ส่งท้ายปีเก่า ของคนใกล้ตาย

โดย ลุงเอก เมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 8:02 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 6

ทุกข์ของคนเรานั้นอยู่ที่กายหรือใจกันแน่ ลุงเอกว่าสังคมไทยเรานั้นมีคนป่วยกายมากมายเห็นได้ทั่วไป แถมมีคนพิการทางจิตก็มากหลาย เราจะทำอย่างไรกันดีกังสังคมมนุษย์นี้

มีโอกาสผ่านไปแถวถนนแจ้งวัฒนะหลายครั้งล้วนลานตาที่มงเห็น ที่ทำงานใหม่ของลุงเอกข้างหน้าคือศูนย์ราชการ มองไปเห็นศาลปกครองยืนตระหง่านสร้างเอาไว้โก้หรูใหญ่โต ดูประหนึ่งว่าหาที่ใหญ่ๆไว้ให้คนทะเลาะกันมาใช้ เราจะสนับสนุนกิจกรรมนี้หรือนี่

แต่ใจมาหดหู่อยู่ที่ว่าความใหญ่โตนั้น แสดงว่าสังคมเรามีคดีความทางการปกครองมากหลายใช่ใหม คงจะไม่มีใครปฏิเสธได้ ก็งั้นแสดงว่าคนไทยมีปัญหากันมากจนยากจะแก้ไข ใช่ใหมครับ ก็คงตอบว่าใช่ เพราะเรามัวแต่คิดสั้นไม่คิดยาวนั่นเอง

ลุงเอกคงจะดีใจถ้าได้เห็นศาลเล็กๆ แสดงว่าคนไทยมีความสงบสุขไร้ทุกข์ ไม่ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในศาล ผู้พิพากษาจะได้ทำงานเฉพาะที่สำคัญเพื่อบ้านเมืองบ้าง

อยากให้สังคมไทยช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกัน ที่จะไม่สร้างบรรยากาศให้ต้องทะเลาะกัน ชิงดีชิงเด่นกันแบบสังคมทุนนิยมเสรีที่นำมาสู่ชีวิตเราได้ใหม ที่จะต้องแข่งขันกันเอาให้ตายไปข้างหนึ่ง มาให้ความรู้กันที่จะอยู่อย่างสันติสุข ได้ใหม

เมื่อเร็วๆนี้ไปดูงานที่ศาล ท่านบรรยายให้ฟังว่าต่อไปนี้ทางศาลจะมียุทธศาสตร์ใหม่ที่จะให้ความรู้ลงไปถึงชุมชน เรียกว่าสกัดกั้นไม่ให้คนเอาแต่เรื่องมาฟ้องร้องกันให้คดีรกศาล ลุงเอกเห็นด้วยกับวิถีเชิงป้องกันนี้อย่างยิ่ง ก่อนตายคงได้เห็น

ที่น่าทุกข์อีกเรื่องหนึ่งของสังคมไทยก็คือวงการแพทย์ สังคมที่มีการทะเลาะเบาะแว้งไม่กันเองก็กับคนไข้ เพราะเดี๋ยวนี้ไปที่ไหนก็จะมีการแข่งขันสร้างโรงพยาบาลเอาให้ใหญ่ๆเอาไว้ ก็ลุงเอกดูตัวเลขประชากรไทยไม่เพิ่มมาหลายปี ก็เพราะคุมกำเนิดได้ดี การตายและเกิดแทบจะเท่ากันเท่ากัน

แล้วมาตะบันสร้างมันแต่โรงพยาบาลใหญ่ๆทำไม หรือว่าวงการแพทย์เราล้มเหลว โรงพยาบาลของทหารเองลุงเอกก็เห็นสร้างกันเสียใหญ่โต แต่ทหารก็ยังเจ็บป่วยเหมือนเดิม ขยายกันจนทหารแพทย์มีมากกว่าทหารรบทั้งหมดทุกเหล่าในกองทัพ อีกหน่อยคงใช้ทหารแพทย์ออกรบแทนคงจะได้

