มองต่างมุม กับการผลิตพืชปลอดภัย

อ่าน: 191

ผมทำงานในบทบาทของงานส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมักจะตกเป็นจำเลยของสังคมทุกครั้งหากมีปัญหาเกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตร แม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นผู้กระทำโดยตรง เช่น
* พืชบางชนิดมีผลผลิตล้นตลาด-ขาดตลาด
* สินค้าการเกษตรมีราคาถูก-แพง
* เกษตรกรมีการใช้สารเคมีมาก
* ฯลฯ มากมาย
การที่ถูกตำหนิหรือว่ากล่าวอย่างใด พวกเราก็คงไม่คิดที่จะโต้แย้ง เพราะมันคงไม่เกิดประโยชน์หรือผลดีอะไรขึ้นมา ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่าส่วนมากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากพวกเราเลยแม้แต่นิดเดียว
ในการผลิตพืชเพื่อให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานหันมาสนใจ และทำงานเกี่ยวกับการรณรงค์เพื่อให้เกษตรกรลด ละ เลิกใช้สารเคมีกันมาก เหตุผลก็คือเพื่อความปลอดภัยอะไรประมาณนั้น ไม่เว้นแม้แต่หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรของพวกเราก็จะมีโครงการต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับการจะทำให้มีการผลิตพืชที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ดี เป็นวิธีการที่ดี แต่หากจะให้สำเร็จ ส่งผลไปถึงการเลิกใช้สารเคมีของเกษตรกรกันทั้งหมดนั้นน่าจะเป็นไปได้ยาก แม้เราจะทุ่มเททรัพยากรกันหมดทั้งประเทศที่มีอยู่ในขณะนี้เลยก็ตาม เหตุผลก็คือการทำงานปัจจุบัน เราทำงานกันแบบแยกส่วน ทำกับบางกลุ่ม บางหน่วยงานเท่านั้น ต้นตอและสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้รับการแก้ไข หากคิดอีกมุมหนึ่ง แบบตรงกันข้าม…มองต่างมุม ก็จะพบเห็นว่าสิ่งที่อยู่นั้นมีจุดอ่อนและสมควรได้รับการแก้ไขในหลายประเด็น

รณรงค์แต่คนปลูกแต่ไม่ได้รณรงค์คนกิน-คนซื้อเลย
เราจะพบเห็นโดยทั่วไปว่าคนปลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ใช้สารนี้ดี สารนี้ไม่ดี ฯลฯ แต่เราไม่เคยรณรงค์เพื่อชักจูงให้คนกิน-คนซื้อเลยว่าควรทำอย่างไร เลือกซื้อเฉพาะสินค้าแบบไหน ประเด็นนี้ผมมีข้อมูลยืนยันจากการไปสอบถามคนปลูกผัก และปลูกพืชทั่วไปหลายพื้นที่ว่าพวกเขาไม่อยากใช้กันอยู่แล้วสารเคมี หรือบางคนไม่ใช้แต่กลับพบว่าคนซื้อไม่ซื้อผลผลิตของเขาเพราะใบไม่สวย ไม่อวบ…อิอิ

เราไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ประเด็นนี้ผมคิดเองนะครับ (บางทีอาจจะทำไม่ได้) สิ่งที่ผมมองก็คือ ในเมื่อเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าสารเคมีบางชนิดไม่ปลอดภัย และสารเคมีเหล่านั้นล้วนนำเข้าจากต่างประเทศ…ทำไมเราไม่งดการนำเข้า เท่านี้ก็จะแก้ปัญหาได้ ระยะแรกอาจมีปัญหาบ้าง แต่เชื่อว่าในระยะยาวเราน่าจะสามารถปรับตัวได้ หรือว่ามันกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เหมือนรู้ว่าบุหรี่-เหล้าไม่ดี แต่กลับมีการตั้งโรงงานกันอย่างถูกต้อง แถมบางอย่างรัฐเสียเองเป็นผู้ผลิต-จำหน่าย
แค่ 2 ประเด็นนี้ก็พอจะทุเลาหรือแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ไปได้ ยังมีอีกหลายช่องทางหากเราเอาจริงเอาจังกับมันแล้วปัญหาเรื่องการผลิตพืชให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมก็คงจะลดลงได้บ้าง
คิดเล่นๆ ครับ ท่านผู้ผ่านมาจะเพิ่มเติมก็ขอเชิญเลยครับ

บันทึกนี้โพสต์เมื่อ วันที่ วันพุธ, 1 ตุลาคม 2008 เวลา 4:51 (เย็น) และจัดไว้ในหมวดหมู่ Uncategorized. ติดตามอ่านการแสดงความเห็นได้ที่ฟีดนี้ RSS 2.0. คุณสามารถจะ ฝากความคิดเห็นไว้, หรือ แทร็กย้อนหลัง จากเว็บไซต์ของคุณได้.


2 ความคิดเห็น ในบันทึก “มองต่างมุม กับการผลิตพืชปลอดภัย”

#1:: สิทธิรักษ์ 1 ตุลาคม 2008 เวลา 11:46 (เย็น)

ธรรมชาติที่รังสรรค์
ปัญหาที่เกิด และ ดับ
ขอบคุณมากๆครับ

#2:: น้ำฟ้าและปรายดาว 6 ตุลาคม 2008 เวลา 6:43 (เย็น)

โดนค่ะพี่สิงห์..ใช่เลย เห็นด้วยเต็มประตูว่าทำไมไม่จัดการที่ตัวสารนำเข้า และเห็นด้วยอย่างที่สุดว่านักวิชาการเกษตรมักจะตกเป็นจำเลยของสังคมในเรื่องของผลผลิตการเกษตรต่างๆ ทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของเค้าเลย

เราทำงานแบบแยกส่วนยังไงชอบกลค่ะพี่สิงห์ พานิชย์ก็ไม่เคยมาดูเรื่องการตลาด ( อย่างจริงจัง ) วางแผนการผลิตร่วมกันอย่างเป็นระบบแบบเอกชน พอมีปัญหาก็โทษกันไปมา เบิร์ดเชื่อเต็มหัวใจเลยว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่เค้าก็ไม่อยากจะใช้สารเคมีหรอกค่ะ แต่เค้าไม่มีทางเลือกอื่นเพราะเค้าก็ต้องกินต้องใช้เหมือนกัน ( แถมเกษตรกรส่วนใหญ่ก็อายุเยอะๆทั้งนั้นด้วย บ่มีแฮงเฮ็ดตะได ใช้เครื่องทุ่นแรงดีกว่า )

ร่วมแสดงความคิดเห็น

*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word

Main: 1.1728091239929 sec
Sidebar: 0.65121698379517 sec