โลกแบนในวัด!
อ่าน: 3088
วันนี้ นั่งดูรายการ ทันโลก ทันธรรม ออกอากาศทางทีวีช่องหนึ่ง ผู้พูดคือ พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D.,Ph.D) ท่านเทศน์ได้น่าฟัง เป็นพระที่ทันสมัย แต่สำรวม น่านับถือมาก ขอสรุปจากที่ท่านเทศน์ดังนี้…
วันนี้ได้รับอาราธนาให้พูดถึงเรื่องของโลกแบน คำว่า โลกแบน ไม่ใช่หมายถึงโลกทางด้านกายภาพว่าจากโลกดวงกลมๆ กลายเป็นแบนไป แต่เป็นการเปรียบเทียบถึงการที่ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลถึงกันได้อย่างรวดเร็วมหาศาล จนกระทั่งเหมือนกับว่า ทุกอย่างอยู่ใกล้กันไปหมดเลย แล้วทุกคนก็มีโอกาสมากมายเกิดขึ้นเรื่องนี้ แม้แต่อยู่ในวัด กระแสก็เข้าถึงเหมือนกัน อย่างเช่น อาตมานั่งอยู่ที่วัด เวลาจะติดต่อกับศูนย์สาขาในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นที่โตเกียว นิวยอร์ก ลอนดอน ปารีส ออสเตรเลีย ซิดนีย์ สามารถใช้เบอร์โทรศัพท์ภายในได้ โทรแค่ ๔ หมายเลข เสียค่าใช้จ่ายเหมือนโทรศัพท์ภายในเราสามารถติดต่อสาขาต่างประเทศเองโดยใช้โทรศัพท์ภายในได้ เหมือนกับว่า ทั้งโตเกียว นิวยอร์ก ซิดนีย์ เหล่านี้ มีออฟฟิศอยู่ข้างๆ ออฟฟิศของเราในวัดนี่เอง
ระยะทางทางภูมิศาสตร์ไม่ได้เป็นอุปสรรคเลย จากความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีเลยมองกว้างไปถึงทั้งโลก การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีตรงนี้ ทำให้คนแต่ละคนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลในโลก ได้โดยตรงจำนวนมหาศาล อยากรู้เรื่องอะไรก็สามารถค้นได้เลยว่าเรื่องนั้นสาระจริงๆ เป็นอย่างไร
ถ้าเป็นสมัยก่อนอยากจะรู้เรื่องอะไรที่ต้องเขียนจดหมายไปถามหน่วยราชการ ต้นแหล่ง ก็อาจต้องรออีกสักเดือน สองเดือน
หรืออาจจะหายเงียบไปเลย แต่นี่เข้าเว็บไซต์ปั๊บ ค้นปุ๊บ เดี๋ยวก็เจอ แล้วต้องการรู้เรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องอีก ก็ไปค้นตอเดี๋ยวก็เจออีก ถ้าเราให้ ข้อมูลที่ดี ที่น่าสนใจ จะมีผู้คนจากทั่วโลกมารับข้อมูล ข่าวสารจากเรา คือ เขามีโอกาสจะเข้าถึงข้อมูลของเราได้ ถ้าเขาต้องการ อยู่ที่ว่าเราเองสามารถทำให้ข้อมูลของเรา เป็นที่สนใจได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง
ในเมื่อภาวะแวดล้อมของตัวเราขณะนี้ เกิดสิ่งอย่างนี้ขึ้นมาแล้วก็มีวิวัฒนาการต่อไปอย่างรวดเร็ว นับวันจะยิ่งเร็วขึ้นๆ
เราควรจะมีหลักปฏิบัติอย่างไร จึงจะรับมือกับเรื่องของโลกแบนนี้ได้อาตมภาพอยากจะขอฝากหลักปฏิบัติไว้ ๓ ข้อ ประการแรก คือ
๑. คุมเวลาเอาไว้ให้ได้ เพราะเนื่องจากเราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เยอะ ถ้าเราไม่คุมเวลาให้ดี
