ค้นด้วยส้นเท้า Learn not to think

8155 ความคิดเห็น โดย woraphat เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 เวลา 8:41 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 47218

คิดด้วยส้นเท้า

วันนี้ ขอนำเสนอ นิทาน ผมคิดได้เอง เมื่อกี้นี่เอง เลยรีบเขียนบันทึกมาฝาก พวกเรา พี่ๆน้องๆ เป็นเรื่อง ปัญญาสามฐาน คือ กาย ใจ และ คิด

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เศรษฐี ท่านหนึ่ง รวยมาก และ ก็คิดว่าตนเองฉลาดมาก แต่จริงๆแล้ว หารู้ไม่ว่า เป็น ความคิดแบบจิตไม่ว่าง กายไม่ผ่อนคลาย เป็นปัญญาเฉโก

วันหนึ่ง ออกไปสั่งงานลูกน้อง ซึ่งเรียนมาน้อย แต่จิตใจดี ขณะกำลังสั่งงานนั้น ลูกน้องก็นำเสนอไอเดียบางอย่างขึ้นมา ด้วยความซื่อๆ เจ้านายเศรษฐี ก็ จี๊ดขึ้นมา จิตเกิดอาการ แต่ ไม่รู้ตัวว่าจิตเกิดอาการ ร่างกานตึงเครียด เกร็ง แต่ ก็ไม่รู้ตัวว่า เมื่อจิตเกิดอาการ กายจะเกร็งๆ เศรษฐีจึง ด่าลูกน้อง ว่า “คิดโง่ๆแบบนี้ได้ไงเนี่ย เรื่องแค่นี้ เอาส้นเท้า (จริงๆ คือ ส้นตี..) คิดก็คิดได้แล้ว

ลูกน้อง เมื่อได้ยิน งงๆ แต่ก็ไม่ได้โกรธอะไร และ ด้วยความซื่อของเขา เขาก็เลย ออกไปคิดว่า ทำไงหนอ เอาส้นเท้าคิด

ในที่สุด ก็เลยคิดว่า เมื่อคิดไม่ออก เราควรปรึกษากัลยณมิตร ปรึกษาบัณฑิต ดังนั้น จึงไปกราบ พระเถระ ที่วัด

เมื่อเล่าเรื่องที่เศรษฐีให้ใช้ “ส้นเท้าคิด” ให้พระเถระฟัง ท่านก็อมยิ้ม และ สอนเรื่องปัญญาสามฐาน ท่านสอนว่า ปัญญาที่เกิดได้ที่ฐานกาย ฐานใจ และ ฐานคิด

เจ้าลอง เดินแบบหยุดคิด (เลิกใช้สมองคิด) แต่ให้ เอาความรู้สึก (sensing) ไปจับ ที่ความรู้สึกที่ส้นเท้า กระแทกพื้นแรงเบาหนัก ก็ตามรู้ เวทนาเจ็บ สบาย หนาวร้อน ก็ตามดู รู้ๆๆ ที่ ส้นเท้า เดินไปกลับไปมาที่ ทางเดินจงกรม ฝึกหยุดคิด (ด้วยสมอง) ก็จะรู้เอง ถ้ายังคิดด้วยสมองอยู่ก็จะไม่รู้

ด้วยความซื่อและศรัทธา ลูกน้องคนนั้น ก็เริ่มหัดเดิน จงกรม แบบสิ้นคิด (ฐานสมอง)

วันหนึ่ง เจ้านายเดินผ่านมา เห็นลูกน้องกำลังเดินกลับไปกลับมา ไม่รู้ว่านี่คือ จงกรม ท่านก็ถามว่า “ของหายหรือไง เดินไปมาอยู่ได้ เจ้าคิดบ้าๆอะไรอยู่หรือ” ลูกน้องก็ตอบว่า กำลังใช้ส้นเท้าคิดครับนาย” เจ้านายพอได้ยิน รีบใช้ปัญญาฐานคิดเฉโกทันที จึงโกรธจัด นึกว่า ลูกน้องลองดี ทะลึ่งมาใช้คำด่าว่า “ส้นเท้า” ก็เลย สั่งขับไล่ออกจากบ้านไป

ลูกน้อง ก็เลย ไปทำงานอยู่ที่วัดของท่านพระเถระ และ ก็ฝึกๆๆ ใช้ปัญญาฐานกาย

ด้วยการทำซ้ำๆๆๆๆ โดยไม่คิดมาก จนในที่สุด เกิดความรู้ (สติ) ที่ส้นเท้า จากส้นเท้าก็ ขยายไปรู้ (มีสติ)ไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกาย จนทั่วทั้งกาย รู้ที่ลมหายใจ รู้ทุกๆอิริยาบท นั่ง เดิน ยืน นอน เดินจงกรมหรือไม่เดินจงกรมก็ได้ทั้งนั้น & ;nbs p;

