ขอแค่เป็นคนธรรมดาๆ

2 มิถุนายน 2011 / 5 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

          ธรรมบรรยายโดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)  ท่านได้สรุปความหมายของ ธรรมมะ ไว้  4 ข้อ ว่าธรรมะคือ

·         ธรรมชาติ        : ทุกสิ่งล้วนเป็นธรรมชาติ

·         ธรรมดา           : ความเป็นไปของธรรมชาติ

·         ธรรมจริยา      : สิ่งที่มนุษย์พึงปฏิบัติ และ

·         ธรรมเทศนา     : คำสอนของพระพุทธเจ้า

ธรรมะมีความหมายใน 4 นัยนี้ (เท่าที่ผมจับใจความได้)

          สิ่งที่ผมอยากบันทึกแลกเปลี่ยนก็คือความเป็น  ธรรมดา”  ครับ  ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นเรื่องของธรรมชาติ คือ ความหมายหนึ่งของธรรมะ

          สิ่งที่ผมต้องการที่สุดตอนนี้ก็คือ….การกลับคือสู่ความเป็น ธรรมดา” ของการดำรงชีวิตตามปกติครับ  เพราะเหตุจากการเจ็บป่วย (ที่บันทึกนี้ ) ทำให้ร่างกายไม่สามารถทำอะไรได้เหมือนตอนปกติ  ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืน การนั่ง หรือจะทำอะไรก็ยังไม่ถนัด เช่น การขับรถ ทำงาน ยกของ เป็นต้น  คงต้องใช้เวลารักษากายไปอีกซักระยะหนึ่งจึงจะกลับคืนสู่ความเป็นปกติหรือความเป็น ธรรมดา”  ที่เมื่อก่อนไม่เคยได้คิด/ใส่ใจเลยกับสิ่งที่เป็น ธรรมดา”นี้

         ทุกท่านที่มีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยทำอะไรได้ตามปกติ  ถือว่าท่านโชคดี  มีความเป็นธรรมดาที่ทุกคนพึงปรารถนาอยู่แล้ว….. ” 

          ดังนั้นจงอย่าได้ตั้งอยู่ในความประมาท (ดังคำสอนสุดท้ายของพระพุทธเจ้า) โปรดรักษาความธรรมดานี้ไว้ให้ได้  เพื่อที่จะได้ใช้กายนี้ทำสิ่งที่ดี มีประโยชน์ยิ่งๆ ขึ้น ตามภูมิรู้และภูมิธรรมของเราแต่ละคน  แค่นี้ก็ถือว่าได้ลาภอันประเสริฐดั่งพุทธพจน์ที่เราๆ  ก็ทราบกันอยู่แล้ว…ไม่ต้องไปดิ้นรนขนขวายหาอะไรมาใส่หัวใส่ตัวให้มันวุ่นวายไปกว่านี้อีกเลยนะครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

สิงห์ป่าสัก

  มิ.ย. ๒๕๕๔

 

 

 




ผ้าป่าแถว งานสารทไทย-กล้วยไข่ เมืองกำแพงเพชร

14 ตุลาคม 2010 / 2 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

               เมื่อคืนวันที่ 11 ตุลาคม  ที่ผ่านมา  ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานบุญทอดผ้าป่าแถว ณ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร  เนื่องในงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ปี  2553

          ทอดผ้าป่าแถว…ผมมีความรู้เรื่องนี้น้อยมาก  แต่ก็รู้สึกประทับใจที่ได้มีโอกาสมาร่วมงาน  ซึ่งสถานที่จัดนั้นจัดในเมืองเก่าบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และจัดในเวลากลางคืนที่สวยงามไปด้วยแสงโคมไฟ และกองผ้าป่าหลายร้อยกอง  พระสงฆ์จากทุกสารทิศเป็นร้อยๆ รูป

          คล้ายๆ กับการตานก๋วยสลากของคนเมืองครับ  มีภาพบรรยากาศมาฝากครับ 

 

