ทัวร์สามทหารเสือ วัดดอยทอง
อ่าน: 286จากการไปร่วมกิจกรรมเฮ 6 ทหารนอกอย่างลุงเอก พาสามทหารเสืออันประกอบด้วยหมอเจ๊ อึ่ง และอุ๊ยจันตา ที่หลงมานั่งรถกับลุงเอกให้เป็นสารถีให้โดยมิได้นัดหมาย พอออกจากที่พักไปชมรอยพระบาทในค่ายพ่อขุนเม็งราย ออกจากค่ายก็ตะลุยขึ้นเขาดอยทองหลังค่ายว่าจะไปกราบไหว้พระธาตุจอมทอง หันไปดูข้างหลังไม่มีใครตามมาสักคน
คนเชียงรายและคนที่มาเที่ยวที่เชียงรายนี่มักไม่มีใครรู้จักและสนใจที่จะมาวัดนี้เท่าใดนัก ทั้งยังไม่มีอยู่ในแผนที่การท่องเที่ยว เหตุเพราะว่าวัดนี้มีมาก่อนอาณาจักรพ่อขุนเม็งรายหลายร้อยปีนัก หรืออาจจะพันปีก็เป็นได้ยังไม่มีใครศึกษาสำรวจ ลุงเอกว่าน่าจะสมัยอาณาจักรหิริภุญไชย ปี 1200 เพราะในขณะนั้นนางจามเทวีที่ปกครองอยู่ลำพูนท่านสนใจในพระพุทธศาสนามาก ว่ากันว่าท่านเป็นผู้นำศาสนาพุทธเข้ามาในล้านนา
เรียกได้ว่าวัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่วัดแรกในเชียงรายก็ว่าได้ ความที่ลุงเอกเคยมารับราชการอยู่ถิ่นนี้เป็นเวลาร่วม 5 ปีตั้งแต่ปี 2515 ขอโทษหลานๆที่ยังไม่เกิดด้วย ลุงเอกมาที่ค่ายนี้บ่อยๆจึงทำให้ทราบเรื่องราวบ้าง มาเมื่อไดที่เชียงรายก็มักจะให้คนที่มาด้วยออกนอกเส้นทางไปชมเสมอเพราะเก่าแก่จริงๆพระคุณท่าน
พ่อขุนเม็งรายน่ะท่านมาพบวัดนี้เมื่อปี พ.ศ. ๑๘o๕ คือตามช้างมาตามน้ำกกแล้วมาเจอวัดจึงสร้างเมืองอยู่ที่นี่ ว่ากันว่ามีเขียนไว้ในพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า พระเถระนามพระพุทะโฆษา ชาวโกศลเมืองสุธรรมวดีได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งพระธาตุส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสรงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)
ในวัดจะมีกรุวัฒนธรรม บรรจุเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชาติไทย โดยบรรจุไว้เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2544 เขียนบอกไว้ว่ากำหนดเปิดอีก 100 ปีข้างหน้า คือวันที่ 19 มกราคม 2644 ลุงเอกคงตายแล้วมาเกิดใหม่ อาจจะเป็นสุนัขอยู่แถวนั้นก็ได้ ที่เชียงใหม่ก็มาเลียนแบบในภายหลังจะเปิด 13 เมษายน 2645 คือหลังเชียงราย 1 ปี ที่ทำอย่างนี้เพราะต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า สืบต่อมรดกอันดีงามของชาติไทยต่อไป แต่ทำไม่ไม่มีใครใคร่ไปดูหนา…
เสาสะดือเมืองนี้จะใหญ่เท่าห้ากำมือและสูงเท่ากับความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน โคนเสาสะดือเมืองนี้จึงใหญ่เท่ากับห้าพระหัตถ์กำ และสูงเท่ากับส่วนสูงแห่งพระวรกาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ได้เสด็จมาเจิมเสาสะดือเมืองนี้ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2531 ชาวเชียงรายจะมาสรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวเมือง และเชื่อว่าน้ำที่สรงเสาสะดือเมืองแล้วเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ (อ่านได้ในแผ่นหินอ่อนที่อธิบายความครับ)
« « Prev : ท่าอากาศยานเมดาน ประเทศอินโดนีเชีย
Next : มิตรภาพที่เชียงแสน ดินแดนโยนกนาคนคร » »
5 ความคิดเห็น
มาแล้วๆๆๆๆ ภาพขึ้นแล้ว 55555+++….คิดถึงๆๆๆๆๆๆทหารเสือ ป่วนเหมือน ทหารลิงหรือเปล่าจ๊ะ ลุงจ๋า
มาอมยิ้มขำกับคำบ่นนิดๆของลุงเอกว่าทำไมไม่มีใครตามไป อิอิอิ