ไม่ตั้งประเด็นว่าจะหาข้อมูลเรื่องอะไรให้ดี ผลคือว่า เราก็อาจจะเข้าไปในเว็บไซต์ หาข้อมูลเรื่องนี้ พอเจออีกเรื่อง เห็นหัวเรื่องน่าสนใจดี ก็ไปดู
แล้วก็ดูต่อๆ ไปอาจจะดูหมดวันหนึ่งเลย เพราะฉะนั้น จะต้องตั้งวินัยในตัวเอง แล้วคุม เวลาตัวเองให้ได้ เราจะให้เวลาเรื่องนี้วันหนึ่งเท่าไร อาจจะหนึ่งชั่วโมง หรือบางคนโดยอาชีพจำเป็นต้อง ใช้ข้อมูลเยอะ อาจจะ ๒ ชั่วโมง หรือ ๓ ชั่วโมงแต่ต้องมีวินัยเรื่องเวลา ต้องคุมเวลา มิฉะนั้นเราจะ ถูกกระแสข้อมูลพัดท่วมจมหายไปเลย แล้วก็ไม่ค่อย ได้อะไร
แล้วสิ่งที่ผ่านตัวเรามันมีทั้งเพชรนิลจินดา คือ เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับเรามากก็มี ข้อมูลที่เป็นเหมือนกรวด พื้นๆ ไม่ค่อยเป็นประโยชน์เท่าไร ก็มี ที่เป็นเหมือนขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลก็ไม่น้อย สิ่งเหล่านี้จะทำให้ใจเราเปรอะเปื้อน เสียทั้งเวลา เสียทั้งคุณภาพของใจ แล้วก็ไม่ได้อะไรเลย มีแต่ติดลบอย่างเดียว
หลักปฏิบัติข้อที่ ๒ คือ เราจะต้องตั้งหลัก ให้ดีว่า เราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างไร ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เปิดกว้างขึ้นมานี้อย่างไร
ในเรื่องของการใช้ประโยชน์ คือเราต้องคิดก่อน ว่า ขณะนี้เราต้องการข้อมูลเรื่องอะไร ก็เจาะเรื่องนี้ ให้ได้ จับหลักให้แม่น เจาะเรื่องนั้นเอามาให้ได้จริงๆ จะใช้ประโยชน์อย่างไร ต้องคิดตลอดเจอข้อมูลแต่ละเรื่องที่น่าสนใจ
อย่าหยุดแค่คำว่าน่าสนใจ ให้คิดต่อว่า แล้วเราจะเอาเรื่องนี้มาใช้ประโยชน์ในการทำงานจริงๆ ได้อย่างไร ถ้าคิดไปถึงขั้นตอนการนำมาใช้ประโยชน์แล้ว เราจะเลือกหยิบ เลือกศึกษา รวบรวมข้อมูลได้แม่นขึ้น ตรงขึ้น
ข้อมูลที่เป็น ของเฟ้อก็จะค่อยๆ ถูกกันออกไป
เราอย่าเพียงแต่คิดว่าจะเป็นคนที่จมอยู่ในข้อมูล แต่ขอให้คิดในฐานะที่เป็นผู้สร้างสรรค์ว่าเราจะ ใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์อย่างไร ใช้โอกาสที่มาถึงอย่างไรให้ดี ถ้าคิดในฐานะผู้สร้าง ผู้ผลิต เราจะใช้ประโยชน์ได้มาก มุมมองเราจะกว้างขึ้นและจะสามารถใช้ประโยชน์จากโลกที่เปลี่ยนไปได้เต็มที่ขึ้น
มาถึงข้อที่ ๓ คือ ให้เราคิดด้วยว่าเราจะให้ข้อมูลที่ดีกับโลกได้อย่างไร อย่าคิดแต่เรื่องประโยชน์ ทางธุรกิจอย่างเดียว เพื่อต้องการแต่เรื่องทรัพย์สินเงินทอง แต่ควรคิดว่าจะให้สิ่งดีๆ กับโลกได้อย่างไร
ถ้าข้อมูลในทางด่วนข้อมูลเหล่านี้มีทั้งที่เป็นขยะ ทั้งที่เป็นเพชรนิลจินดา อย่างที่กล่าวไปแล้ว ทำอย่างไรเราจะเพิ่มส่วนที่เป็นเพชรนิลจินดาให้มากขึ้น ลดขยะให้น้อยลง
เชื่อไหมว่าแค่พิมพ์คำหยาบคาย ใจมันก็หยาบตามไปแล้วคนพิมพ์คำหยาบ วันหนึ่งเป็นสิบเป็นร้อยคำ ร้อยความเห็น หลับก็ไม่เป็นสุขแล้ว ใจจะหยาบกระด้าง ถ้าทำทุกวันจะเป็นคนก้าวร้าว ชีวิตก็ไม่มีความสุข ครอบครัวก็จะมีปัญหาเพื่อนฝูงก็มีปัญหาหมด คนอ่านใจก็หมอง ไม่เกิดประโยชน์