เขาฝึกๆๆๆ ซ้ำๆๆๆ ไม่ใช้สมองคิดมาก ตัดความคิดบ้าๆออกไป มุ่งเน้นอารมณ์เดียว อยู่ที่ ตัวรู้ ที่ฐานกาย

จากฐานกายเขาก็พัฒนาขึ้นไปค้นพบ ตัวรู้ที่ฐานใจได้ไม่ยาก รู้ว่ากายเป็นตัวฟ้องให้เรารู้ว่าจิตเป็นอย่างไร เมื่อฝึกๆ จนรู้เท่าทัน ฐานใจ ฐานกาย รู้ว่า หากกายใจไม่ปกติ ความคิดต่างๆเป็นเฉโก ดังนั้น ไม่ต้องคิด ไม่ต้องคิดด้วยฐานสมอง ย้อนลงมาสร้างตัวรู้ๆๆๆ ที่ฐานกาย ฐานใจ

ในที่สุด ก็ ปิ๊งๆๆๆๆ ได้ปัญญาฐานคิดที่แท้จริง คือ คิดเมื่อจิตว่าง ซึ่งการที่เราจะรู้ว่าจิตว่างหรือไม่ ก็ให้ดู (มีสติ)ที่ร่างกาย

ฝึกจนตัวรู้(สติ) จากน้อยๆ ในที่สุด เป็นสติมากๆ เป็นมหาสติ สติติดเนื้อติดตัวอย่าง เป็นอัตโนมัติ ในที่สุด หลายปีผ่านไป ท่านได้เป็น พระเถระ ที่มีชื่อเสียง และ ยังนึก ขอบคุณเสมอว่า คิดด้วยส้นเท้านี่ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีจังหนอ

วันหนึ่ง เศรษฐีทำธุรกิจผิดพลาด เครียดจัด จึงมาที่วัดแห่งนี้ มาเจอพระเถระ แต่ เศรษฐีก็จำไม่ได้ว่าเคยทำงานที่บ้านท่านมาก่อน

ท่านก็ถามว่า จะแก้ปัญหา อย่างไรดี พระเถระ ก็ตอบว่า “เรื่องง่ายๆแค่นี้ ลองเอาส้นเท้าคิดดูสิ

นิทานสร้างเอง เรื่องนี้ สอนให้เรารู้อะไรบ้าง รู้สึกอย่างไรบ้าง และ สติอยู่ที่ไหน

เราโดนฝึกมาให้ คิดก่อนพูด แต่ จริงๆแล้ว ควรจะเป็น มีสติ ดูกาย ดูใจ ว่าปกติไหม แล้วค่อยคิด ค่อยพูด พวกเราโดนสั่งสอน ให้เริ่ม จาก เฉโก ก่อนเสมอ จึงได้ทะเลาะกันเรื่อยๆ เรื่องน่ารัก เล็กๆน้อยๆ ก็งอนกันได้ ลองดูนะ กลับไปเริ่มใช้ “ส้นเท้า” คิดดูบ้างนะ สาธุ



ตบจิต ดับความคิด ทำจิตให้ผ่องใส

3492 ความคิดเห็น โดย woraphat เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 เวลา 22:59 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 14746

http://www.managerroom.com/forums/forum_posts.asp?TID=8029

วันนี้ ได้ บทเรียน มาแลกเปลี่ยนแบ่งปัน

ปกติ ผมคุมอารมณ์ ได้ดีไม่ให้ ร้องไห้นะ   แต่ งานนี้ หลวงปู่ สอ พันธุโล
ท่านเหมือนพ่อแม่ของพวกเรา ท่านหนึ่ง

การเปลี่ยนแปลงที่ กาย   จาก กลางอก  ขมคอ วิ่งกระฉูด มาถึงใต้คาง …. ทั้งๆ
ที่รู้ตัว ว่า กายกำลังฟ้องว่าจิตเกิดอาการ    ก็ต้อง “ตบดับ”  ลง    ไม่อิน   …  แต่ ก็ แรงน่าดู  

หันไปคิดเรื่องอื่น  เพื่อคลายจิต ได้ไม่กี่วินาที เจ้า ความคิดถึง หลวงปู่ ฯ  ก็ แว่บมาอีก  จิตเกิดอาการอีก   ก็ต้อง ข่ม ดับ ตบ   อีก ….   เผลอทไร  แว่บมาทุกที    ต้อง ดับคิดเมื่อจิตเกิด  หันไป เล่นกับฐานกาย  เคลื่อนไหวมือ  ท่า
ฝ่ามือเมฆ   ท่าเผิงซ้าย ขวา  ฯลฯ