  • ในเมืองเก่าฯ  สถานที่ทอดผ้าป่าแถว

 

  • พระสงฆ์ที่มาร่วมพิจารณาผ้าป่า

  • สาธุ..อิ่มบุญครับ

  • สุดท้ายเป็นภาพเจดีย์หนึ่งในหลายๆ องค์ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่ขอนำมาฝากทุกท่านที่แวะผ่านเข้ามาครับ

สิงห์ป่าสัก  (บันทึกแรกที่เขียนจากบ้านหลังใหม่)




ลุงเอกแวะมาเยี่ยม

6 สิงหาคม 2010 / 4 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

           ผมไม่ค่อยได้เข้ามาเขียนบันทึกนานมากแล้ว  เพราะช่วงหลายเดือนมานี้วุ่นอยู่กับการปลูกบ้าน(บาน)..อิอิ  กับชาวเฮฮาก็เลยไม่ค่อยได้พบเจอกัน    มีพระอาจารย์แฮนดี้แวะมาเยี่ยมพร้อมหวานใจครั้งหนึ่ง  และล่าสุดลุงเอกมาเป็นวิทยากรที่ มรภ.กำแพงเพชร  ผมก็ไปร่วมรับฟังและนำเสนอบทความเลยได้มีโอกาสเจอลุงเอกโดยบังเอิญ…

           เสร็จการสัมมนาลุงเอกไปเชียงใหม่ขากลับแวะเยี่ยมบ้านสวนและบ้านที่ปลูกใหม่มีน้องครูมิมมาร่วมแจม(ก่อนเดินทางไปทำงานที่เพชรบูรณ์ไม่กี่วัน)…วันนี้เลยขอนำภาพมาฝาก  พร้อมกับมารายงานความก้าวหน้าการสร้างบ้านครับ

 


ลุงเอกแวะมาเยี่ยมพร้อมกับทานเงาะที่บ้านสวน กำแพงเพชร (29 พ.ค. 2553)


สองหนุ่ม…สองมุม…คริ คริ

 


ครูมิมก็แวะมาร่วมแจมด้วย

 

 

          บ้านไม้ที่สร้าง ตอนนี้บานไปเยอะเลยครับ สร้างได้ 80 % แล้ว  ลุงเอกมาเยี่ยมเลยขอให้ลุงเอกขึ้นบนบ้านเพื่อความเป็นศิริมงคลเรียบร้อยแล้ว…อิอิ    ท่านใดผ่านกำแพงเพชร..อย่าลืมแวะเยี่ยมเยียนกันบ้างเน้อ

 




ธรรมชาติคือผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่

4 กันยายน 2009 / 3 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

อ่าน: 372

หลายปีมาแล้วที่ผมไม่เคยได้ซื้อพริกขี้หนูจากตลาดเลย ไม่ว่าจะเป็นช่วงหน้าแล้งที่พริกขี้หนูหายากและมีราคาแพง หรือช่วงหน้าฝนอย่างขณะนี้ก็ตาม ก็คงจะเหมือนกับคนในชนบททั่วๆ ไปที่ส่วนมากพอจะมีพื้นที่ว่างๆ บางครอบครัวก็จะปลูกพืชผักสวนครัวเหล่านี้ไว้รอบบ้าน เมื่อใดจะใช้ประโยชน์ก็เพียงแต่ถือตะกร้าเดินไปเก็บรอบๆ บ้านก็จะมีพืชผักเหล่านี้ไว้ทำอาหารได้ทุกเมื่อ

สำหรับพริกขี้หนูผมไม่เคยได้ปลูก แต่พอจะมีกินอยู่อย่างพอเพียงไม่เคยขาด หลายท่านอาจคิดต่อว่าเอ๊ะ…ไม่ปลูกแล้วจะเอามาจากที่ไหนกัน (หรือว่าไปแอบเก็บของเพื่อนบ้าน…อิอิ) ไม่ใช่นะครับ ต้นพริกขี้หนูของผมทุกต้นนกช่วยปลูกให้ครับ ไม่ทราบเหมือนกันว่าต้นแรกอยู่ที่ไหน แต่ทุกปีช่วงหน้าฝนจะมีต้นพริกขึ้นเองตามธรรมชาติ มากบ้างน้อยบ้างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความขยันของนกมั้ง…