หันมาดูโรงพยาบาลใกล้ๆบ้านที่เขาว่ากันเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่อยู่ข้างบ้าน ในการใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ตรงนี้ ๔๐ ปีผ่านมา ยังเห็นโรงพยาบาลแห่งนี้ขยายการก่อสร้างไม่หยุดหย่อน อย่างนี้แสดงว่าวงการแพทย์เราเก่งรักษาใช่ใหม ขอตอบว่าใช่ ถ้านับงบประมาณตัวเลขคงใช้ไปมากโขอยู่ ถามว่าถ้าคนไม่เข้าโรงพยาบาลจะดีใหม ต้องตอบว่าดีแน่เข้าเท่าที่จำเป็น

ตัวลุงเอกเองเข้าโรงพยาบาลนับน้อยครั้งมาก แต่ก็ผ่านชีวิตมาหกสิบกว่าปีแล้ว วงการแพทย์เขาบอกว่าผู้ชายไทยอายุเฉลี่ย ๗๒ ปี มีคนในกระทรวงสาธารณสุข บอกลุงเอกว่าไม่ใช่ต้อง ๗๖ แต่เท่าไรก็เอาเถอะ เท่าไรก็เท่านั้น แต่ให้รู้ว่าแกกำลังจะใกล้เข้าเส้นตายไปทุกทีแล้วนะ

ลุงเอกอยากเห็นวงการแพทย์ไทยใช้เงินไปในทางให้ความรู้แก่ชุมชนชาวบ้านถึงที่ชุมชน ในแนวทางป้องกันมากกว่าการสร้างแต่วัตถุ เป็นงานเชิงรุก ขอให้ใช้งบประมาณส่วนใหญ่ไปในการนี้ อย่าเอามาสร้างมันแต่ตึกๆๆๆ

โรงพยาบาลไหนมีคนมารักษาน้อย โรงพยาบาลเล็กๆ แต่ชุมชนมีคนมาก คนในชุมชนนั้นมีคนป่วยน้อยต้องให้รางวัลอย่างมากเลย ไม่ใช่ให้รางวัลที่รักษาคนได้มากๆ ที่ไหนคนป่วยมากขยายแต่โรงพยาบาลต้องตัดงบประมาณดีใหม

อยากให้สังคมไทยร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน เรียกว่าทำเชิงป้องกันมากกว่าทำแต่แก้ไข ที่เป็นระยะสั้นไม่ว่าจะเรื่องของความขัดแย้ง การขึ้นโรงขึ้นศาล การดูแลความเจ็บป่วย ขอให้ๆความรู้เชิงป้องกันให้มากๆ

ชาติหน้าเกิดใหม่จะได้มีความสุขบ้าง แต่ยังไม่รู้จะได้เกิดเป็นคนหรือสัตว์ แล้วไปอยู่ส่วนไหนของโลกก็ไม่รู้ เอาเป็นว่าชีวิตอยู่ในโลกใบนี้อีกไม่กี่ปีลุงเอกก็จะตายแล้ว แต่ทำไมคนไทยยังโหยหาอะไรกันอยู่อีกหนาสร้างแต่ตึกใหญ่แต่ใจยังเล็กอยู่

« « Prev : เขียนเรื่องที่ไม่มีใครเขียน ทัวร์สามทหารเสือ

Next : ชีวิตที่หลากหลาย ภายใต้สายธารน้ำใจเมืองยะลา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