ไม่ยอม ให้จิตตกร่องเศร้าโศก   

ถึงตอนที่ กำลังพิมพ์โพสต์อยู่นี้   ความคิด ก็แว่บ มาชวนร้องไห้ เป็นระยะ ๆ    ก็ต้อง ตบๆ  ….  เปลี่ยนความคิด  โยกย้ายเรื่องคิด   … หนีไป สร้างกำลังสติ  ไปที่ฐานกาย   รู้ๆๆๆ ให้ชัดๆ  ที่นิ้ว แตะ Keyboard (แป้นคอม)  หายใจลึกๆ  เผิงๆๆๆๆ

***************


(บน)   ขอยก  คำสอน ของ  หลวงปู่ชา

 ผมถ่ายไว้  ที่วัดหนองป่าพง     …เมื่อเช้านี้เอง 


หลวงปู่สอ ละสังขาร

3791 ความคิดเห็น โดย woraphat เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009 เวลา 21:09 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 30217

นะมโม (๓จบ)

ขอกราบแทบเท้า พ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่สอ พันธุโล

ขอกราบขอบพระคุณ ในเมตตา กรุณา มุทตา อุเบกขา ที่ หลวงปู่ฯ มีต่อ ข้าพเจ้าและ ครอบครัว เป็นอย่างยิ่งยวด

หลวงปู่ จากไปเพียงแต่ ร่างกาย เท่านั้น

ด้วยความเคารพรักอย่างสูงยิ่ง

ดร วรภัทร์ ภู่เจริญ  และครอบครัว ขอ กราบ กราบ กราบ


เฉโก ปัญญาเจืออัตตา

21968 ความคิดเห็น โดย woraphat เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2009 เวลา 20:47 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 113001

บทความ สำหรับ ลง วารสาร Productivity world เดือนหน้า เอามาให้อ่านเล่นๆ ก่อน

สติปัญญา 3 ฐาน


คราวนี้ ผมมีเรื่องน่าสนใจจะนำเสนอ คือผมกำลังจะเรียนท่านผู้อ่านว่า การเรียนรู้ของเรา สามารถเพิ่มได้อีก จากเดิมที่พวกเราเคยใช้ ปัญญา จาก ฐานคิด คือ ใช้ สมอง เอาแต่คิดๆๆๆ จนหลายท่านปวดหัว เครียด ป่วย เป็นไมเกรน ไปจนถึง มะเร็งได้นั้น

จริงๆแล้ว ยังมี สติปัญญาอีก ตั้ง 3 แบบ หรืออีก 3 ฐาน ที่พวกเรา ละเลย ไม่ได้ฝึกปรือ เนื่องจาก ระบบการศึกษาในโลกนี้ มักพาพวกเรา ไปใช้ ปัญญา ที่ขาดสติ เป็นปัญญาแบบโลก ๆ เป็นปัญญา “เฉโก” คือ ปัญญาที่ปนกิเลส ปัญญาที่ขาดสติที่ถูกต้อง ปัญญาที่ยังเจือตัวกูของกู โลกถึงได้วุ่นวาย    แต่ก็เป็นโจทย์ให้เราได้ฝึกสร้างบารมี อดทน อดกลั้น ขันติ ฯลฯ อย่างทุกวันนี้

เรื่องของปัญญานั้น ถ้า ตามฝรั่ง ก็ คงมีการศึกษากันมากมาย แต่ ที่ผม ชอบใช้ บ่อยๆ คือ เรื่อง ปัญญา 3 ฐาน คือ ฐานกาย ฐานใจ และ ฐานคิด แต่ที่น่าสังเกต คือ ฝรั่ง รู้จึกปัญญา แต่ ตัว “สติ” ไม่ค่อยจะได้ศึกษา แบบจริงๆจัง

ผลงานวิจัยทางด้านปัญญานั้น ฝรั่งค้นคว้ามาก แต่ ด้านสติปัญญา ยังมีน้อยมาก ในขณะที่ ผู้มุ่งนิพพาน และ พระอริยเจ้าในประเทศไทย ท่าน ศึกษาเรื่องสติปัญญา กันอย่างขมักเขม้น เอาชีวิตเข้าแลก แต่ คนไทยทั่วไป แย่ กว่าฝรั่งอีก คือ ผลงานวิจัยทั้วด้านสติ และ ด้านปัญญา ไม่ค่อยจะทำกัน หมดเวลา ไปกับด้าน “เฉโก” เสียมากกว่า


ปัญญา 3 ฐาน

1) ฐานกาย

    การเรียนรู้จากฐานกาย เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญมากๆ จนถึงสำคัญที่สุดในการฝึก แต่ พวกเรา มองข้ามไป