จากการสังเกตต้นพริกขี้หนู เมื่อเวลามีผลพริกที่แก่และสุกจะมีนกมาคอยกินเสมอ เมื่อกินแล้วถ่ายออกมาก็เลยกลายเป็นการกระจายพันธุ์ และปลูกให้ผมได้มีพริกขี้หนูกินอยู่ตลอดปี เพียงแต่เวลาตัดหญ้าต้องหมั่นสังเกตและคอยเว้นต้นพริกเล็กๆ ที่ขึ้นเองให้รอดพ้นจากการตัดหญ้าไว้ จากนั้นก็ให้เวลาเขาได้โต…ไม่กี่เดือนก็ออกดอกออกผลให้เราได้ใช้ประโยชน์อีก บางต้นอยู่ได้ตั้งหลายปี สูงท่วมหัวก็เคยมีครับ
null
ดอกพริกขี้หนูสวยไหมครับ

null
หน้าฝนจะเห็นภาพผลพริกอย่างนี้อยู่เต็มต้น

null
ลูกสุกอย่างนี้อยู่อีกไม่กี่วันน้องนกก็จะมาช่วยเก็บกินแล้วนำไปปลูกให้ใหม่ครับ

นอกจากพริกขี้หนูแล้ว ที่หลังบ้างติดกับที่ล้างจาน จะมีต้นมะนาวที่ขึ้นเองอยู่หนึ่งต้น คงเกิดจากการทิ้งเม็ดเวลาเราทำกับข้าว มะนาวต้นนี้มีต้นคล้ายๆ กับส้มเขียวหวานแต่แข็งแรงและต้นสูงกว่าเพราะเกิดจากเมล็ด แต่ปีนี้เริ่มออกลูกให้ได้ทาน และเป็นมะนาวที่มีผลคล้ายๆ กับมะนาวแป้น เลยกลายเป็นว่าธรรมชาติได้ให้มะนาวกับผมไว้อีกหนึ่งต้น เพียงต้นเดียวก็เหลือกินแล้วครับ (คงกลัวว่ามีพริกขี้หนูแล้วจะขาดมะนาวเวลาทำอาหาร ธรรมชาติเลยจัดสรรให้อย่างลงตัว…555)
null

ธรรมชาตินั้นเป็นผู้ให้สำหรับมนุษย์เราเสมอนะครับ เพียงแต่เรายอมรับการอยู่ร่วมกัน และไม่ไปทำลายหรือตัดวงจรของธรรมชาติบางอย่าง เช่นในกรณีนี้ก็อาจจะเป็นตัวอย่างของนกครับ ที่เราไม่ไปทำลายเขาหรือจับมาขัง หรือทำลายธรรมชาติรอบตัว เขาก็จะทำหน้าที่ของเขาได้อย่างสมบูรณ์ …

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.




ข้าวไร่…ตอน2

24 กรกฏาคม 2009 / 3 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

อ่าน: 363

ต่อจากบันทึกที่แล้ว หลังจากทำการซ่อมข้าวไร่ ด้วยการดำนาบก หรือปลูกข้าวแบบการปลูกต้นไม้โดยทั่วๆ ไป เสร็จแล้ว
ซึ่งหลังจากปลูกเสร็จแล้วจะได้ดังภาพด้านล่างนี้ครับ

null
อายุข้าว ประมาณ 1 เดือน

ในมุมมองเดียวกัน เมื่อผ่านไปอีกประมาณ 1 เดือน ข้าวมีอายุประมาณ 2 เดือน ข้าวเริ่มแตกกอดีมาก จะเห็นว่าต้นข้าวมีการเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