ขณะเดียวกัน ใครมีความสามารถจะให้ข้อมูล ที่ดี เป็นประโยชน์ ก็ให้ไปตามความถนัดตามความรู้ ความสามารถของตัวเอง
อย่างทางวัดเองก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของพระ ของวัด ก็ให้ความรู้ธรรมะโดยผ่านเทคโนโลยีเหล่านี้
เท่ากับว่า พวกเราทุกคนจะมีส่วนในการเพิ่มข้อมูลที่ดีให้กับโลก เพื่อจูงโลกให้ไปสู่หนทางที่ถูกต้อง เทคโนโลยีที่พัฒนาเหล่านี้ จะทำให้โอกาสในการนำธรรมะไปสู่โลกทำได้ง่ายขึ้นและดีขึ้น ถ้าเป็น สมัยก่อนจะสอนธรรมะให้กับใคร เราคงจะต้อง ดั้นด้นไปถึงประเทศนั้นโดยตรง หรือให้เขามาหา เราถึงจะทำได้แต่ตอนนี้ถ้าเราให้เนื้อหาธรรมะที่ดี แปลเป็นภาษาที่เขาอ่านแล้วเข้าใจ โดนใจเขา ไม่แน่ อาจจะมีคนจากทุกมุมโลกที่เขาไปเจอเนื้อหาธรรมะนี้ แล้วสนใจ
และเดินทางมาหาเรา เริ่มจากศึกษาในเว็บไซต์ก่อน จากดาวเทียมก่อน ถ้าเขาประทับใจจริงๆ ถึงจุดหนึ่งก็จะต้องการมาพบตัว แล้วก็มาศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง นี่ก็เป็นวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง
เพราะฉะนั้น ต้องบอกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะเปิดหนทางที่กว้างขวางสำหรับการเผยแผ่ธรรมะ สำหรับให้สิ่งดีๆ กับโลก และพวกเราทุกคนสามารถ ให้สิ่งดีๆ กับโลกได้
อย่างเช่น เว็บบล็อก เราสามารถสร้างบล็อกของตัวเองได้ เหมือนกับเขียนไดอารี่ เขียนข้อความอะไรก็ได้ ถ้าเราทำได้ดี ก็จะมีคนสนใจเข้ามาอ่าน
อยู่ที่ว่าเราสื่อสารข้อมูลออกไปมีเสน่ห์พอหรือเปล่า คมพอหรือเปล่า ดึงดูดพอหรือเปล่า ถ้าถึงจุดเราจะชี้นำความคิด ของคนได้เยอะแยะเลย
แล้วอยากจะขอฝากไว้อีกข้อหนึ่งว่า ในภาวะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็วข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นมากมายมหาศาล ต้องบอกว่าไม่มียุคใดเลยที่สติและสมาธิมีความจำเป็นกับเราและผู้คนในโลก ขนาดนี้ แม้แค่ประโยชน์ขั้นต้นสุดของสมาธิก็ตาม
คือ การทำใจให้สงบ ก็เป็นความจำเป็นอย่างมหาศาลสำหรับคนในยุคนี้เสียแล้ว
คนไหนมีใจนิ่ง มีสมาธิ หยุดจะเป็นตัวสำเร็จ ทำให้เขาเหล่านั้นสามารถ มองความเปลี่ยนแปลงรอบตัว มองข้อมูลรอบตัวได้ อย่างกระจ่าง แล้วจะสามารถทำตามหลัก ๓ ข้อ คือ …
บริหารเวลาได้ หยิบเอาข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาใช้ได้อย่างเต็มที่ ให้ข้อมูลที่ดี เป็นประโยชน์ และ น่าสนใจกับชาวโลกได้ตามที่ตั้งใจ
