น้ำมันจากขยะ

4192 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 13 January 2011 เวลา 12:09 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 35479

เทศบาลนครพิษณุโลกเริ่มจัดการเรื่องขยะมูลฝอยอย่างจริงจังมานานสิบหกปีแล้ว

การจัดการขยะมูลฝอยก็แบ่งการทำงานเป็นสองด้านใหญ่ๆคือด้านเทคนิคและด้านการทำงานแบบประชาชนมีส่วนร่วม

ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนก็จะเน้นการชักชวนประชาชนให้เข้าใจและร่วมมือในการจัดการขยะมูลฝอยในส่วนมี่ประชาชนจะสามารถช่วยได้  โดยไม่ปล่อยให้เป็นภาระของเทศบาลแต่ฝ่ายเดียว เช่นการคัดแยกขยะมูลฝอยระดับครัวเรือน  การทำปุ๋ยระดับครัวเรือนและชุมชน  การร่วมมือจัดหาถังรองรับขยะมูลฝอยของแต่ละครัวเรือน  การร่วมมือกับโครงการถนนปลอดถังขยะ  และการร่วมมือในการชำระค่าธรรมเนียมขยะมูลฝอย ฯลฯ

มีการพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน Community Based Solid Waste Managemant ( CBM ) ซึ่งปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำไปใช้อบรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

การจัดการด้านเทคนิคก็จะเน้น  การจัดเก็บ(Collection)  การขนส่ง(Transportation) และการกำจัดขยะมูลฝอย(Disposal)

การจัดเก็บและการขนส่งคงจะไม่พูดถึงเพราะไม่ซับซ้อน  อยู่ที่วิธีการจัดเก็บและการขนส่งแบบไหนจะเหมาะกับพื้นที่และมีประสิทธิภาพ

การกำจัดขยะมูลฝอย เทศบาลนครพิษณุโลกก็มีนโยบาย Zero Landfill  คือพยายามที่จะให้เหลือขยะมูลฝอยที่จะนำมาฝังกลบน้อยที่สุด  หรือเกือบไม่มีเลย

ในการกำจัดขยะมูลฝอย  เทศบาลนครพิษณุโลกได้นำเอาวิธีบำบัดเชิงกลชีวภาพ  หรือ MBT ( Mechanical Biological Waste Treatment ) มาใช้

ระยะแรกก็นำเอาส่วนที่ได้จากกระบวนการ MBT ไปฝังกลบ  ก็สามารถยืดอายุหลุมฝังกลบออกไปได้ประมาณ 2.5-3 เท่า  คือจากเดิมที่คำนวนไว้ว่าสามารถใช้ได้สิบห้าปี  ก็ยืดออกไปเป็นสี่สิบถึงห้าสิบปี

แต่ปัจจุบันหลักการกระบวนการ MBT  ทางเทศบาลก็ส่วนที่ได้มาร่อน  จะได้ส่วนของวัสดุคล้ายปุ๋ย (Compost-like Substance) กับส่วนที่เป็นถุงพลาสติกและโฟม

ส่วน Compost-like Substance ก็กำลังศึกษาที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าตามวิธี Gasification

ส่วนที่เป็นถุงพลาสติกและโฟมก็มีการศึกษาทดลองเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน  เช่นการนำไปผสมกับถ่านหินเพื่อใช้เป็นพลังงานใช้ในการผลิตซีเมนต์หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ

แต่ในที่สุดก็ตัดสินใจร่วมทุนกับเอกชนที่จะผลิตน้ำมันโดยวิธี Pyrolysis  ขณะนี้โรงงานและเครื่องจักรก็พร้อมแล้ว  เริ่มทดลองผลิตน้ำมัน  เลยเอารูปมาให้ดูเล่นก่อน  คอยติดตามการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้งครับ