10 ความคิดเห็น

  • #1 rattiya ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 8:14

    สวัสดีค่ะลุงเอก
    น่าจะมีหลายประเด็นแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่
    การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น  การโหยหาวัตถุนิยมต่างๆ มากมาย
    เกิดจาก กิเลสที่ไม่รู้จักพอของมนุษย์  ไม่พอใจในวัตถุนิยมที่มีอยู่  อยากได้ลาภยศสรรเสริญ
    อยากให้คนยกย่องชมเชย ฯลฯ
    หลาย ๆ ครั้งที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย (ของแป๊ด)  พร่ำพูดกรอกหูพวกเราซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้ยึดถือพระราชดำรัสของพระมหาชนก เรื่อง “ขอให้ยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”  แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่ผู้บริหาร (บางคน) แสดงออก  มันขัดแย้งกับพระปณิธานที่พระองค์ได้ตั้งไว้ซะเหลือเกิน  หลายครั้งที่เรามักจะได้ยินผู้บริหารพูดว่า  เอาไว้ก่อนเถอะ ปล่อยไว้ก่อน  ไว้ให้ผู้บริหารชุดใหม่เขาดำเนินการ  มันทำให้ลูกกระจ้ออย่างเรารู้สึกท้อเหมือนกัน
    สิ่งหนึ่งที่ทำอยู่เสมอคือ  ใครจะเป็นอย่างไรไม่สำคัญ  แต่จะขอตั้งมั่น และทุ่มเทการทำงานอย่างเต็มที่ สุดกำลังความสามารถ และแน่นอนทุกอย่างทำอยู่บนพื้นฐานที่ข้าราชการพึงมี

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 10:07

    มุมมองของลุงเอกน่าคิด การทำงานเชิงรุก ดูเหมือนว่าคุณหมอจำนวนไม่น้อยพยายามที่จะทำอยู่ แต่มันติดขัดอะไรผมเองก็ไม่ได้เข้าไปคลุกอยู่กับวงการนี้เท่าไหร่ครับ แต่เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยว่า ต้องทำงานเชิงรุกอย่างจริงจังครับ

  • #3 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 13:57

    เรียนลุงเอกที่เคารพยิ่ง

    มาอ่านบทความของลุงเอกค่ะ เห็นด้วยกับลุงเอก และชอบแนวคิดของลุงเอกมากค่ะ อ่านแล้วได้รู้ ได้คิดตาม และคิดต่อ แต่ขอคิดในใจเพราะคิดมาก คิดไกล คิดทั้งปัญหา คิดทั้งทางออก มองแบบคนนอกค่ะ เอาใจช่วยให้คนทำงานได้ประสบความสำเร็จ มาส่งแรงเชียร์ลุงเอกด้วยอีกคนค่ะ รออ่านลุงเอกต่อๆไปนะคะ

    ด้วยความเคารพค่ะ
    ป้าหวาน

  • #4 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 15:51

    อันที่จริงเราละเลยความจริงของชีวิตมานานมากแล้ว สังคมที่พัฒนาอย่างขาดความรู้ความเข้าใจตัวเอง มันแสดงออกด้วยสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โต เกินความเป็นจริง ขอให้ใหม่ขอให้ใหญ่ และทันสมัยล้วนเป็นวัตถุทั้งนั้น แต่ขาดการปรับปรุงคุณภาพของคนอย่างแท้ จึงมีคนเก่ง(เสมือน)อยู่เต็มบ้านเมือง ซึ่งก็เห็ดชัดเจนว่าไปไม่รอด ทุกภาคส่วนใช้คนแบบเดิมๆ คิดแบบเดิม ผลมันก็เป็นอย่างที่เห็น ต่อไปก็เสิ่อมเป็นอนุสาวรีย์ประจานตัวเอง อยู่ทั้งประเทศ แล้วยังจะตะบี้ตะบันทำอย่างนั้นอีกหรือ ทำไมไม่ถามปัญหาเหล่านี้กับเด็กรุ่นใหม่รุ่นที่ดูเหมือนไม่เอาไหน แต่ที่แท้เขารู้ดีกว่าพวกผู้ใหญ่ที่เห็นแก่ตัว ช่วยซ้ำเติมให้ประเทศแย่ลง จงใช้สมองเด็กวัย 18-25 ปีดูเถอด แล้วจะรู้ว่า มันน่าทำมาตั้งนานแล้ว ส่วนผู้ใหญ่ขอใช้ผู้ใหญ่ที่เป็นคนดี รู้จักหน้าที่ค่ะ นำมาผสมผสานกับเด็ก เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี อย่างแน่นอนค่ะ