วันนี้ได้รับอาราธนาให้พูดถึงเรื่องของโลกแบน คำว่า โลกแบน ไม่ใช่หมายถึงโลกทางด้านกายภาพว่าจากโลกดวงกลมๆ กลายเป็นแบนไป แต่เป็นการเปรียบเทียบถึงการที่ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลถึงกันได้อย่างรวดเร็วมหาศาล จนกระทั่งเหมือนกับว่า ทุกอย่างอยู่ใกล้กันไปหมดเลย แล้วทุกคนก็มีโอกาสมากมายเกิดขึ้นเรื่องนี้ แม้แต่อยู่ในวัด กระแสก็เข้าถึงเหมือนกัน อย่างเช่น อาตมานั่งอยู่ที่วัด เวลาจะติดต่อกับศูนย์สาขาในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นที่โตเกียว นิวยอร์ก ลอนดอน ปารีส ออสเตรเลีย ซิดนีย์ สามารถใช้เบอร์โทรศัพท์ภายในได้ โทรแค่ ๔ หมายเลข เสียค่าใช้จ่ายเหมือนโทรศัพท์ภายในเราสามารถติดต่อสาขาต่างประเทศเองโดยใช้โทรศัพท์ภายในได้ เหมือนกับว่า ทั้งโตเกียว นิวยอร์ก ซิดนีย์ เหล่านี้ มีออฟฟิศอยู่ข้างๆ ออฟฟิศของเราในวัดนี่เอง
ระยะทางทางภูมิศาสตร์ไม่ได้เป็นอุปสรรคเลย จากความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีเลยมองกว้างไปถึงทั้งโลก การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีตรงนี้ ทำให้คนแต่ละคนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลในโลก ได้โดยตรงจำนวนมหาศาล อยากรู้เรื่องอะไรก็สามารถค้นได้เลยว่าเรื่องนั้นสาระจริงๆ เป็นอย่างไร
ถ้าเป็นสมัยก่อนอยากจะรู้เรื่องอะไรที่ต้องเขียนจดหมายไปถามหน่วยราชการ ต้นแหล่ง ก็อาจต้องรออีกสักเดือน สองเดือน
หรืออาจจะหายเงียบไปเลย แต่นี่เข้าเว็บไซต์ปั๊บ ค้นปุ๊บ เดี๋ยวก็เจอ แล้วต้องการรู้เรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องอีก ก็ไปค้นตอเดี๋ยวก็เจออีก ถ้าเราให้ ข้อมูลที่ดี ที่น่าสนใจ จะมีผู้คนจากทั่วโลกมารับข้อมูล ข่าวสารจากเรา คือ เขามีโอกาสจะเข้าถึงข้อมูลของเราได้ ถ้าเขาต้องการ อยู่ที่ว่าเราเองสามารถทำให้ข้อมูลของเรา เป็นที่สนใจได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง
ในเมื่อภาวะแวดล้อมของตัวเราขณะนี้ เกิดสิ่งอย่างนี้ขึ้นมาแล้วก็มีวิวัฒนาการต่อไปอย่างรวดเร็ว นับวันจะยิ่งเร็วขึ้นๆ
เราควรจะมีหลักปฏิบัติอย่างไร จึงจะรับมือกับเรื่องของโลกแบนนี้ได้อาตมภาพอยากจะขอฝากหลักปฏิบัติไว้ ๓ ข้อ ประการแรก คือ
๑. คุมเวลาเอาไว้ให้ได้ เพราะเนื่องจากเราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เยอะ ถ้าเราไม่คุมเวลาให้ดี
ไม่ตั้งประเด็นว่าจะหาข้อมูลเรื่องอะไรให้ดี ผลคือว่า เราก็อาจจะเข้าไปในเว็บไซต์ หาข้อมูลเรื่องนี้ พอเจออีกเรื่อง เห็นหัวเรื่องน่าสนใจดี ก็ไปดู
แล้วก็ดูต่อๆ ไปอาจจะดูหมดวันหนึ่งเลย เพราะฉะนั้น จะต้องตั้งวินัยในตัวเอง แล้วคุม เวลาตัวเองให้ได้ เราจะให้เวลาเรื่องนี้วันหนึ่งเท่าไร อาจจะหนึ่งชั่วโมง หรือบางคนโดยอาชีพจำเป็นต้อง ใช้ข้อมูลเยอะ อาจจะ ๒ ชั่วโมง หรือ ๓ ชั่วโมงแต่ต้องมีวินัยเรื่องเวลา ต้องคุมเวลา มิฉะนั้นเราจะ ถูกกระแสข้อมูลพัดท่วมจมหายไปเลย แล้วก็ไม่ค่อย ได้อะไร
