ลานเบาหวานอินทรีย์

21 September 2010

ลานเบาหวาน:สุขแบบไม่หวาน

Filed under: ไม่ได้จัดหมวดหมู่ — poonsuk @ 9:14 pm

เบาหวาน:สุขแบบไม่หวานของผู้ป่วยคนหนึ่ง ที่มีความพยายามจะเอาชนะโรคเบาหวานที่ตรวจพบโดยบังเอิญ และจากความพยายามของทีมงานเบาหวาน โรงพยาบาลสมุทรสาคร โดยนายแพทย์กรภัทร มยุระสาคร จึงได้จัดโปรแกรมการควบคุมน้ำตาลให้ผู้ป่วยเบาหวาน โดยให้ความรู้ ในเรื่อง 3 อ. ในภาคปฏิบัติ จนกลายเป็นความเคยชิน ก่อเกิดเป็นความรู้และมีสัญญาใจกับตัวเองว่าจะรักษาและดูแลเบาหวาน ด้วยวิธี 3 อ.ซึ่งได้แก่ อ1:การปรับพฤติกรรมการกิน ให้พอเหมาะพอควรกับสภาพร่างกายตนเองอย่างพอเพียง อ2: คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอ.3 : การปรับอารมณ์ให้มีความสุข จิตใจแจ่มใส มีสติ และสามารถดูแลตนเองได้ด้วยความเข้าใจ รับรู้ ยอมรับ สิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกาย ค่อยๆแก้ไข ค่อยๆปรับสมดุลของร่างกาย และจิต ให้สอดคล้องกัน แล้วนำพาชีวิตสู่สัมมาทิฐิ  ด้วยความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องของเหตุแห่งปัญหา รับรู้ และยอมรับความผิดพลาดของการดำรงชีวิต ในเรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตัวเอง รับรู้ และทำความเข้าใจอย่างเห็นชอบ ปฏิบัติชอบ ที่จะอยู่กับเบาหวานได้อย่างมีความสุข การให้ความรู้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการผิดปกติของตนได้เช่น เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงผู้ป่วยจะมีปฏิกริยาทางร่างกายอย่างไร รวมทั้งผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลต่ำกว่าปกติ และมีสภาพจิตใจที่อ่อนแอ จึงเป็นบทบาทหน้าที่ของผู้ให้การรักษา ป้องกัน แต่กระนั้นการดูแลรักษาชีวิตของตนเองให้ปลอดภัยจากโรคภัยอุปสรรค์ทั้งปวงที่มีผลต่อการดำรงชีวิตให้เป็นสุขนั้นจึงควรเป็นหน้าที่ของแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบต่อความผิดปกติที่เกิดขึ้นในตัวเอง มิใช่เป็นหน้าที่ที่จะให้การรักษาของแพทย์เพียงอย่างเดียว

จากคำแนะนำ และการเรียนรู้ทำความเข้าใจในสิ่งที่ทำให้ร่างกายผิดปกติ ไม่ธรรมดาแล้วเลือกวิธีการที่เหมาะสมเพื่อที่จะสามารถนำพาตัวเองให้ปฏิบัติภาระกิจ 3 อ.นี้ได้ ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีวินัย มีความเห็นชอบ และตระหนักรู้ด้วยตนเอง รอมรับ และน้อมนำสิ่งดีงามมาปฏิบัติ อย่างสมำเสมอ ไม่ท้อถอย แต่มุ่งมั่น ไม่ยอมแพ้ แต่อดทน ก่อเกิดเป็นความเคยชิน และกลายเป็นนิสัยที่ดี สิ่งสำคัญก็คือเมื่อจิตใจอ่อนแอ และยอมจำนนกับเบาหวานแล้ว

หนทางที่อยู่ข้างหน้าคือการมีชีวิตอยู่ด้วยความทุกข์กาย และทุกใจ แม้อาจมีใครบางคนปฏิเสธว่าความทุกข์อันเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวานนั้น ไม่ทำให้เขาทุขทรมาน แต่ความทุกข์ที่กัดกร่อนจิตใจ และร่างกายอย่างเงียบๆนั่นต่างหาก ที่จะทำให้ชีวิตเศร้าหมอง ขาดโอกาสที่จะทำสิ่งดีๆเพื่อวันข้างหน้า เพื่อทุกข์ทรมาน ทั้งร่างกาย และการเสียทรัพย์เพื่อการรักษาชีวิตให้พ้นทุกข์นั้นไม่ต่างอะไรกับคนตาบอดที่พยายามแต่งหน้าตัวเองให้มีสีสรรขึ้นมา

ความผิดพลาดที่เกิดจากความหลงนั้นเป็นเรื่องยากที่ไม่ยาก หากผู้ป่วยตัดสินใจเดินทางกลับมาหาธรรมชาติ มาสู่ชีวิตที่พอเพียง สร้างสมภูมิธรรมให้มี ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง วันละเล็กวันละน้อย นานๆเข้า สิ่งที่สะสมจะกลายเป็นความเข้มแข็ง แข็งแรง และพร้อมที่จะนำพาสิ่งดีงามที่เกิดขึ้นทั้งกายและจิตของตนไปบอกกล่าว เล่าขาน เรื่องดีๆที่เกิดจากการนำความรู้ไปใช้ฝึกปฏิบัติ และเกิดผลดีตามมาอย่างถาวร หรืออย่างน้อยก็ชลอให้ภาวะของโรคเบาหวานไม่ทำให้เกิดความทุกข์ใจกับสังขารที่ไม่เที่ยงนี้ได้ และยังช่วยชลออาการแทรกซ้อนอันได้แก่ ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคไต  โรคหลอดเลือดตีบ ที่จะตามมา  แบบนี้แหละคือหนทางเอาชนะเบาหวาน และยืดอายุตัวเองก่อนจะสายเกินแก้ไข และก่อนที่จะต้องหันไปพึ่งยาให้มาทำหน้าที่จัดการร่างกายที่เสียดุลจนเกิดผลข้างเคียงตามมา และในท้ายที่สุด ก็จะเกิดความสิ้นเปลืองในการรักษาชีวิตให้พ้นจากอาการของโรคจนกว่าจะจากโลกนี้ไป  ลองกลับไปหาธรรมชาติ ด้วยการตรวจเช็คร่างกาย และเข้าร่วมกิจกรรมคัดกรองผู้ป่วยเพื่อค้นหาภาวะน้ำตาลในเลือด และเพื่อให้ได้ทราบสัญญาณเตือน  จึงเป็นหนทางที่ดีที่ให้โอกาสเราได้วางแผนใช้ชีวิตให้สอคคล้องกับธรรมชาติ  การตรวจพบความผิดปกติเร็วเท่าไรยิ่งส่งดีต่อการดูแลชีวิตให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บได้เร็วเท่านั้น

Powered by WordPress