    ตอนที่คนเรา ยังเป็นเด็กๆ อายุไม่เกิน สัก ๗ ขวบนั้น เรายังไม่เฉโกมากนัก กิเลสมีน้อย เพิ่งจะมีนิ้ว มีขา ให้ใช้ เราก็เพลินเพลิน กับ อวัยวะที่เป็นระยงค์นี้ หยิบจับ เดิน วิ่ง ฯลฯ

    เราเรียนรู้ ทักษะ ของการใช้ร่างกาย นี่เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญมากๆ เพราะ เมื่อโตขึ้น การเรียนรู้ ของฐานกายนี้ จะนำ ไปสู่ การฝึกสติ และ เมื่อ “สติมาปัญญาเกิด” เราจึงต้องสร้างสติให้ได้ก่อน โดยสติจะสร้างได้ ที่ ฐานกายนี้ ง่ายที่สุด

    ฐานกายเป็นบันไดก้าวแรก ก่อนที่จะไปฝึก สติขั้นยากกว่า คือ เวทนา จิต และ ธรรม

    การเรียนรู้ที่ฐานกาย ในผู้ใหญ่หลายๆคน ทำได้ยาก จนกว่าจะได้รับการแนะนำและฝึกฝนที่ถูกต้อง ทำซ้ำๆๆๆ จนเป็นนิสัย

    การเรียนรู้ ที่ ฐานกาย เช่น ถ้าเราจุดเทียนไว้ ลองยื่นมือ ออกไปบีบเปลวเทียน เพื่อที่จะดับเทียน ลองทำดูสิ

    ในการทำ workshop แค่ ผมบอกว่า ให้ยื่นมืออกไปดับเทียนด้วย ปลายนิ้วทั้งสองสิ หลายท่าน คิดทันที ปรุงแต่งทันที ดึงความทรงจำ สัญญาต่างๆ เงื่อนไขต่างๆ ออกมาเพียบเลย จะ ชะงักนิดหนึ่ง ผม ก็จะถามว่า ก่อนจะชะงัก มี เสียงภายใน (inner voice) ใด ผุดขึ้นมาบ้าง

    เจ้าเสียงภายใน ก็คือ ความคิดต่างๆจากฐานคิดนั่นเอง ผุดขึ้นมา เป็น พวก “เฉโก” เสียส่วนมาก

    เราโดนระบบการศึกษา สอนให้ คิดๆๆๆๆๆ จนลืม sensing หรือ รู้ด้วยความรู้สึกของกาย ของผิวหนัง ของการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ลมหายใจที่เปลี่ยนไป ฯลฯ

    เราลืมสังเกต ๆๆๆๆ ร่างกาย กล้ามเนื้อ ลมหายใจของเราว่า ตอนปกติ ผ่อนคลาย เป็นอย่างไร ตอนผิดปกติ ไม่ผ่อนคลาย เกร็ง เป็นอย่างไร ซึ่ง ความผิดปกติของกายนี่เอง ที่เป็นตัวฟ้องว่า จิตของเราผิดปกติ ดังนั้น ปัญญาของเรา เฉโก แน่นอน ปัญญาที่ไม่เฉโก จะออกมาตอนที่ จิตปกติ

    ลองยกมือและยกแขนของท่านขึ้น ช้าๆ ยกข้างไหนก็ได้

    ลองสังเกต ว่ามี ปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้น กับ อวัยวะแขน มือ และ นิ้วข้างที่ยกขึ้นนี้บ้าง ให้ใช้ ความรู้สึกจริงๆ และ อย่าคิดเอง เออเอง อย่าเอาฐานคิดมาปนกับฐานกายในคราวนี้นะครับ

    คนโบราณ ให้ความสำคัญกับ ปัญญาฐานกายเยอะมาก

    แม้แต่การเรียนรู้ก็ใช้เพื่อการ “บ่มเพาะ” ปัญญาฐานกาย เพราะ จะสืบเนื่องต่อไปที่ฐานใจ และ ฐานคิดในที่สุด แต่ ระบบการศึกษายุคอุตสาหกรรม เน้นฐานกาย บนความไม่รู้ฐานใจและฐานกาย ผลออกมาคือ เป็น ปัญญาเฉโก เสียส่วนมาก เป็น ฐานคิดที่วิปริต เป็นฐานคิดที่จิตไม่ปกติ

    กิจกรรมง่ายๆ เช่น หั่นผัก ช่วยพ่อแม่ทำงานในครัว ก็ต้องใช้ สติ หรือ รู้ถึงฐานกาย ที่ใช้ในการ จับมีด มีสมาธิในการหั่นๆๆ ยิ่งศิลปะของไทย ละเอียดอ่อน ยิ่งยืนยัน ถึง การใช้ สติปัญญาจากฐานกายมากๆ