ถ้าสามารถนำเอาส่วน Compost-like Substance มาใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธี Gasification ได้อีก  ก็จะบรรลุเป้าประสงค์ของ Zero Landfill  ที่เทศบาลนครพิษณุโลกตั้งใจไว้


ปุ๋ยขี้วัวทำอะไร- ของอาจารย์หมอวิจารณ์ เป็นเหตุ

3519 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 1 July 2009 เวลา 9:53 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 66641

แนะนำอาจารย์หมอวิจารณ์ทำปุ๋ยหมัก อาจารย์สนใจขอทราบรายละเอียด หาเอกสารไม่เจอ เลยต้องตะลุยเขียนลง Blog ม้วนเดียวจบ ปกติ 3-4 เดือนไม่รู้เสร็จรึเปล่า ?

สืบเนื่องจากการที่ได้ไปแวะเยี่ยม Blog ของอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช   http://gotoknow.org/blog/thaikm/122289 หัวข้อ  ” ปุ๋ยขี้วัวทำอะไร “  เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550   เห็นว่าในชุมชนเมืองเรามีปัญหาการจัดการขยะค่อนข้างมาก  ในฐานะที่เป็นรองนายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก  รับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อมมานานถึง 12 ปี  พอจะมีประสบการณ์ด้านนี้  อีกทั้งได้ทำการศึกษาค้นคว้า ทดลองทำปุ๋ยหมักจากขยะในครัวเรือนมานานพอสมควร  รวมทั้งเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้เรื่องนี้ให้กับประชาชนในเขตเทศบาลนคร พิษณุโลก  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆและหน่วยงานที่สนใจ  เพื่อเป็นการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะชีวภาพออกจากขยะทั่วไป  ทำให้ปริมาณขยะและค่าใช้จ่ายลดลงอย่างมาก
อ่านๆดู Blog ของอาจารย์แล้วก็มีความคิดว่า   ขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในบ้านแทนที่เราจะนำมาทำปุ๋ยใช้ประโยชน์  เรากลับขนออกไปทิ้ง  เป็นปัญหาทั้งการเก็บขน  การขนส่งและการกำจัด  รวมทั้งค่าใช้จ่ายก็สูงมาก ( ค่าขยะก็ไม่ยอมจ่ายอีกต่างหาก )   แถมยังต้องไปหาขี้วัวขนเข้ามาในบ้านอีก  ถ้าภาษาชาวป๊อกเด้งก็คงเรียกว่าเสียสองเด้ง  เลยแนะนำให้อาจารย์ลองทำปุ๋ยหมักดู  ปรากฏว่าอาจารย์สนใจและติดต่อขอรายละเอียดมา  เลยรีบค้นหา VDO  เกี่ยวกับการทำปุ๋ย  และเอกสารต่างๆให้อาจารย์
หาเอกสารเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ  โทรหาทีมงานให้ช่วยหาก็ไม่มี  ไม่แน่ใจเอกสารแจกหมดหรือเก็บจนลืม จำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน  (  ลืมบอกไปว่า  ครบวาระการดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีไปตั้งแต่วันที่ 24  พฤษภาคม 2550  เลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 28  กรกฎาคม 2550  ผลปรากฏว่าชนะยกทีมเป็นสมัยที่ 4  แต่กว่า กกต. จะรับรองผล  นายกเทศมนตรีจะเข้ารับตำแหน่ง  แล้วแต่งตั้งให้เป็นรองนายกเทศมนตรีใหม่ก็เมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่เอง เข้าที่ทำงานคราวนี้หาอะไรก็ไม่เจอ อิอิ )  เลยตัดสินใจเขียนลงใน Blogใหม่หมดเลย  เผื่อคนอื่นที่สนใจจะได้อ่านแล้วเอาไปทำด้วย
เลยต้องตะลุยเขียนม้วนเดียวจบ  ถ้าปกติไม่รับปากอาจารย์ไว้ก็คงต้องเขียน  3-4 เดือน ( ไม่รู้จบรึเปล่า  อิอิ )  ดีเหมือนกัน  จะได้เอาไปทำเป็นตำราแจกให้ชาวบ้าน  เวลาจัดการอบรมทำปุ๋ยหมัก  เหมือนเรื่องของคนเคยอ้วน คนชอบวิ่ง เขียนยังไม่จบดีเลย  ไปทำโครงการคลินิคหุ่นดีซึ่งเป็นโครงการลดน้ำหนักให้เด็กนักเรียนโรงเรียน สาธิตมัธยม  มหาวิทยาลัยนเรศวรก็รวบรวมเอาเรื่องที่เขียนไว้ใน Blog จัดพิมพ์เป็นคู่มือแจกให้นักเรียนที่เข้าโครงการไปแล้ว อิอิ


