“สาขาภูมิศาสตร์กับสังคมไทย”:ในทรรศนะของฉัน

โดย PobPloy เมื่อ 29 ตุลาคม 2010 เวลา 12:23 (เย็น) ในหมวดหมู่ ภูมิศาสตร์มนุษย์, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2987

 

 

 
ความเข้าใจต่อสาขาหรือความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในประเทศไทยนั้น ถือว่ายังน้อยมาก
ทั้งๆที่เป็นสาขาที่มีความสำคัญต่อปัจจัยหลายๆด้านในการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ความมั่นคงของดินแดน ,
การจัดการ ดูแล จัดสรร การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรในชาติภัยธรรชาติ ,การใช้ที่ดิน ,การตั้งถิ่นฐาน ฯลฯ
เหล่านี้ เกี่ยวข้องกับการดำรงความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น

ดังนั้น มนุษย์จะดำรงคงอยู่ไม่ได้ หากไม่ทำตัวให้เป็นไปตามครรลองและกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ
หากทำตัวขัดแย้ง หรือเป็นส่วนเกินของธรรมชาติ ก็จะถูกกำจัดในที่สุดเราจึงมีความจำเป็นมาก
ที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ สิ่งแวดล้อม รอบตัวของเราให้มากที่สุดเพื่อที่จะเอาตัวรอดในโลกใบนี้

 

การทำความเข้าใจในศาสตร์ของ”ภูมิศาสตร์” นี้ค่อนข้างมีรายละเอียดที่หลากหลาย
เราต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ เก็บรับเอาสิ่งต่างๆนั้น ให้เข้าใจอย่างท่องแท้ แล้วปล่อยมันไป
มิเช่นนั้น เราจะไม่ต่างจาก “เป็ด” ที่ว่ายน้ำได้  บินได้ เดินได้  แต่ไม่ถนัดสักอย่าง 

ใครว่าภูมิศาสตร์ง่าย  ในทรรศนตคิของข้าพเจ้าคิดว่า มันไม่ได้น้อยไปกว่า  นิติศาสตร์ 
วิทยาศาสตร์หรือศาสตร์ใดๆในโลกนี้เลย   อาจจะยากกว่าด้วยซ้ำ
เพราะมันไม่ใช่ศาสตร์ของมนุษย์เพียงอย่างเดียว   ไม่ใช่เรื่องของธรรมชาติเพียงอย่างเดียว
แต่เราจักต้องเรียนรู้เพื่อบรลลุวัตถุประสงค์ที่ว่า “เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจและสร้างสัมพันธ์
ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติให้สมดุลที่สุด”
เพื่อที่ชาติพันธุ์ของเราจะได้อยู่อย่างกลมกลืน 
มิใช่ทำลาย อย่างเช่นปัจจุบัน…

 

 ข้าพเจ้าคิดว่า เหตุใดเด็กไทย หรือเด็กทั่วโลก  หรือกระทรวงศึกษาธิการทั่วโลก
หรือใครหน้าไหนก็ตามที่มันเป็นคนเขียนหลักสูตรการศึกษา 
ให้กับมนุษย์ในแต่ละประเทศทำไมคุณไม่เพิ่มศาสตร์นี้เข้าไปให้เด็กเล็กๆได้เรียนตั้งแต่วัยเยาว์ 
ทำไม?? คุณไม่เปิดหลักสูตรหลายๆที่  ทำไมไม่สร้างกระแสฟีเวอ่ร์ในสาขานี้บ้าง
ทำไมถามเด็กไทยต้องตอบว่า อยากเป็นหมอ?  เป็นตำรวจ? เป็นวิศวะ?
ไม่เคยได้ยินใครตอบว่าอยากเป็น “นักภูมิศาสตร์” บ้างเลย…
ทำไมคิดแต่จะกอบโกย  ไม่คิดจะทำความเข้าใจ ฟื้นฟู รักษา และเรียนรู้เขาบ้างเล่า
 ”ธรรมชาติ”หน่ะ
หรือห้วงที่คุณจะสำนึกได้ คือตอนที่ธรรมชาติทวงคืนให้คุณ”ชดใช้”…  ชดใช้ด้วยชีวิต

  

ตอนที่เพิ่งสอบติดเมื่อม.6  ข้าพเจ้าก็ยอบรับว่า ไม่รู้จักมันเหมือนกัน 
ภูมิศาสตร์เนี่ยเคยมีคนถามว่า เรียนอะไร? ภูมิศาสตร์ แล้วทำหน้าดูถูกด้วยนะ  เรียนไปทำไมว่ะ?…
ทำงานไรได้?…  จนมาถึงวันนี้  ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเสียดายเลย ที่ได้เข้ามาเรียนในสาขานี้ 
กลับรู้สึกภาคภูมิใจด้วยซ้ำ   หากวันนี้ไม่ได้เรียนในสาขานี้   ข้าพเจ้าก็อาจยังหลงกล 
หมุนวนในกระแสธารนั้นไม่มีวันจบสิ้น
คงยังมองทุกอย่างแค่ในฐานะที่มันจะเปลี่ยนเป็นเงินตราได้เท่าไหร่?…แค่นั้นแหล่ะ

