เมื่อผมสอน “ความจริงของชีวิต”
อ่าน: 1168ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว แต่ไม่นานขนาดจำไม่ได้ ผมเคยสอนวิชาชื่อ “ความจริงของชีวิต” สนุกมาก บรรยากาศมีชีวิตชีวา ผู้เรียนก็ดูจะมีความสุข แต่มีคนกล่าวหาว่า “เนื่อหาน้อย“
จำได้ว่าผมเห็นอะไรเป็นสื่อการเรียนรู้ไปได้หมด โดยเฉพาะข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่นๆ แม้แต่รูป 2 รูปที่ผมถ่ายเล่นเมื่อครั้งผ่านไปแถว เขากบ นครสวรรค์ ที่กำลังเขียนถึงอยู่นี้ ผมนำสองภาพให้ผู้เรียนดูแล้ว คิด เขียน เดี่ยว ตามด้วยเข้ากลุ่มย่อย และคัดสรร นำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ ความคิดเห็นผมในฐานะผู้สอนถือเป็นเรื่องเล็กจะเอาไว้ท้ายสุด และผมก็แอบใช้ Internet หาข้อมูล ความคิดเห็นจากสหายที่ไม่เคยเห็นหน้าที่ pantip.com ตัดต่อทำ Powerpoint เตรียมไว้ปิดฉากด้วย นี่ครับ ร่องรอยที่พอจะเหลืออยู่ ..
1. บัวดอกแรกในอ่างบัว บนเขากบ
2. อีกดอกหนึ่งในอ่างเดียวกัน
3. ตัวอย่างบทกวีจากมิตรสหายที่ pantip.com นำเสนอ และผมนำมาปรุงเป็นสื่อปิดท้ายการสอน
ดูๆแล้ว ผมไม่ได้สอนสักเท่าไหร่เลย จับโน่น ชนนี่ “จัดการ” ให้เขาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียมากกว่า ช่างเป็นครูที่ไม่ “ขยันสอน” เลยนะเรา !
บันทึกนี้เขียนไว้นานแล้ว วางไว้ ที่โน่น ไปอ่านทบทวนดูก็รู้สึกอยากให้ญาติๆแถวนี้ได้อ่านด้วย เลยหยิบมาวางใหม่ ใกล้ๆตัว และขอแถมท้ายด้วย ข้อคิดความเห็นของผู้คนที่น่าสนใจอีกเล็กน้อย ดังนี้
1. เนื้อหาน้อยเพราะเป็นแก่น ที่เหลือต้องขบคิดเอง อาจารย์สอนโดยการเปรียบเทียบให้เห็น “จริง” ผมมองว่าสุดยอดแล้วครับ
2. เค้าบอกว่าวิทยากรที่ดี ไม่ต้องมีแผ่นใสสักแผ่น ก็สามารถสอนได้ เพราะเพียงแค่จุดประกายให้ผู้เรียนได้คิดหาคำตอบด้วยตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้สามารถคิดได้หลายแง่ หลายวิธี มีคำตอบที่หลากหลาย การฝึกให้คนได้คิดถือเป็นสิ่งวิเศษที่สุดแล้วครับ แบบนี้เรียกว่า กระบี่อยู่ที่ใจ หยิบจับสิ่งใดก็นำมาทำเป็นอาวุธได้หมด สุดท้ายขอชื่นชมทุกคนที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบทเรียนดอกบัวของคุณครูพินิจครับ
3. อาจารย์ครับ เสียดายผมไม่มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ ช่วงที่เรียนแต่ก็ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ใน Blog พื้นที่เสมือนแห่งนี้นะครับ ไม่ได้ผ่านระบบ เอเน็ต และโอเน็ต ก็คงได้นะครับอาจารย์
4. ครูที่ “ขยันสอน” มีเป้าหมายคือ สอนให้รู้ แต่สอนแบบคุณ “Handy” เนี่ย พี่เม่ยสรุปเอาเองในใจว่า เป้าหมายคือ สอนให้คิด ค่ะ อย่างนี้ต้องเรียกว่า “ตั้งใจสอน” ค่ะ
5. เรียนอาจารย์ Handy ครับ เป็นอีกคนที่แกะรอยตามมาขอเสริมปัญญาด้วยคนนะครับ อย่างนี้ต้องถือว่า เป็นการสอนแบบ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ขนานแท้ นะครับผมว่า อาจารย์ทำหน้าที่ เป็น คุณอำนวย
6. อ่านแล้วได้แนวทางการนำไปสอนเด็กและชาวบ้าน โดยเฉพาะการใช้สื่อและความสุนทรีย์ใจ สอดแทรกศีลธรรมตามวิถีที่อยู่ในความเป็นตัวตนของพวกเขา ขอบคุณที่ให้แนวทางครับ
7. อ่านบันทึกของคุณ Handy ทีไร มีอันต้องเก็บไปคิดก่อนจะกลับมาเขียนความเห็นเรื่อยเลยค่ะ เรียกได้ว่า “จุดประกาย” ได้เสมอจริงๆ เห็นจริงมากๆโดยเฉพาะกับการสอนลูกค่ะ เวลาให้โอกาส ดูเขาคิด หลังจากเราเลือกสิ่งที่ควรพูดให้ดีๆแล้วล่ะก้อ เขามักจะ”คิด”ได้เองโดยที่เรารู้สึกได้ว่าเขา “get” มากกว่า ลึกกว่าจากการ”ทนฟัง”เราพูดพร่ำค่ะ
8. เรียนท่านพี่ Handy ตามมาดูครับ เยี่ยมเลย ครับ ขอนำไปใช้ถ่ายทอดต่อครับท่าน
« « Prev : เมื่อด๊อกเตอร์ชาวนามายั่วผม !
2 ความคิดเห็น
ไอ้หยา อาแฮนดี้ ลื้อมีปรัชญาการสอนที่ ล้ำลึกมาก ” สอนให้รู้ ” เหมือนของคนจีนเลย อาม่านับถือ………
แสดงว่า อาม่าชอบเรื่องคล้ายๆกัน .. ดีใจจัง อิ อิ อิ