ตามกำหนดการที่ตกลงกับทางเชียงแสนเราไม่สามารถ”แตกแถว”ได้เลยค่ะลุงเอก ไหนจะเคลื่อนย้ายคนจำนวนมาก ไหนจะรอน้องตาหยู ไหนจะไปเอาเสื้อที่น้องราณีส่งมา..สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่เอื้อให้เราทำอะไรได้มากนัก แต่ดีใจที่มีคนรู้จักวัดนี้นะคะ เพราะเคยพาพี่ตากับพี่อึ่งอ๊อบขึ้นไปดูแล้วเมื่อครั้งมาชร.คราวก่อน
เสริมรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของวัดดอยจอมทองอีกนิดค่ะ วัดนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพญาเรือนแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยปัจจุบัน) ในปี ๑๔๘๓ ค่ะ โดยในการสร้างวัดครั้งนั้น ได้มีการสร้างองค์พระเจดีย์ประธานของวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหาเถระชาวลังกาได้นำมาถวายแด่พญาพังคราชแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์(เชียงแสน) ซึ่งพญาพังคราชได้โปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 3 ส่วน และนำไปประดิษฐาน ณ พระบรมธาตุเจดีย์ที่สำคัญของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ได้แก่ พระธาตุดอยตุง พระธาตุจอมกิตติ และพระธาตุดอยจอมทองนี่แหละค่ะ
เจดีย์ที่เห็นเป็นองค์บูรณะใหม่เนื่องจากองค์เดิมพังหมดตั้งแต่สมัยเชียงรายแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วค่ะ ประวัติตอนนี้เลือนลางไม่แน่ใจว่าตอนที่พ่อขุนเมงรายตามช้างมาจนถึงวัดดอยทองนี้ยังมีเจดีย์อยู่หรือไม่ แต่ทราบว่าเจดีย์องค์ที่เห็นไม่ใช่องค์เดิมแน่นอนค่ะ
เสาสะดือเมืองก็เช่นกัน เมื่อเปลี่ยนผู้บริหารก็ถูกละเลย ไม่มีการดูแลให้สวยเหมือนเดิม น้ำ ๕ ร่องที่เปรียบเป็นปัญจมหานทีก็สกปรก ไม่มีบัวงามเหมือนตอนเปิดใหม่ๆ ดังที่เห็นนั่นแหละค่ะ ที่เลือกชัยภูมินี่สร้างเสาสะดือเมืองก็เพราะเป็นส่วนที่สูงที่สุดของอ.เมืองชร. เป็นที่ตั้งพระธาตุเก่าแก่ และมีอาณาบริเวณมากพอในการกำหนดให้เป็นสมมุติของจักรวาลที่มีมาแต่คติล้านนาโบราณเดิม
มีอีกหลายวัดที่ไม่อยู่ในการท่องเที่ยวเช่นวัดมิ่งเมืองที่มีโบสถ์ไม้สักโบราณอายุกว่า ๗๘๒ ปีก็ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดายค่ะลุงเอก อนุรักษ์ไว้เพียงโบสถ์แต่บ่อน้ำช้างมูบที่เคยเป็นแหล่งพักพิงให้ผู้คนที่เดินทางเข้าออกเมืองชร.ได้ดื่มดับกระหายก็ถูกปิดทิ้งไม่ได้รับการเหลียวแล
มีอะไรอีกหลายอย่างที่ต้องคุยกับการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของชร.ค่ะ ..เคยมีช่วงหนึ่งที่บูมเที่ยววัด ๙ จอม วัดดอยจอมทองก็เป็นหนึ่งใน ๙ แห่งที่สำคัญ แต่พอเปลี่ยนคน เปลี่ยนเรื่องราว คราวนี้ก็เปลี่ยนเป็น ๗ Amazing ไปซะนี่
ขอบคุณที่ลุงเอกช่วยนำพาเรื่องราวอดีตของเชียงรายมาให้ได้รู้จักเพิ่มเติมนะคะ ^ ^
มารู้จักเมืองเชียงรายมากขึ้น โห….ยิ่งใหญ่จริงๆ น่าภูมิใจคนเชียงรายที่มีประวัติศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ประวัติศาสตร์เหล่านี้จะสร้างคนเชียงรายให้อิ่มเอิบในความเป็นผู้ร่ำรวยในวัฒนธรรม ผลักดันออกมาเป็นการสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่สังคมปัจจุบัน…
ขอบคุณครับ
อยากไปทัวร์ทิ้งทหารอ่ะ อิอิ
-ตอนเฮฯ 6 คิดว่าจะได้ไปนมัสการพระธาตุจอมทอง ความที่ไม่รู้ทางเขาจับนั่งไปตรงไหนก็ไปเรื่อยๆ มารู้อีกทีเลยมาแล้วกลับไปไม่ได้แล้ว…ตอนนั้นผิดหวังพอสมควรแต่ก็มานั่งนึกถึงคนจัดขบวนแล้วเลยได้แต่นั่งผิดหวัง และตั้งใจว่าอีกไม่นานจะกลับไปเชียงรายใหม่เพื่อไปนมัสการพระธาตุจอมทองคนเดียวก็ได้…