null

อายุข้าว ประมาณ 2 เดือน อาศัยแต่น้ำฝนเพียงอย่างเดียว

ข้าวที่ชาวบ้านเรียกว่า “ข้าวแพร่” จะมีการแตกกอดีมาก ต้นเดียวแตกกอได้ร่วม 40 ต้นเลยทีเดียว ดีที่ชาวบ้านที่เขาเคยปลูกมาก่อน เมื่อนานมาแล้วแนะนำว่าอย่าปลูกมากต้น และอย่าปลูกถี่เกินไป เพราะจะมีปัญหา เพราะว่าเขามีคุณสมบัติการแตกกอที่ดีมาก ซึ่งก็จริงอย่างที่ชาวบ้านที่เขาเคยปลูกได้แนะนำไว้ ดูกันให้ชัดๆ นะครับ ว่าแตกกอได้ดีขนาดไหน

null
การแตกกอของ “ข้าวแพร่”

ส่วนพันธุ์ “ข้าวก่ำ” เจริญเติบโตปกติ แต่การแตกกอกจะน้อยกว่า

null
ข้าวก่ำ

ช่วงอายุข้าว 2 เดือนนี้ จะมีหญ้าครับ มีขึ้นมากมายเหลือเกิน ถางหญ้ากันทุกอาทิตย์ยังแทบจะไม่ทันเลยนะครับ ทั้งถาก ทั้งถอน ทั้งฟัน หญ้าจะโตเร็วมาก ถึงตอนนี้ค่อยยังชั่วหน่อย แม้ว่าจะกำจัดหญ้าได้ไม่หมด แต่ต้นข้าวก็โตพอที่จะคลุมหญ้าได้บ้างแล้ว ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมชาวนาจึงหนีไปทำนาดำกันหมด เพราะนาดำ ควบคุมน้ำได้และคลุมหญ้าได้ง่ายกว่านี่เอง

null

ผู้ช่วยครับ นานๆ จะไปช่วยสักครั้ง

มุมมองบริเวณโคนต้นข้าวหลังจากถอนหญ้าแล้ว…เหนื่อยน่าดูครับ แต่ก็มีความสุข
null

ทีมติดตามโครงการลดต้นทุนข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร แวะไปให้กำลังใจครับ
null

ช่วง 1 เดือนจะเป็นช่วงที่ต้องซ่อมต้นข้าว
ช่วง 2 เดือน เป็นช่วงกำจัดวัชพืช ไม่รู้ว่าเดือนที่ 3 จะมีอะไรสนุกๆ ให้ตื่นเต้นอีกก็ยังไม่รู้ คอยติดตามอ่านนะครับ




ภูมิปัญญาชาวบ้าน : ใช้มันสำปะหลังเลี้ยงหมู

25 มิถุนายน 2009 / 5 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

อ่าน: 632

มื่อวันที่  17  มิถุนายน  2552  ผมได้ไปร่วมประชุมกลุ่มยุวเกษตรกรที่โรงเรียนบ้านท่าไม้  ตำบลท่าไม้   อำเภอพรานกระต่าย  จังหวัดกำแพงเพชร   ซึ่งตำบลท่าไม้มีพี่ประสิทธิ์  อุทธา  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่

        ขากลับได้แวะไปเยี่ยมเยียนคุณมุกดา  โมราราย เกษตรกรที่เลขที่  16  หมู่ที่  14  ตำบลท่าไม้  ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลัง   ปลูกบอนพันงู และเลี้ยงสุกร อยู่ 20 กว่าตัว  แต่เนื่องจากปีที่ผ่านมามันสำปะหลังราคาตกต่ำ  จึงได้พลิกแพลงและปรับสูตรอาหารสุกรโดยหันมาใช้มันสำปะหลังทดแทน  สามารถลดต้นทุนอาหารเลี้ยงหมูโดยใช้มันสำปะหลังมาทดแทนปลายข้าวทั้งหมดและรำบางส่วน  คือเมื่อลดต้นทุนก็ถือว่าได้กำไรเพิ่มขึ้น