แล้วสิ่งที่ผ่านตัวเรามันมีทั้งเพชรนิลจินดา คือ เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับเรามากก็มี ข้อมูลที่เป็นเหมือนกรวด พื้นๆ ไม่ค่อยเป็นประโยชน์เท่าไร ก็มี ที่เป็นเหมือนขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลก็ไม่น้อย สิ่งเหล่านี้จะทำให้ใจเราเปรอะเปื้อน เสียทั้งเวลา เสียทั้งคุณภาพของใจ แล้วก็ไม่ได้อะไรเลย มีแต่ติดลบอย่างเดียว
หลักปฏิบัติข้อที่ ๒ คือ เราจะต้องตั้งหลัก ให้ดีว่า เราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างไร ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เปิดกว้างขึ้นมานี้อย่างไร
ในเรื่องของการใช้ประโยชน์ คือเราต้องคิดก่อน ว่า ขณะนี้เราต้องการข้อมูลเรื่องอะไร ก็เจาะเรื่องนี้ ให้ได้ จับหลักให้แม่น เจาะเรื่องนั้นเอามาให้ได้จริงๆ จะใช้ประโยชน์อย่างไร ต้องคิดตลอดเจอข้อมูลแต่ละเรื่องที่น่าสนใจ
อย่าหยุดแค่คำว่าน่าสนใจ ให้คิดต่อว่า แล้วเราจะเอาเรื่องนี้มาใช้ประโยชน์ในการทำงานจริงๆ ได้อย่างไร ถ้าคิดไปถึงขั้นตอนการนำมาใช้ประโยชน์แล้ว เราจะเลือกหยิบ เลือกศึกษา รวบรวมข้อมูลได้แม่นขึ้น ตรงขึ้น
ข้อมูลที่เป็น ของเฟ้อก็จะค่อยๆ ถูกกันออกไป
เราอย่าเพียงแต่คิดว่าจะเป็นคนที่จมอยู่ในข้อมูล แต่ขอให้คิดในฐานะที่เป็นผู้สร้างสรรค์ว่าเราจะ ใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์อย่างไร ใช้โอกาสที่มาถึงอย่างไรให้ดี ถ้าคิดในฐานะผู้สร้าง ผู้ผลิต เราจะใช้ประโยชน์ได้มาก มุมมองเราจะกว้างขึ้นและจะสามารถใช้ประโยชน์จากโลกที่เปลี่ยนไปได้เต็มที่ขึ้น
มาถึงข้อที่ ๓ คือ ให้เราคิดด้วยว่าเราจะให้ข้อมูลที่ดีกับโลกได้อย่างไร อย่าคิดแต่เรื่องประโยชน์ ทางธุรกิจอย่างเดียว เพื่อต้องการแต่เรื่องทรัพย์สินเงินทอง แต่ควรคิดว่าจะให้สิ่งดีๆ กับโลกได้อย่างไร
ถ้าข้อมูลในทางด่วนข้อมูลเหล่านี้มีทั้งที่เป็นขยะ ทั้งที่เป็นเพชรนิลจินดา อย่างที่กล่าวไปแล้ว ทำอย่างไรเราจะเพิ่มส่วนที่เป็นเพชรนิลจินดาให้มากขึ้น ลดขยะให้น้อยลง
เชื่อไหมว่าแค่พิมพ์คำหยาบคาย ใจมันก็หยาบตามไปแล้วคนพิมพ์คำหยาบ วันหนึ่งเป็นสิบเป็นร้อยคำ ร้อยความเห็น หลับก็ไม่เป็นสุขแล้ว ใจจะหยาบกระด้าง ถ้าทำทุกวันจะเป็นคนก้าวร้าว ชีวิตก็ไม่มีความสุข ครอบครัวก็จะมีปัญหาเพื่อนฝูงก็มีปัญหาหมด คนอ่านใจก็หมอง ไม่เกิดประโยชน์
ขณะเดียวกัน ใครมีความสามารถจะให้ข้อมูล ที่ดี เป็นประโยชน์ ก็ให้ไปตามความถนัดตามความรู้ ความสามารถของตัวเอง
อย่างทางวัดเองก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของพระ ของวัด ก็ให้ความรู้ธรรมะโดยผ่านเทคโนโลยีเหล่านี้