  • #5 ลุงเอก ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 15:53

    สวัสดีครับแป๊ด ลุงเอกเพิ่งกลับมาจากหาดใหญ่
    ทำอะไรไม่ให้ทุกข์ก็คือทำแบบปิดทองหลังพระ

  • #6 ลุงเอก ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 15:56

    bangsai คุณหมอด้วยอาชีพท่านทำอะไรลึกๆเฉพาะเรื่องเดียวแต่คนนั้นมันทั้งกว้างทั้งลึก มีเรื่องจิตใจมากกว่ากาย มีเรื่องสังคมศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์

  • #7 ลุงเอก ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 16:04

    ขอบคุณป้าหวานที่มาเป็นกำลังใจ ครับ
    ดีครับต้องคิดให้รอบคิดให้ครบบรรจบกัน

  • #8 ลุงเอก ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 16:16

    สวัสดี อ.Lin Hui สังคมไทยเป็นสังคมไร้ทิศมานานมากครับ

  • #9 จันทรรัตน์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 17:21

    ทุกครั้งที่ต้องไปโรงพยาบาลในฐานะที่ต้องไปส่งคนตรวจจะได้ภาพอีกแบบของการทำงานที่แตกต่างจากการพานักศึกษาไปฝึกในฐานะคนให้บริการค่ะ เห็นแล้วก็สะท้อนคิดวิธีคิดที่แตกต่างกัน ระหว่างเรื่องการรักษาโรคกับการรักษาคนจนอดคิดไม่ได้ว่า น่าจะให้คนที่ทำงานด้านนี้มีโอกาสพาใครไปรับการรักษาบ้าง จะเกิดความเห็นอกเห็นใจคนไข้และญาติอีกมาก และจะเข้าใจเรื่องของการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่สิ้นเปลืองจนเกินเหตุด้วยค่ะ

    เท่าที่เห็นๆ โรงพยาบาลใหญ่ที่ซับซ้อน มักจะมีการแข่งขันเรื่องการวินิจฉัยโรคและรักษาโรค…งบก็คงทุ่มลงไปตรงนั้นคือซื้อหาเครื่องวินิจฉัยและรักษาที่ทันสมัยที่สุด..และตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของคนไข้ว่าจะมีร่างกายตรงไหนที่ผิดปกติ..แม้กระทั่งมองการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดตามวัยว่าเป็นความผิดปกติไปด้วยค่ะ…ทั้งๆที่ถ้ายอมรับความจริงว่าไม่มีใครสักคนในโลกนี้ที่สมบูรณ์แบบก็ไม่ต้องไปวิตกกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากนัก แล้วหันมาเข้าใจความเสื่อมที่เป็นธรรมดาและดูแลตัวเองป้องกันไม่ให้เสื่อมมากไปกว่าที่ควรแทน

    ที่ผ่านมางานป้องกันเป็นงานที่พยาบาลทำมาตลอด แต่เพราะมันเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น วัดประเมินผลต้องใช้เวลา เลยทำให้งบประมาณอาจจะไม่เท่ากับด้านการรักษา…ถ้าหากใช้แนวคิดการจัดสรรงบประมาณแบบที่ลุงเอกว่า…คงจะดีมากเลยค่ะ

    พลทหารคร๊าบผ้ม…อิอิ

  • #10 ลุงเอก ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 ตุลาคม 2009 เวลา 22:02

    อธิบายเสียยาวยืดนึกว่าพลทหารจะไม่เข่สใจ

    พยาบาลต้องทำงานเชิงป้องกันมากๆเลย


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.23433208465576 sec
Sidebar: 0.015269994735718 sec