ออกแบบปกโดย พี่สุ ครับ

G2K 4 กย. 2550

หมายเหตุ…. พี่สุ  คือ  ครูสุคนสวย  แซ่เฮ


การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 9 วิธีดูแลกองหมัก

2351 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 1 July 2009 เวลา 9:49 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 65139

ปุ๋ยที่ใช้ได้แล้วจะมีลักษณะยุ่ยเป็นเกล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ ไม่ร้อน แห้งสนิท เหมาะที่จะนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพดินให้ร่วนซุย สารอาหารก็มีพอสมควร

           กองปุ๋ยหมักในถังหมักหรือคอกหมักต้องคอยดูแลให้สภาพแวดล้อมเหมาะต่อการที่ จุลินทรีย์จะย่อยสลายอินทรียสารให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก  คงไม่ลืมปัจจัยที่สนับสนุนการหมักนะครับ  คือต้องดูแลให้มีอากาศเข้าไปในกองหมัก  ให้มีความชื้นที่เหมาะสมและมีอุณหภูมิที่เหมาะสมด้วย
           การที่ จะทำให้มีอากาศเข้าไปในกองหมักได้  ต้องคอยดูอย่าให้มีการอุดตันของรูที่เราเจาะไว้  และขอบล่างของวงบ่อ  ต้องหมั่นดูแลให้อากาศเข้าสู่กองหมักได้สดวก 
           นอกจากนี้ยังต้องคอยกลับกองหมัก  เพื่อให้อากาศเข้าไปในกองหมัก  หลังจากหมักสักระยะหนึ่ง  กองหมักจะยุบตัวลงมา  อากาศก็จะเข้าไปในกองหมักได้ยากขึ้น  การกลับกองก็อาจใช้มือเสือหรือคราดก็ได้  ควรกลับกองหมักทุกอาทิตย์  ถ้ากลับได้บ่อยขึ้นก็จะดี

                   


           ขณะกลับกองหมักให้สังเกตดูความชื้นของกองหมักด้วย  ถ้าแห้งเกินไปก็อาจเติมวัสดุสีเขียวหรือพรมน้ำให้กองก็ได้   ถ้าแฉะเกินไปก็อาจเติมวัสดุสีน้ำตาลเพิ่มลงไป  หรืออาจเปิดฝาคอกหมักหรือถังหมักให้โดนแดด  ช่วยลดความชื้นของกองหมัก
           คอยสังเกตดูอุณหภูมิของกองหมักด้วย  ถ้าทำถูกวิธีกองหมักจะมีอุณหภูมิสูงถึง  90-140 องศาฟาเรนไฮต์   เวลากลับกองอาจสังเกตเห็นไอร้อนจากกองหมัก  หรืออาจเอามือแตะดูจะรู้สึกถึงความร้อนที่มีอยู่ในกองหมัก 
           โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 90 วัน  ก็จะได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพที่พอจะนำไปใช้ได้  จริงๆแล้วถ้าให้ดีและมีคุณภาพดีที่สุด ( Mature )  ต้องใช้เวลาถึง 120 วัน  ( เหมือนทำเหล้าต้องหมักแล้วบ่มต่อให้ได้ที่จึงจะได้เหล้าที่มีรสกลมกล่อม  ไม่บาดคอ )   ปฏิกริยาต่างๆก็จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์  ไม่มีความเป็นกรดด่าง  ไม่ใช้ออกซิเจนแล้ว  ไม่มีการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์  ไม่มีความร้อนเกิดขึ้นในกอง  แต่ระยะเวลา 90 วันก็จะได้ปุ๋ยหมักที่สามารถนำไปใช้ได้แล้ว