เท่ากับว่า พวกเราทุกคนจะมีส่วนในการเพิ่มข้อมูลที่ดีให้กับโลก เพื่อจูงโลกให้ไปสู่หนทางที่ถูกต้อง เทคโนโลยีที่พัฒนาเหล่านี้ จะทำให้โอกาสในการนำธรรมะไปสู่โลกทำได้ง่ายขึ้นและดีขึ้น ถ้าเป็น สมัยก่อนจะสอนธรรมะให้กับใคร เราคงจะต้อง ดั้นด้นไปถึงประเทศนั้นโดยตรง หรือให้เขามาหา เราถึงจะทำได้แต่ตอนนี้ถ้าเราให้เนื้อหาธรรมะที่ดี แปลเป็นภาษาที่เขาอ่านแล้วเข้าใจ โดนใจเขา ไม่แน่ อาจจะมีคนจากทุกมุมโลกที่เขาไปเจอเนื้อหาธรรมะนี้ แล้วสนใจ
และเดินทางมาหาเรา เริ่มจากศึกษาในเว็บไซต์ก่อน จากดาวเทียมก่อน ถ้าเขาประทับใจจริงๆ ถึงจุดหนึ่งก็จะต้องการมาพบตัว แล้วก็มาศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง นี่ก็เป็นวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง
เพราะฉะนั้น ต้องบอกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะเปิดหนทางที่กว้างขวางสำหรับการเผยแผ่ธรรมะ สำหรับให้สิ่งดีๆ กับโลก และพวกเราทุกคนสามารถ ให้สิ่งดีๆ กับโลกได้
อย่างเช่น เว็บบล็อก เราสามารถสร้างบล็อกของตัวเองได้ เหมือนกับเขียนไดอารี่ เขียนข้อความอะไรก็ได้ ถ้าเราทำได้ดี ก็จะมีคนสนใจเข้ามาอ่าน
อยู่ที่ว่าเราสื่อสารข้อมูลออกไปมีเสน่ห์พอหรือเปล่า คมพอหรือเปล่า ดึงดูดพอหรือเปล่า ถ้าถึงจุดเราจะชี้นำความคิด ของคนได้เยอะแยะเลย
แล้วอยากจะขอฝากไว้อีกข้อหนึ่งว่า ในภาวะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็วข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นมากมายมหาศาล ต้องบอกว่าไม่มียุคใดเลยที่สติและสมาธิมีความจำเป็นกับเราและผู้คนในโลก ขนาดนี้ แม้แค่ประโยชน์ขั้นต้นสุดของสมาธิก็ตาม
คือ การทำใจให้สงบ ก็เป็นความจำเป็นอย่างมหาศาลสำหรับคนในยุคนี้เสียแล้ว
คนไหนมีใจนิ่ง มีสมาธิ หยุดจะเป็นตัวสำเร็จ ทำให้เขาเหล่านั้นสามารถ มองความเปลี่ยนแปลงรอบตัว มองข้อมูลรอบตัวได้ อย่างกระจ่าง แล้วจะสามารถทำตามหลัก ๓ ข้อ คือ …
บริหารเวลาได้ หยิบเอาข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาใช้ได้อย่างเต็มที่ ให้ข้อมูลที่ดี เป็นประโยชน์ และ น่าสนใจกับชาวโลกได้ตามที่ตั้งใจ
« « Prev : ใครเอ่ย ที่มักจะเป็นศูนย์รวมของผู้คนและเพื่อนฝูง
15 ความคิดเห็น
ตัวอย่างการใช้โอกาสจากข้อมูล……
google เพิ่งเกิดมาแค่ ๗ - ๘ ปีนี้เอง จากพนักงานออฟฟิศ ๒ คน ที่เดิมเป็นพนักงานกินเงินเดือน แล้วก็เกิดไอเดียขึ้นมาว่า เมื่อเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นมาแล้ว ข้อมูลมันเยอะ คนไม่รู้จะไปค้นข้อมูลที่ไหน อย่างไร ถ้าทำโปรแกรม ที่เรียกว่า เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ ช่วยเขาค้นข้อมูล อยากจะรู้เรื่องอะไร แค่พิมพ์คำที่อยากจะรู้เข้าไป โปรแกรมจะสามารถช่วยหาได้ว่า ข้อมูลนั้นอยู่ตรงไหน มันน่าจะมีประโยชน์ เริ่มจาก จับไอเดียได้ถูกต้อง ใช้โอกาสได้ถูกเวลา ผ่านมาเพียงแค่ ๗ - ๘ ปี