    พวกเราลอง ย้อนตนเอง กลับไป แกะสลักผักและผลไม้ดูนะครับ ฝึก การ “ไม่คิด” ได้เยอะเลย สร้างตัวรู้ หรือ สติ อยู่ที่ การหั่น แกะสลัก และ ทำจิตสบายๆ ผ่อนคลาย

    กิจกรรมการเล่น เช่น ยืนบนกะลา 2 ใบ ที่มีเชือกผูกให้ติดกัน จากนั้นใช้กะลาแทนรองเท้า เดินๆๆ การเล่นลาวกระทบไม้ การเล่นสะบ้า ฯลฯ ก็ล้วนแต่จะต้องใช้ปัญญาฐานกาย

    การรำไทย หรือ แม้แต่มวยไทย ก็เป็นการฝึกสติ ที่ดีมากๆ การเล่นโขน การรำมโนราห์ นั้น ใช้เป็นเครื่องมือ สร้างกำลังสติ ได้ดีมากๆ ใช้ ฐานกายมาก

    การเล่นโยคะ การรำมวยจีน (Tai Chi) ก็เป็นการฝึก ฐานกาย ใจ และ คิด ไปพร้อมๆกัน ยิงปืนนัดเดียวได้ นก 3 ตัว

    ทั้งโยคะ รำกระบอง และ รำมวยจีน ดูจะช้าๆ แต่ ก็เป็นการฝึก “ช้าให้เป็น” สร้างสมาธิ และ สติปัญญาได้ดีมาก ไม่เน้นแพ้ชนะ เพราะ แข่งกับตนเอง พัฒนา หรือ ภาวนาไปในตัวได้เลย

    กีฬาของฝรั่งส่วนมาก ค่อนข้างแพง ห่างเหินครอบครัว เดินทางไกลออกจากบ้าน อุปกรณ์เป็นของต่างประเทศ เน้นไม่ครบทุกกล้ามเนื้อ เน้นชัยชนะส่วนตัวหรือทีม และที่สำคัญที่สุด คือ “รวดเร็วเกินไป” เร็วเกินกว่า ที่จะ “รู้” ตัวทั่วพร้อม เป็นทักษะ ที่ดี แต่ ไม่ดีที่สุด เพราะ ไม่เน้นเรื่องการ sensing ฐานกาย ใจ และ คิด นั่นเอง จึงทำให้ ขาดการพัฒนา ( พัฒนา ก็คือ ภาวนา และ ภาวนา คือ การยกระดับจิตใจ)

    กีฬาฝรั่ง ที่ฝึกสติได้ดี ก็มี เช่น วิ่งมาราธอน ว่ายน้ำ ฯลฯ ซึ่งใช้เงินไม่มาก หรือ ถ้ามีเงิน ก็พวก ยิงปืน ยิงธนู ยิมนาสติก ขี่ม้า เรือใบ กอล์ฟ ฯลฯ ก็ได้ ต้องใช้สมาธิดีๆ ซึ่งใครจะเลือกเล่นอะไรก็แล้วแต่ กำลังทรัพย์ และ เวลาของพวกเรา ขอให้เล่นเถอะ

    พวกเราก็จงอย่าได้ทอดทิ้งการออกกำลังกายเลย ฐานกายไม่ดี ฐานใจก็แย่ เมื่อฐานใจแย่ เข้าสู่ปัญญา “เฉโก” แน่นอน

    2 ) ฐานใจ

      การเรียนรู้ จากฐานใจ เป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับ อารมณ์ ค่อนข้างเป็นเรื่องของจิตใจ เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ แต่ “รู้สึก” (sensing) ได้

      พวกที่ ผ่านการศึกษาในยุคอุตสหกรรม จะ ขาดการพัฒนา สติปัญญาฐานใจ เป็นอย่างมาก เพราะ กระโดดข้าม ไป เน้น ฐานคิด (แบบเฉโก ซะมากกว่า)

      พวกที่เรียนมาทางสายเทคโนโลยี เช่น วิศวะ วิทยา คอม ฯ จะขาดการพัฒนาเรื่องฐานใจ และ ไม่มี ข้อสอบให้วัด ไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมซะด้วย เช่น เดียวกับ พวกที่เรียนมาทางสาย นิติ บัญชี ฯลฯ กล่าวคือ หลักสูตรในยุคอุตสาหกรรม ได้สร้าง บัณฑิต “รู้ลึก โง่กว้าง” ออกมามากมาย

