ลานอิสระ

4 มิถุนายน 2009

ประเพณีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่

Filed under: ไม่ได้จัดหมวดหมู่ — nuaor @ 12:27 (เย็น)

ประวัติย่อ

นครเชียงใหม่ สร้างขึ้นโดยพญามังรายมหาราช พร้อมกับเสนาอำมาตย์ ทวยราษฎร์ ทั้งหลาย ซึ่งมีพญารามคำแหงมหาราชแห่งนครสูโขทัยและพญางำเมือง แห่งนครพะเยา ผู้เป้นพระปิยสหาย ให้คำปรึกษา นครนี้สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1838 - 1839 ขนานนามว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เป็นราชธานีแห่งอาณาจักรล้านนาไทยในอดีต และเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมและเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญในภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน

การสืบชะตา

ความเชื่อแต่โบราณว่า การเกิดเมืองหรือการสร้างเมืองนั้น สร้างตามฤกษ์ยามที่เป็นมหามงคลตบะ เดชะ เหมือนกับการเกิดของประชาชนที่มีความสุข ความสุขสมหวัง และบางครั้งก็เสื่อมโทรมอับเฉา เศร้าหมองนานัปการ เมื่อประสบกับสิ่งเหล่านั้นชาวล้านนาไทยมีความเชื่อว่า หากได้ทำบุญสืบชะตาจะช่วยให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้นเหมือนเดิมหรือยีงกว่า จึงปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน

สืบชะตา คือ อะไร

สืบชะตา ได้แก่ การสืบการเกิด , สืบอายุ , สืบชีวิต ให้ยืนยาวออกไปนานเท่านาน ผู้ใดปรารถนาจะมีอายุยืนต้องประกอบพิธีสืบชะตาเสมอ จึงจะมีความสุขสวัสดี

ประเพณีสืบชะตาเมือง

นับแต่สร้างนครเชียงใหม่ พ.ศ. 1839 เป็นต้นมา ชาวเมืองมีพระมหากษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครเป็นประธานจัดพิธีสืบชะตาเมือง อันเป็นพระราชพิธีต่ออายุเมืองให้ยืนยงอยู่ และสร้างความสุขสมบูรณ์แก่อาณาประชาราฎร์ทั้งมวล จะทำพิธีบูชาหรือไหว้เสาอินทขิล คือ เสาหลักเมือง ในปลายเดือน 8 เหนือ เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ไปเสร็จสิ้นเดือน 9 เหนือ เรียนว่า “8 เข้า 9 ออก” หมายถึง เข้าพิธีและออกพิธีในระหว่างปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน ของทุกปี

สถานที่ทำพิธี

นิยมทำพิธี ณ บริเวณกลางใจเมือง ประตูเมือง และแจ่งเมือง หรือมุมเมือง จำนวน 10 แห่ง ประกอบด้วย กลางเวียง , ประตูช้างเผือก , ประตูเชียงเรือก หรือท่าแพ ,ประตูเชียงใหม่ , ประตูแสนปุงหรือสวนปรุง , ประตูสวนดอก ,แจ่งศรีภูมิ , แจ่งก๊ะต๊ำ , แจ่งกู่เรือง , แจ่งหัวลิน จำนวนพระสงฆ์กลางเวียง 9 รูป นอกนั้น 11 รูป รวมเป็น 108 รูป อันเป็นเครื่องหมายแห่งมงคล 108 ในศาสนาพราหมณ์ ส่วนศาสนาพุทธ หมายถึง พระพุทธคุณ 56 พระธรรมคุณ 38 พระสังฆคุณ  14 รวม 108 เช่นเดียวกัน

ประตูสวนดอก

ประตูสวนดอกสร้างในรัชสมัยพญามังราย เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 1839 ด้านนอกของประตูนี้เดิมเป็นสวนดอกไม้ของพญากือนา เมื่อ พ.ศ. 1914 พระองค์สร้างวัดขึ้นในบริเวณสวนดอกไม้ เรียกว่า วัดสวนดอกประตูนี้จึงเรียกว่า ประตูสวนดอก ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละประมาณ พ.ศ. 2344 และสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งระหว่าง ศ. 2509 - 2512

 

 

Post to Twitter Post to Plurk Post to Yahoo Buzz Post to Delicious Post to Digg Post to Facebook Post to MySpace Post to Ping.fm Post to Reddit Post to StumbleUpon

2 ความคิดเห็น »

  1. น่าสนใจมากครับ
    อยากฟังอีกๆๆๆ อิอิ

    ความคิดเห็น โดย จอมป่วน — 4 มิถุนายน 2009 @ 3:10 (เย็น)

  2. ท่านอาจารย์ มณี พยอมยงค์ เป็นผู้ทำพิธีหรือเปล่าครับ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมของเมืองล้านนา ผมมีบุญได้เรียนพร้อมกับท่าน ระลึกถึงท่านครับ

    ความคิดเห็น โดย bangsai — 4 มิถุนายน 2009 @ 9:52 (เย็น)

RSS feed for comments on this post. TrackBack URL

แสดงความคิดเห็น

*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word

Powered by WordPress