ตอนนี้บริษัท google กลายเป็นบริษัทที่มูลค่าหุ้นตามตลาดหลักทรัพย์เป็น แสนล้านเหรียญเลย สี่ล้านล้านบาท จากพนักงาน กินเงินเดือน ๒ คน กลายเป็นมหาเศรษฐีใหญ่เพราะจับหลักที่ถูกต้อง รู้จักใช้โอกาสที่มาถึง
อันนี้ไม่ใช่เรื่องของการหาข้อมูลโดยตรง แต่เป็นลักษณะ ว่าจะใช้ข้อมูล ใช้โอกาสได้อย่างไร จะจัดการข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างไร
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คนที่ตั้งเว็บไซต์ youtube เว็บไซต์นี้เพิ่งเกิดขึ้นมาแค่ ๒ ปี เท่านั้นเอง เริ่มต้น จากการพัฒนาเทคโนโลยีไปอีกขั้นหนึ่งพอเกิด อินเทอร์เน็ตบอร์ดแบรนด์ความเร็วสูงขึ้นมา ความเร็ว สูงจนกระทั่งสามารถรับไฟล์วีดิโอเป็นสตรีมมิ่ง คือ ดูวีดิโอทางอินเทอร์เน็ตได้ แต่ก่อนใช้ข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ หรือเป็นภาพนิ่งๆ แต่พอความเร็วสูง ขึ้นมา สามารถดูวีดิโอที่เป็นภาพเคลื่อนไหวอย่างมีคุณภาพได้ เขาก็เริ่มคิดตั้งเว็บไซต์ขึ้นมา แล้วก็เอา
วีดิโอที่น่าสนใจมารวมกัน ใครอยากจะรู้เรื่องอะไรก็มาดูที่นี่ได้เลย
พอเขาจับไอเดียถูก ทั้งที่จุดเริ่มต้นมีวีดิโอที่มารวมอยู่แค่ ๕๐ เรื่องเท่านั้น ก็ประกาศออกไป ใครมีวีดิโออะไรที่น่าสนใจ ที่ถ่ายเอง อะไรก็ได้ ก็เอามาใส่ที่นี่ แล้วเขาก็ทำหน้าที่จัดหมวดหมู่ให้คนเข้ามาเลือกหาข้อมูลได้ง่าย
พอจับถูกทางแค่ปีเศษ จากวีดิโอ ๕๐ เรื่อง ตอนนี้เขามีให้ดูประมาณ ๑๐๐ ล้านเรื่อง แล้วก็เพิ่มขึ้นทุกวัน เว็บไซต์เป็นที่นิยม จนกระทั่ง google เจ้าเก่ามาขอซื้อไปราคาประมาณ ๑,๖๐๐ ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท พอจับถูกทางจากพนักงานกินเงินเดือน ปีกว่าก็สามารถสร้างธุรกิจแล้วก็ได้สินทรัพย์เพิ่ม ขึ้นมา ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท
นี่คือโอกาสที่เกิดขึ้น แต่คงไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะทำอย่างนี้กันหมด นี่เป็นเพียงตัวอย่างว่า เราอย่าเพียงแต่คิดว่าจะเป็นคนที่จมอยู่ในข้อมูล แต่ขอให้คิดในฐานะที่เป็นผู้สร้างสรรค์ว่าเราจะ ใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์อย่างไร ใช้โอกาสที่มาถึงอย่างไรให้ดี ถ้าคิดในฐานะผู้สร้าง ผู้ผลิต เราจะใช้ประโยชน์ได้มาก มุมมองเราจะกว้างขึ้นและจะสามารถใช้ประโยชน์จากโลกที่เปลี่ยนไปได้เต็มที่ขึ้น
สรุปหลักปฏิบัติที่จะรับมือกับเรื่องของข้อมูลอันมากมายมหาศาล
มีหลักปฏิบัติไว้ ๓ ข้อ ประการแรก คือ
๑. คุมเวลาเอาไว้ให้ได้
๒.เราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างไร ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เปิดกว้างขึ้นมานี้อย่างไร
๓.ให้เราคิดด้วยว่าเราจะให้ข้อมูลที่ดีกับโลกได้อย่างไร
Blog คือ...
online journal where an individual, group, or corporation presents a record of activities, thoughts, or beliefs.