      พวกเขาหลายคน โชคร้าย ที่จนป่านนี้แล้ว ยังไม่รู้ตัวเลยว่า ตนเองนั้น ขาดสติปัญญาฐานใจ บางคนตำแหน่งใหญ่โต เป็น CEO ครอบครัวก็ดี อายุก็มาก ฐานะก็ดี แต่ ไม่ฝึกฐานใจมาก่อนเลย สร้างผลงานมากมาย แต่ เป็นผลงานเฉโก “งานได้ผล คนเสียหาย” “เจริญทางวัตถุแต่เสื่อมทรามทางจิตใจ”

      เมื่อใกล้ตาย ก็จะ ใช้ปัญญาเฉโก วุ่นวายไปหมด โดยคาดไม่ถึงว่า จิตสุดท้ายก่อนตายสำคัญมากๆ ไม่ใช้ “ความคิดก่อนตาย”นะ      มันคนละเรื่องเลย   เพราะ  “จิต กับ ความคิด เป็นคนละตัวกัน”

      หลักสูตร การศึกษาของเราได้ทำลายวิชาทางศิลปะ ซึ่งเป็นพื้นฐานการ “บ่มเพาะ” ปัญญาฐานใจ

      เช่นเดียวกับ การทอดทิ้ง กิจกรรมด้านจิตอาสา บำเพ็ญประโยชน์ ออกไปจากกิจกรรมของเด็กๆ เปลี่ยนเป็น ฉุดกระชากลากไปปฏิบัติธรรม บังคับไปนั่งสมาธิ จัดงานทางศาสนาเพื่อเอาไปเป็นตัวเลขทาง KPI ไปให้คนตรวจประเมินดู ฯลฯ

      ซึ่งดูแล้ว โหดต่อเด็ก และ คนจัดกิจกรรม เป็นผู้ใหญ่ ที่ขาดเมตตา ไม่เข้าใจจิตใจเด็กๆ อาจจะเป็นเพราะ เป็นผู้ใหญ่ ที่มาจาก ระบบการศึกษายุคอุตสหกรรม ไม่มีฐานกาย ไม่มีฐานใจ และ ใช้ปัญญาเฉโก ไมได้ใช้ปัญญาฐานคิดที่เป็นปัญญาจริงๆ

      ลองสังเกต เจ้านายของเรา ที่ ขาด “ศิลปะ” ดู เราจะเห็น ลักษณะต่างๆ ที่ประหลาดๆ เช่น งกๆ เค็มๆ โหดๆ เอาแต่ได้ เร่งรีบ กดดัน ห้วนๆ ตรงๆ เหินห่าง รังเกียจ อคติ ลำเอียง ฯลฯ สังเกตได้จากพวกเขาได้ไม่ยากนัก

      พวกเขา ขาดความละเอียดอ่อนในการนำระบบบริหารต่างๆมาใช้    พวกเขาไม่ค่อยจะเข้าใจเรื่อง Happy workplace มากนัก หรือ แกล้งเป็นวางมาดว่าเข้าใจ ยิ่งเรื่อง ความเป็นมนุษย์ (Humanized) ก็ดูจะเป็นเรื่องยากมากๆ  สำหรับ ผู้บริหารที่ขาด ฐานใจ

      ศิลปะ เป็นพื้นฐานของการให้เราฝึกสังเกตใจของเรา ซึ่งจิตผิดปกติ กายก็จะผิดปกติตามๆกันไป ดังนั้น จงฝึกฐานกายให้ชำนาญเสียก่อน จะเข้าใจฐานใจได้ดีกว่า

      คนโบราณ นอกจากจะ เก่งฐานกายแล้ว เรื่อง ฐานใจ ก็ฝึกกันตลอดมา แม้นว่า มวยไทย จะดูก้าวร้าว แต่ นั่นก็เป็นเพราะ เป็นมวยยุคเฉโก หรือ ยุคเร่งรีบ แต่ มวยไทยโบราณ เป็นศิลปะ ไม่ใช่ เอาไว้หาเงินอย่างทุกวันนี้ มวยไทยที่ถูกต้อง ยิ่งฝึก ยิ่งสุภาพ ยิ่งมีสมาธิ ยิ่งภาวนา (พัฒนา) จิตใจ

      มวยจีน กระบี่ กระบอง ของจีน หรือ ยูโด ก็ฝึกฐานกาย และ มีความเป็นศิลปะ เพื่อพัฒนา (ภาวนา) ด้านจิตใจ เมื่อ กายผ่อนคลาย จิตสดใจ ปัญญาก็จะไหลออกมา

