook up to date and have it Witnessed often by those whom you trust, and understand your work.

         This can mean the difference between Owning the Patent Rights to your Work, or NOT!  Also, it can jog the old memory and reduce the number of times you do the same tests. “…gee, have I already done that…”

           Of course, It Don’t Hurt  when Final Reports are Due!


         So Anticipate the Patent Application process: use a Legally and Scientifically Accepted Format. 

    Here’s How  :

    (1) Use a Bound (stitched binding) notebook. DO NOT use a loose leaf or Spiral bound notebook!

    (2) Entries Should be in Permanent InkNot Pencil.

    (3) The Title, Project Number, and Book Number should be accurately recorded when starting a New Page.

    (4) All data is to be recorded directly into the notebook. The inclusion of all elaborate details is preferable. Notes and calculations should be done in the notebook, NOT on loose paper. In the case of an error, draw a single line through the incorrect data. Do Not Erase or use correction fluid. All corrections should be initialed and dated.

    (5) After entering your data, sign and date all entries. Witness or witnesses should sign and date each entry. The witness must observe the work that is done, and have sufficient knowledge to understand what they read. Names of all who were present during any demonstration should also be recorded.

    (6) Use Both sides of a Page.
    Never leave any White Space: “X” out or Crosshatch all unused space, and don’t forget to initial & date same.  

    (7) All contents of the notebook should be kept strictly Confidential. It should be kept in a Protected place to safeguard against Loss.

           ผมถือปฏิบัติตามนี้อยู่บ้างครับ  และคิดว่าจะต้องทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีก  ที่ผ่านมามันไม่ค่อยจริงจังสักเท่าไหร่  ใครไม่เคยทำก็อยากให้ลองทำครับ  มีประโยชน์มาก

          ก่อนจบอดไม่ได้  ขอแถมอีกหน่อย เพื่อป็นการเชิดชูคนดีในดวงใจคนนี้ของผม

         ชื่อ :   Glen A. Williamson 

         Website : http://williamson-labs.com/

         ประสบการณ์-ผลงาน ความคิดอ่านมากมาย คลิกดูได้จาก Menu ในหน้า Homepage ครับ เช่น …

          เข้าไปดูเถอะครับ รับรองไม่ผิดหวัง



    Main: 0.072087049484253 sec
    Sidebar: 0.067304849624634 sec