สุดท้ายนี้ ที่เขียนขึ้นก็คงเพื่อตอกย้ำกับตัวเอง ล่ะค่ะ
ว่าเรามีหน้าที่อะไร  และต้องทำมันด้วยจิตที่เต็มเปี่ยมด้วยความกระหายหิวที่จะเรียนรู้
แม้เกรดที่ผ่านๆมาของข้าพเจ้า อาจจะยังไม่เป็นที่น่าพอใจนักก็นะ  แต่ก็จะทำมันให้ดีขึ้นๆไป :)

 

 

 

ภาพตัวอย่างตอนเราออกภาคสนาม สำรวจหินในภาคตะวันออก :)  (เหนื่อย)

 

   เขายายสี ,ศรีราชา Calsilicateหินลอย Balancing rock
   หาดบ้านหนองแฟบ , มาบตาพุด Quaternary sediment

 

 

เห็นมั้ย?  น่าสนุกขนาดไหน !!!  :mrgreen:

« « Prev : เปิดลานภูมิศาสตร์


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 เวลา 4:40 (เย็น)

    ประเด็นที่น่าสนใจคือ เราจะเอาความรู้ภูมิศาสตร์มาใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง เราจะเอาศาสตร์นี้มาใช้กับสังคมนี้ได้อย่างไรอย่างเป็นรูปธรรม น่ะ เช่น

    เอาเหตุการณ์ปัจจุบัน น้ำท่วม เราเรียนรู้เรื่องนี้ หรือเราเอาความรู้ทางภูมิศาสตร์มาอธิบายได้อย่างไร และความรู้ทางภูมิศาสตร์จะมีส่วนเข้ามาแก้ปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง น่าสนใจนะพลอย

  • #2 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 เวลา 5:31 (เย็น)

    เห็นด้วยกับพี่บู๊ทจ้ะน้องพลอย ลองถอดดูหน่อยสิว่าน้ำท่วมคราวนี้ภูมิศาสตร์เรียนรู้อะไรบ้าง และจะแก้ไขในเชิงภูมิศาสตร์ได้อย่างไรโดยไม่ต้องรื้อทิ้ง อิอิอิ

  • #3 PobPloy ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 ตุลาคม 2010 เวลา 10:36 (เย็น)

    แน่นอนค่ะ ลุงบู๊ด จริงๆแล้วหากประเทศเรามีหน่วยงานมี่ทำงานด้านนี้อย่างมีการวางแผน
    ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง จริงจังและยั่งยืนแล้วล่ะก็ ปัญหาที่เกิดขึ้นคงจะน้อยกว่านี้เป็นแน่
    เรื่องของการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมนี่ก็เป็นการติดตามผลที่รวดเร็วและสามาถมองเห็นภาพในมุมกว้างและครอบคลุม
    รวมถึงการประเมินปริมาณน้ำในแต่ละเขื่อน เส้นทางการไหลของน้ำ การระบายน้ำ
    หากวางแผนเป็นอย่างดี เราก็น่าจะลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ค่ะ หนูคิดเช่นนั้น

    แต่ปัจจุบันก็อย่างที่เห็นค่ะ - - เราต้องพัฒนาการวางแผนและมีหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง
    หรือมีแล้วก็ไม่รู้นะค่ะ ไม่รู้เขาทำงานกันยังไง 555

  • #4 PobPloy ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 ตุลาคม 2010 เวลา 10:48 (เย็น)

    ตอบคุณพี่ น้ำฟ้าและปรายดาว นะค่ะ ^^

    แน่นอนค่ะ สำหรับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนมีตัวแปรหลายๆด้านจากประเด็นทางภูมิศาสตร์
    เช่นว่าต้องย้อนไปถึง การวางแผน การใช้ที่ดิน การตั้งถิ่นฐาน จริงๆแล้วถ้าวางแผนกันตั้งแต่เริ่ม
    เราก็หลีกเลี่ยงที่จะเจอปันหาเหล่านี้ได้

    รวมไปถึงการวางแผนที่ดี ในแง่ของการระบายน้ำของกรมชลประทาน
    การประเมินปริมาณน้ำในแต่ละเขื่อน รวมไปถึงการรับมือเมื่อปัญหาเกิดขึ้นด้วย

    การวางรากฐานที่ดี ย่อมทำให้ความเสียหายน้อยลงค่ะ นั่นคือการป้องกัน
    แต่ทว่าพูดอะไรไปตอนนี้ก็คงไม่มีประโยชน์ เมื่อเหตุเกิดเราก็ต้อง แก้ไข
    หน่วยงานรับผิดชอบก็น่าจะต้องเร่งระบายน้ำไปที่อื่นนั่นแหล่ะค่ะ

    ส่วนการรื้อถอดหรือไม่นี่คงหมายถึงเรื่องของอาคาร สิ่งก่อสร้างใช่มั้ยค่ะ
    นี่เป็นพื้นฐานทางด้านวิศวะกรรมโน้นเลยค่ะ 5555
    ถ้าโครงสร้างเสียหายก็ต้องทุบทิ้งอยู่ดีนั่นแหล่ะค่ะ ก็เดาไป หนูไม่สันทัด

    โลกเราอยู่ยากขึ้นทุกวันสิน่ะ…


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.078516960144043 sec
Sidebar: 0.00018787384033203 sec