        ในการนำมันสำปะหลังมาเลี้ยงหมู โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมคือ

  •  ต้องเป็นพันธุ์มันสำปะหลังตระกูลระยอง เพราะมีรสหวาน ไม่ขม
  •  เป็นมันที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี 
  •  นำมาสับแล้วต้มให้สุก
  •  หมู 1 ตัว จะใช้หัวมันตลอดการเลี้ยงประมาณ 1 ต้น
  •  หักค่าหัวมันแล้ว จะได้กำไรเพิ่มขึ้นอีก 500 - 600 บาท ต่อหมู 1 ตัว

 คุณมุกดา โมราราย กับพี่ประสิทธ์  อุทธา นักส่งเสริมการเกษตร

 

      นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของภูมิปัญญาของเกษตรกรบ้านเรา  ที่มีความคิดที่จะลดการพึ่งพา  ลดต้นทุนการผลิต  โดยปรับ-พลิกแพลงมาใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่สามารถผลิตได้  มาใช้ทดแทนเพื่อลดต้นทุน เพื่อความอยู่รอดของตนเอง  เป็นตัวอย่างที่น่ายกย่องและนำไปเผยแพร่แก่เกษตรกรทั่วไปที่ปลูกมันสำปะหลัง หรือที่เลี้ยงหมูอยู่แล้ว เพราะหัวมันสำปะหลังตอนนี้ราคาถูกมาก และหาได้ไม่ยาก

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ




ข้าวไร่เพื่อการเรียนรู้และพึ่งตนเอง…1

23 มิถุนายน 2009 / 6 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

อ่าน: 647

         เมื่อต้นปีนี้ผมซื้อที่ปลูกบ้านไว้แปลงหนึ่ง  พื้นที่ 3 ไร่กว่าๆ  ถมที่แล้วก็ยังเหลือพื้นที่ว่างๆ อยู่ 2 ไร่กว่า  คิดจะปลูกพืชหลายอย่าง  แต่มาคิดดูแล้ว ปลูกต้นไม้มาเกือบครบทุกประเภทแล้ว  คงเหลือแต่พืชอาหารคือข้าวที่ยังไม่เคยปลูก  ฝนนี้เลยตัดสินใจคิดที่จะทำนา ปลูกข้าวเอง  แต่เนื่องจากเป็นที่บุกเบิกใหม่  ครั้นจะทำเป็นนาลุ่มเหมือนชาวบ้านเขาก็เกรงว่าจะทำไม่ทัน(ปรับพื้นที่ไม่ทัน)   เลยตัดสินใจว่าแรกๆ  เราน่าจะปลูกข้าวแบบข้าวไร่ไปก่อน  แล้วค่อยปรับพื้นที่ไปเรื่อยๆ หลายๆ ปีก็คงจะทำเป็นนาได้

          เมื่อเตรียมดินก็เลยตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารอย่างง่าย  พร้อมทั้งวัดค่าพิกัดเพื่อหาชื่อชุดดิน   พบว่าเป็นกลุ่มดินที่  33/38 (ดินที่เหมาแก่การปลูกพืชไร่และไม้ผล)  เป็นดินชุดกำแพงเพชร   มีค่า pH ประมาณ 6.5     ไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสสูง  และโปแตสเซี่ยมต่ำ

          หลังจากตัดสินใจแล้วก็จ้างรถไถปรับที่ให้เสมอกัน  เพราะพื้นที่ไม่ค่อยเรียบ  จากนั้นก็ไถไปรอบหนึ่งรอจนฝนตกจึงหยอดข้าวไร่  ซึ่งพันธุ์ข้าวไร่นั้นไปขอมาจากจังหวัดลำปาง  ได้มา 2 พันธุ์ ไม่รู้ว่าชื่อทางการเรียกว่าอะไร  แต่ชาวบ้านเรียกว่าข้าวแพร่  และอีกพันธุ์หนึ่งเรียกว่าข้าวก่ำ (ข้าวสีนิล)

