แวะมาส่งข่าว การพบรมช.พลังงาน
ผมตามไปเป็นเด็กหิ้วข้อมูลในการพบท่าน รมช.กระทรวงพลังงานและท่านที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2552
ไม่ได้พูดซักคำ ฟัง ฟัง และฟัง คิด คิด และคิดตาม
ทำ AAR ส่งในบันทึกนี้
feeling - เรายังวนอยู่ในระบบราชการเดิมๆ มีท่านผู้นำ ท่านที่ปรึกษา และผู้ประสานงาน
finding - ระบบบริหารยังเป็นระบบการตั้งรับ การทำงานแบบป้องกันตัวเอง มิให้ถูกโจมตี ไม่มีการเสี่ยงในแนวทางใหม่ๆเพื่อการเปลี่ยนแปลง
willing - nothing, คงมีงานเอกสารที่ต้องทำเพิ่ม กลับมาในแนวทางที่เราอยากทำดีกว่า รบแบบกองโจรต่อไป
หมดเวลาไปอีกหนึ่งวันครับ
แฮ่ม ส่งการบ้านคุณ bangsai แล้วครับ
การส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนยังเป็นแบบยัดเยียด 99% ครับ
เอาเครื่องมือไปให้ เอาวิทยากรไปสอน แล้วเครื่องมือก็ตั้งเป็นอนุสาวรีย์
เพราะขาดความต้องการในรากฐานจริงๆ
เราต้องการแค่ผลงาน ไปบอกผู้ใหญ่ ไปบอกนาย ไปประชาสัมพันธ์ ว่า สนับสนุนแล้วน่ะ และประเมินผลกับแบบปลอมๆ
ซึ่งหากเก็บงบประมาณเหล่านี้ ไปให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา สร้างคนมากกว่าสร้างของ ไม่เอาความสำเร็จที่อยากได้ดั่งใจ ค่อยๆวางพื้นฐาน ช้าหน่อยแต่ยั่งยืน อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
แต่ แนวคิด แบบด่วนทันใจ ที่ไม่ได้คำนึงถึงความพร้อมพื้นฐาน มันอยู่ในสายเลือดของนักบริหารเมืองไทยเสียแล้ว
การพัฒนาเมืองไทย จึงก้าวไปอยากช้าๆ
จาก ลานคนขี้บ่น
ผม..เอง
ปล. ผมรู้แล้วครับ ว่าการเขียนบ่นเป็นการระบาย โดยมีผู้อ่านนั่งอ่านอย่างเงียบงัน
หลังจากเขียนบ่นแล้ว ผมก็สบายใจ ผมต้องการเพียงได้บ่นเท่านั้น อิอิ
« « Prev : การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานทดแทน
Next : UNESCO และบทบาทของอุดมศึกษา » »
6 ความคิดเห็น
ฮึ ขอร่วมบ่นด้วยแล้วกันค่ะ ^ ^
ทำอย่างไรจะทำให้เกิดการคิด การศึกษาพลังงานทดแทนในระดับครัวเรือนได้คะ?