      คนเรียนมวยจีน จะรู้จัก คำว่า จิง (Jing) ชี่ (Chi) เสิน (Shen) คือ ทั้งฐานกาย ใจ และ คิด ส่งเสริม พึ่งพา บ่มเพาะ ซึ่งกันและกัน

      แต่ ระบบการศึกษายุคอุตสาหกรรม ฐานกายและใจ ล้มเหลว คว่ำลง เป็นเฉโก ไม่ใช่ ฐานคิดเสียด้วยซ้ำไป

      ตราบใด ที่ คนในวงการอุตสหกรรม ธุรกิจ ข้าราชการ ยังเป็นคนที่ ใช้ ปัญญาได้ไม่ครบ 3 ฐาน ก็ยากที่จะปฏิรูประบบการศึกษา เพราะ คนเหล่านี้ ผ่านระบบการศึกษาอุตสหกรรมมา ยังคิดแบบเดิมๆ คิดแบบแผ่นเสียงตกร่อง คิดในร่องความคิดเดิมๆ จึงยากมากที่ ท่านเหล่านี้จะเข้าใจและเปลี่ยนแปลง

      อย่างไรก็ตาม พวกฝรั่ง และญี่ปุ่น มากมาย หันมาสนใจ เรื่องปัญญา 3 ฐานอย่างจริงจังแล้ว หลายๆองค์กร เลิกให้ความไว้วางใจ “บัณฑิต” จากการศึกษาในระบบแล้ว

      เริ่มมองว่า พวกอาจารย์ ไม่มีทางปฏิรูปตัวอาจารย์เองได้ เขา “ไม่ไว้ใจการศึกษาไทย” ดังนั้น ในการคัดเลือกพนักงานใหม่ พวกเขา เริ่ม ไม่สนใจปริญญา เกรด สถาบัน วุฒิ อีกแล้ว เพราะ เป็น พวกเรียนเก่งแบบเฉโก เป็นพวก ฐานกาย ฐานใจ บกพร่อง

      หลายๆองค์กร คัดเลือกที่ ฐานกาย ฐานใจ และ ฐานคิด โดยใช้ การสนทนาสร้างปัญญา (Dialogue) เป็นเครื่องมือในการประเมิน โดยยอมใช้เวลานานหลายเดือน คุยกันหลายรอบ ทำกิจกรรมร่วมกันมากๆ ลองฝึกงานกันมาก

      บางแห่ง ฝึกตั้งแต่ ปีสาม (มหาวิทยาลัย) เพื่อจะดู พฤติกรรม (Key Behavior Indicator) มากกว่า เกรด สถาบัน วุฒิ ปริญญา

      วันสัมภาษณ์ เป็นวันที่ คนๆหนึ่งจะต้องโกหกได้เนียนที่สุด และ การที่เราเอาคนปัญญาไม่ครบ 3 ฐานไปสัมภาษณ์ ย่อมได้ คนแบบขาดๆ เช่นเดียวกันเข้ามาในองค์กร

      นอกจากนี้ หลายๆองค์กร ก็สร้าง ผู้เรียนเองในองค์กร เป็นมหาวิทยาลัยชีวิต ในชุมชนเอง ก็เอือมพวกการศึกษาในระบบ ที่คิดมาก เฉโกซะมาก พวกเขา สร้าง มหาวิทยาลัยบ้านนอก หมาวิทยาลับชุมชนของเขาเอง ลูกหลานของเขาจะได้ไม่ต้องโดน อาจารย์หัวการค้า หลอกไปมอมเมาด้วย “ปัญญาเฉโก” จ่ายเงินมากมาย ให้ กระดาษมาใบหนึ่ง ทอดทิ้งชุมชน ฟุ้งเฟื้ออีกต่างหาก นี่แหละ พวกเขาปฏิรูปตนเอง ไม่ต้องรอ พวกเฉโก มาปฏิรูปให้

      อ่านมาถึงตรงนี้ พวก HR (ฝ่ายบุคคล) ตาสว่างหรือยัง

      3) ปัญญาฐานคิด

        เป็นปัญญา ที่เกิดตอนที่ จิตว่างๆ ซึ่งเราจะรู้ว่าจิตว่างได้ ก็ด้วยการรู้ว่ากายผ่อนคลายไหม คนที่ฝึก ฐานใจ และ กายมาแล้ว จะ ใช้ ฐานคิดได้ถูกต้อง

        แต่ คนในระบบการศึกษายุคอุตสาหกรรม จะ เป็นพวก ฐานคิดปลอมๆ คิดตอนจิตไม่ว่าง คิดตอนกายไม่ผ่อนคลาย คนพิการทางกาย ก็ผ่อนคลายกายได้นะครับ กายเจ็บแต่ใจไม่เจ็บ ก็ผ่อนคลายได้เช่นกัน