          วันปลูกก็สนุกน่าดู   เพราะยังไม่เคยปลูกข้าวไร่เหมือนกัน   ทดลองใช้หลายๆ วิธี ทั้งใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งแล้วหยดเมล็ดข้าว  ใช้เสียมด้ามยาวแซะดินแล้วหยอด  และวิธีสุดท้ายที่น่าจะเหมาะสมกับดินของที่นี่มากที่สุดก็คือใช้จอบขุดหลุมตื้นๆ แล้วหยอด

          หยอดหลายครั้งกว่าจะเต็มพื้นที่ประมาณ 2 ไร่เศษ  เริ่มหยอดครั้งแรกเมื่อวันที่  26  เมษายน  จนรุ่นสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2552

          เกือบหนึ่งเดือนที่คอยดูการเจริญเติบโต    ลองไปเดินดูพบว่า  มีความแตกต่างของการงอกและการเจริญเติบโตไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ

  • พันธุ์  พบว่าพันธุ์ข้าวก่ำ มีความงอกดีกว่าพันธุ์ข้าวแพร่
  • ดินที่ดอน ที่น้ำไม่ท่วมขัง ข้าวงอกดีกว่าที่น้ำท่วมขัง
  • การปลูกข้าวไร่หากไม่ไถหรือไถไม่ลึกมากนัก วิธีการปลูกแบบฝังกลบน่าจะได้ผลดีกว่าดินที่ไถลึกกว่า (ไถลึกเวลาฝนตกโอกาสที่ข้าวจะฝังตัวในดินได้ลึกกว่าส่งผลให้เมล็ดไม่งอก)
  • ฯลฯ   แล้วจะนำสิ่งที่ได้ลงมือทำมาแลกเปลี่ยนกันในโอกาสต่อไปครับ

       ภาพแปลงข้าวข้างบนนี้ เป็นฝีมือน้องไผ่  น้องฝ้าย และน้องป๊อบเพื่อนน้องฝ้ายมาช่วยปลูก (มือใหม่) หยอดข้าวเผื่อเมล็ดลีบ  แต่ข้าวก่ำออกเกือบทุกเมล็ด เลยมีมากต้นอย่างที่เห็นไกลๆ   ถ้าหยอดซัก 5 เมล็ดน่าจะกำลังดี  แต่ก็เป็นผลดีเพราะจะได้ถอนไปซ่อมในส่วนที่ข้าวไม่งอก…อิอิ

          เป็นการหาทางที่จะพึ่งตนเองอย่างหนึ่งนะครับ   ไม่ปลูกข้าว  แล้วซื้อข้าวกินนั้นทำได้และทำอยู่แล้ว   แต่คิดว่าทำในสิ่งที่เราต้องการน่าจะดีกว่า เพราะข้าวอย่างไรเราก็ต้องกินอยู่ทุกวัน   ก็เลยลองปลูกดู   

          เมื่อประมาณ 1 เดือนผ่านไป (31 พ.ค. 2552) ถึงเวลาที่ต้องซ่อมต้นข้าว  ก็ได้อาศัยข้าวกอที่ออกมา  ถอนแบ่งมาบ้างเพื่อปลูกซ่อม   การปลูกซ่อมก็เป็นการปลูกง่ายๆ เหมือนการปลูกพริก-มะเขือนั่นแหละครับ  เริ่มด้วยการขุดหลุมด้วยจอบ  จากนั้นก็หยอดน้ำให้ดินชุ่ม ต่อมาก็นำต้นข้าวมาปลูกถ้าดินเละๆ หน่อยก็ดำไปเลย หรือถ้าดินพอชุ่มๆ ก็ปลูกแล้วกลบเหมือนปลูกต้นไม้ทั่วๆ ไป เรียกว่าดำนาบกกันเลยละครับ 

  • ดำนาบกครับ  อิอิ

 