เบิร์ดนึกถึงตัวเองเป็นตัวตั้ง ในฐานะที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งจริงจัง แต่เกิดความรู้สึกอยากได้วิธีที่จะบอกหรือคำนวณได้ว่าบ้านเบิร์ดในปัจจุบัน มีการใช้พลังงานอะไรเท่าไร และถ้าปรับปรุงให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนในบ้านภายใต้ข้อจำกัดแบบนี้ๆๆๆๆ มีทางเลือกอะไรได้บ้าง แบบไหน อย่างไร
แต่เบิร์ดพบว่าการพูดถึงพลังงานทดแทนในระดับต่างๆ มักจะบอกแต่สเกลใหญ่ หรือการใช้โซลาร์เซลล์เพื่อทำน้ำอุ่นใช้ในครัวเรือน แต่ที่เบิร์ดต้องการคือมีอะไรมากกว่านี้หรือไม่ และมีช่องทางไหนที่จะสามารถคำนวณหรือปรึกษา”ผู้เชี่ยวชาญ”ได้อย่างกระจ่างแจ้ง บนโจทย์ส่วนบุคคลไม่ใช่คำตอบแบบ mass กว้าง ๆ ทั่ว ๆไป
มีองค์ความรู้ที่ลงสู่ระดับครัวเรือนได้หรือเปล่าคะ ที่สามารถดัดแปลงได้เอง หรืออาจรวมกลุ่มในระดับชุมชน ที่สามารถตอบโจทย์ได้ เช่น ในชุมชนนี้มีขยะเยอะ ซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นขยะเปียก ถ้าหมักทำก๊าซมีเทนเพื่อใช้ในการหุงต้ม โดยมีปริมาณขยะวันละ 120 กก. มีจน.ครัวเรือน 100 ครัวเรือน ควรทำบ่อขนาดเท่าไร ฝาปิดควรเป็นทรงโดมหรือสี่เหลี่ยม จะวางท่อส่งแก๊สอย่างไร เมื่อย่อยสลายหมดแล้ว จะตักกากอย่างไรถึงจะสะดวกที่สุดเพื่อไปทำปุ๋ยคอกต่อ ฯลฯ
ความกระจ่างแบบนี้แหละค่ะที่อยากได้ โดยยืนอยู่บนโจทย์ของชุมชนมากกว่าการมาส่งเสริมให้ปลูกโน่นปลูกนี่แล้ว แบะๆๆๆ กันต่อไป
จะค่อยๆหามาให้นะครับ ตามเรื่องที่บอกมา
แต่ตอนนี้ผมได้หนังสือจาก สสส. พลัง+งาน ปฏิบัติการพลังงานเพื่อชุมชน อ่านเป็นประจำอยู่
คุณเบิร์ดมีรึยังครับ ถ้ายังน่าจะสมัครสมาชิกได้ที่ ener…@hotmail.com
มี http://www.energygreenhealth.com เป็นอีก 1 ทางเลือกครับ
ขอบคุณครับ ผมสนับสนุนให้ใช้ความรู้ที่ท่านมี โดยเฉพาะเพื่อสังคม ชุมชน กระตุก ท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายได้ตระหนัก สำนึก คิดอ่านกันต่อไป จริงๆผมสนับสนุนแนวคิดของเบิร์ดเขา เพราะผมเองก็ทำงานในระดับเล็กๆในชุมชน จึงอยากทำอะไรใน scale ที่เล็ก แบบ จิ๋วแต่แจ๋ว ซึ่งยิ่งทำงานผมก็ยิ่งเห็นว่า ส่งเสริมในระดับเล็กๆ สำเร็จง่ายกว่า และยั่งยืนกว่าใหญ่ๆ แต่อย่างไรก็ตามระบบของเราก็ยังต้องเป็นเช่นนี้ ก็ว่ากันไป
หากท่านตั้งใจทำงานเพื่อสังคม ชุมชน ประเทศชาติแท้จริง ยืนตรงไหนก็ได้ครับ ทุกที่ที่ยืนมีความสำคัญทั้งนั้นตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ลงไปเรื่อยๆจนถึงปราชญ์ชุมชนพ่ครูบาฯ และชาวบ้านทั่วๆไปที่ไม่มีเวทีอะไรแก่เขาเลย ทุกจุดของสังคมสำคัญหมด เพียงแต่เชื่อมต่อกันให้ได้ พูดจากันให้รู้เรื่อง ผมก็สนับสนุนท่านให้พยายามผลักดันแนวคิดดีดีแก่ผู้มีอำนาจบริหารประเทศชาติให้เกิดประโยชน์แท้จริงเถิดครับ
ขอบคุณครับ
ผมก็พูดไปเรื่อยๆ ในเวทีที่มีคนฟังผมนะครับ
ผมเห็นด้วยกับคุณ bangsai ว่าทุกคนมีที่ยืนในหลายๆพื้นที่ครับ และผมก็จะพยายามทำจากศักยภาพที่ผมมีไปเรื่อยๆ
ทำกับชุมชนผมก็ชอบครับ ยินดีที่เขาได้ประโยชน์จากสิ่งที่เรารู้นะครับ
บ่นไปชิมไป เอ๊ย…… บ่นไปทำไป ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ว่าแต่ท่านจอมป่วน กลับถึงบ้านหรือยังครับเนี๊ยะ