Other blogs concentrate on presenting original material.
In addition, many blogs provide a forum to allow visitors to leave comments and interact with the publisher.
“To blog” is the act of composing material for a blog. Materials are largely written, but pictures, audio, and videos are important elements of many blogs.
The “blogosphere” is the online universe of blogs.
อรุณสวัสดิ์ค่ะพี่ศศินันท์
มาอ่านแล้ว…ได้สติค่ะ ทุกวันนี้คนไม่มีรากหลงอยู่กับข้อมูล จนเมา…
อ่านนี่อ่านนั่นแล้ว ใช่และน่าสนใจไปเสียหมด แต่ละวันใช้เวลาอยู่หน้าจ
ท่องโลกอินเตอร์เน็ตมากเกินกว่า 4-5 ชั่วโมงแต่ข้อมูลได้น้อยมากค่ะ
ต้องบอกว่าโชคดีค่ะที่ได้มาอ่านบันทึกของพี่ ….
จะยึดเป็นหลักในการปฏิบัติค่ะ
สรุปหลักปฏิบัติที่จะรับมือกับเรื่องของข้อมูลอันมากมายมหาศาล
มีหลักปฏิบัติไว้ ๓ ข้อ ประการแรก คือ
๑. คุมเวลาเอาไว้ให้ได้
๒.เราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างไร ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เปิดกว้างขึ้นมานี้อย่างไร
๓.ให้เราคิดด้วยว่าเราจะให้ข้อมูลที่ดีกับโลกได้อย่างไร
(^___^)
ส่งภาพดอกบัวขาบมาแทนคำขอบพระคุณค่ะ
คนเราอ่านได้ หาข้อมูลได้ แต่ การนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์
มันเป็นสิ่งที่ต้องฝึกและต้องสร้างมุมมองของตนเองให้กว้าง เพื่อจะได้รู้ว่า
ข้อมูลนี้จะไปใช้ที่ไหน และทำอย่างไร ให้เกิเดประโยชน์ต่อตน บริษัท และสังคม
ขอบคุณครับพี่
ค่ะ คุณขจรศักดิ์
ข้อมูลในทางด่วนข้อมูลเหล่านี้มีทั้งที่เป็นขยะ ทั้งที่เป็นเพชรนิลจินดา เราคงจะเพิ่มส่วนที่เป็นเพชรนิลจินดาให้มากขึ้น ลดขยะให้น้อยลง นะคะ
ดีใจที่คุณ คนไม่มีราก มาเยี่ยม
ท่านเทศน์ดีมากค่ะ เลยนำมาฝากกันค่ะ
เราอย่าเพียงแต่คิดว่าจะเป็นคนที่จมอยู่ในข้อมูล แต่ขอให้คิดในฐานะที่เป็นผู้สร้างสรรค์ว่าเราจะ ใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์อย่างไร
ครับผม
ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะคะ คุณสิทธิรักษ์
สาธุ ขอบคุณมากค่ะ ที่กรุณานำเรื่องมาเรียบเรียงให้ได้อ่านกันค่ะ ถ้าเป็นไปได้ซากุระอยากอ่านเรื่อง “MQ & EQ” ที่ท่านเคยเทศด้วยค่ะ
อุ๊ย พิมพ์ผิด ขออภัยค่ะ ขอแก้ไขคำผิดนะคะ “เทศน์” ค่ะ ไม่ใช่ “เทศ”
ไม่เป็นไรค่ะ พิมพ์ผิดนิดหน่อย ตัวเอง ก็พิมพ์บ่อยๆเลยค่ะ และจะเข้าไปอ่าน เรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ของคุณ ที่ญี่ปุ่น อีกค่ะ