  • น้องไผ่..ผู้ช่วยปลูกครับ  ปลูกบ้างพักบ้างเรื่อยเปื่อยไปตามประสา  แต่ก็น่าจะได้เรียนรู้และจดจำภาพเหล่านี้ติดตัวไปบ้าง

  • หลังจากปลูกซ่อมเสร็จก็จะเห็นภาพที่มีต้นข้าวเต็มแปลง  ดูแล้วมีความสุขและได้บรรยากาศอีกแบบที่หาไม่ได้ในสถานการณ์และสังคมยุคพัฒนา - ยุคดิจิตอล (เขาเรียกกัน)ในปัจจุบัน

          ท่านใดมีความรู้และประสบการณ์จะนำมาแบ่งปันกันบ้างก็ยินดีนะครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

สิงห์ป่าสัก  23  มิ.ย. 2552




ท่านอธิบดีฯ แวะเยี่ยมที่กำแพงเพชร

22 มิถุนายน 2009 / 10 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

อ่าน: 316

       ระหว่างการเดินทางไปปลูกป่าที่ลำพูน   ท่านอธิบดีกรมราษฎรส่งเสริม  ครูบาสุทธินันท์พาทีมงานชุดใหญ่..อิอิ คนตัวใหญ่ๆ  เยี่ยมเยียนลูกหลานที่กำแพงเพชร  มีผมและครูมิมมาร่วมต้อนรับ    

         แต่งานนี้ผู้มาเยือนบอกก่อนทานข้าวมันไก่ว่าหากแวะมาเยี่ยมใครอายุมากที่สุดคนนั้นต้องจ่าย  อิอิ…งานนี้ผมกับครูมิมหมดสิทธิ์

        เสียดายที่ไม่ได้ไปร่วมงานปลูกป่าที่ลำพูน  เพราะน้องไผ่ไปแข่งรำมวยเกาหลี(เทควันโด)ที่กรุงเทพฯ

         ฝากไว้ก่อนนะโอฬาร  ครั้งหน้าคงได้ไปร่วมทำบุญปลูกป่ากับคณะคนแซ่เฮบ้าง




พระบรมธาตุนครศรีรรมราช…ยามค่ำคืน

20 เมษายน 2009 / 2 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

อ่าน: 636

ระหว่างการเดินทางกลับจากกระบี่ ขับรถผ่านตรัง พัทลุง ย้อนขึ้นมาที่นครศรีธรรมราช ด้วยความตั้งใจที่จะไปไหว้พระบรมธาตุนครศรีรรมราช แม้ยามค่ำคืนก็ต้องไปไหว้พระบรมธาตุฯ เลยได้ภาพที่ประทับใจมาฝากครับ


พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชยามค่ำคื




ภาพประทับใจในงานเฮฮาศาสตร์ 8 ที่กระบี่

9 เมษายน 2009 / 6 ความคิดเห็น » / โดย สิงห์ป่าสัก

อ่าน: 323

          งานเฮฮาศาสตร์ 8 ที่กระบี่  มีภาพที่แต่ละคนในครอบครัวได้คัดเลือก และนำส่งประกวด   แต่นำขึ้นลานยังไม่คล่อง  ขอนำขึ้นที่โกไปพลางก่อนที่บันทึกนี้ครับ..http://gotoknow.org/blog/yutkpp/254579

         บันทึกนี้เลยขอนำตัวอย่างบางภาพที่ส่งประกวดมายั่วยวนก่อน  ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแล้วพร้อมช่วยตั้งชื่ให้ด้วยว่า (หนู) ไผ่ไม่กลัวน้ำร้อน  ….. อิอิ

 

       ขาด ๆ เกิน ๆ  หรือว่าไม่ตรงเงื่อนไขประการใดก็ต้องขออภัยด้วย  ขอเพียงได้มาร่วมแจม….อิอิ 




Main: 0.076879024505615 sec
Sidebar: 0.10740089416504 sec