        ปัญญาฐานคิด หรือ ปัญญาที่แท้จริง จะปราศจากตัวกู ของกู นี่เป็น สิ่งที่ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านสอนไว้

        ปัญญาฐานคิด จึง ไม่ใช่ แค่ อยู่รอด แต่ หมาย ถึง อยู่ร่วมและอยู่อย่างมีความหมายด้วย

        พวกเฉโก มัก จะเข้าโหมดเอาตัวรอด เต็มไปด้วย ความกลัว กอบโกย ห่วงอนาคตตนเองและลูกหลานจะลำบาก เห็นโอกาสโกงได้ก็โกง

        ระบบการศึกษาเฉโก สร้าง CEO แบบเฉโก ออกมามากมาย เต็มบ้านเต็มเมือง และ เราก็จะไปสอนพวกเขาได้ยาก แก้ไขพวกเขายาก และ เราเองก็ยังเฉโกอยู่เช่นกัน

        ดังนั้น แทนที่เราจะไปเกลียดพวกเขา โกรธพวกเขา เราต้องเอา พฤติกรรมของพวกเขา มาเป็นโอกาสในการฝึกสติปัญญาของพวกเรา เอามาดูจิต ดูกาย ของพวกเรา

        ต้องขอบคุณพวก CEO เฉโกว่า เป็น อาจารย์สอนธรรมะพวกเราได้เป็นอย่างดี

        คำว่า เฉโก นี้ ท่านพระอาจารย์พุทธทาส แปลไม่ตรงกับ พจนานุกรรมนะครับ ในพจนานุกรรม แปลว่า เป็นความคิดแบบโกงๆ เจ้าเล่ห์ ฉลาดแกมโกง เฉไปเฉมา ฯลฯ และ ผมก็เชื่อท่านมากกว่าพจนานุกรม

        “เฉโก” เป็นความคิดตอนจิตไม่ว่าง คิดตอนจิตเกิดอาการ เป็นได้ทั้งโลภ โกรธ หลง เป็น แบบติดดี หรือ “เมาบุญ” ก็ได้ เป็นแบบไม่โกงก็ได้ เป็นความคิดที่เจืออคติ เจือลำเอียง ไม่มีความเป็นกลางของจิตในความคิดนั้นๆ เป็นความคิดแบบฟุ้งซ่าน กังวล แค้น เบื่อหน่าย เซ็ง ฯลฯ ก็ได้ ไม่ใช่ แค่ เจ้าเล่ห์ โกง แต่ อย่างเดียว

        อ่านมาถึงตรงนี้ ผมว่า จะมีสักกี่คน ที่มาถึงฐานคิดได้นะ ดูๆแล้ว หาได้ยากมากๆเลย ที่จะฝึกมาถึงฐานคิด

        พวกเรา โดนระบบการศึกษายุคอุตสหกรรม หลอกเสียโง่มานาน เป็นกบในกะลา เชื่อตนเองจนโง่ ขาดคุรุ ( คุรุ คือ ผู้ที่เข้าถึงสัจธรรมในศาสตร์นั้นๆของตน  ไม่ใช่ ครูอาจารย์ แบบที่เป็น นักส่งผ่านข้อมูล หรือ ความรู้มือสอง) หรือบัณฑิตชี้ทาง (บัณฑิต คือ ผู้ชี้ทางนิพพาน  ไม่ใช่ ผู้จบปริญญา อย่างที่ วงการศึกษา เอาคำๆนี้ ทำทำให้เฉโกไป)

        ท่านกฤษณมูรติ  ได้กว่าวไว้ว่า  พวกเรายุคนี้ ยิ่งเรียนยิ่งมีพันธนาการ ยิ่งตกเป็นทาสทางวัตถุ ยิ่งเรียนยิ่งเต็มไปด้วยกิเลส หลงโง่ โดนโฆษณา โดนสื่อเฉโกหลอกได้เรื่อยๆ ยิ่งเรียนยิ่งไม่หลุดพ้น ยิ่งเรียนยิ่งทำลายร้างโลก

        รู้ลึกโง่กว้าง ฉลาดทางโลกโง่ทางธรรม ยิ่งแก่ยิ่งไม่น่ารัก ยิ่งตำแหน่งสูงยิ่งขาดเมตตา อารมณ์ดีแต่เข้าข้างกิเลส (พวกขี้เมา พวกบ้ากาม) ฯลฯ

        ถ้ามีโอกาส ก็อย่าลืม หาครูบาอาจารย์ ถอยไปฝึก ฐานกายบ้างนะ เดินจงกรม ทำสมาธิ วิปัสสนา บ้างนะ



        Main: 0.10191512107849 sec
        Sidebar: 0.020098924636841 sec