           ในการทำปุ๋ยถ้ามีปริมาณมากอาจใช้ระบบ 2 ถังหรือ 3 ถังก็ได้  คือเราใช้ถังที่1 ก่อน  ทำไปเรื่อยๆจนถังหมักเต็ม  ถ้าใช้เวลา 1 เดือนถังหมักเต็ม  เราก็ใช้ระบบ 3 ถัง   คือเริ่มใช้ถังที่ 2  พอเต็มอีกก็เริ่มใช้ถังที่ 3  พอถังที่ 3 เต็ม  ถังแรกก็จะครบ 90 วันพอดี  เราก็สามารถนำปุ๋ยไปใช้  แล้วเริ่มใช้ถังแรกใหม่   ถ้าถังแรกใช้เวลา 1 เดือนถึงจะเต็ม  เราก็ใช้ระบบ 2 ถังก็พอ 

                 

            ก่อน ที่จะนำปุ๋ยไปใช้ให้นำมาร่อนเสียก่อน  อุปกรณ์สามารถทำเองได้ง่ายๆ  ส่วนที่ผ่านตะแกรงร่อนคือส่วนที่จะนำไปใช้  ส่วนที่มีขนาดใหญ่จะไม่ผ่านตะแกรงร่อนก็นำกลับไปรองพื้นที่ก้นถังหมักอีก ครั้งเพื่อให้อากาศผ่านเข้ากองหมักได้สดวก          

                   

   
           ปุ๋ยที่ใช้ได้แล้วจะมีลักษณะยุ่ยเป็นเกล็ดเล็กๆ  สีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ  ไม่ร้อน  แห้งสนิท  เหมาะที่จะนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพดินให้ร่วนซุย  สารอาหารก็มีพอสมควร  แต่อาจต้องเพิ่มสารเคมีอีกเล็กน้อย ( Enrichment ) ให้เหมาะกับการปลูกพืชแต่ละชนิด


                             


 


การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 8 คู่มือขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก

3472 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 1 July 2009 เวลา 9:41 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 74327

การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 8 คู่มือขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก

เห็นไหมครับ ง่ายนิดเดียว น่าทำไหมครับ

ถ้าตัดสินใจว่าจะทดลองทำปุ๋ยหมักแน่นอนแล้วก็อ่านต่อนะครับ  ได้ทำเลดีๆในสวนหลังบ้านตามที่ได้แนะนำไว้แล้ว  ต่อไปก็เลือกแบบถังหมักหรือคอกหมักที่ถูกใจ  ถ้ายังไม่ตัดสินใจแนะนำให้ใช้วงบ่อคอนกรีตมาทดลองทำก่อนนะครับ  จะใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม.  หรือ 1 เมตรก็ได้   เจาะโดยรอบวงบ่อให้มีรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม.   ประมาณ 10-12 รูโดยรอบวงบ่อ   เพื่อให้อากาศสามารถเข้าถึงกองหมักได้สดวก



เวลาวางถังหมักให้รองขอบวงบ่อให้สูงพ้นพื้นเล็กน้อย  เพื่อให้อากาศสามารถผ่านเข้าถังหมักจากด้านล่างได้  และจะช่วยระบายน้ำ ( กรณีที่ท่านวางวงบ่อบนพื้นปูน )
เอากิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่วางรองก้นถังหมักเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สดวก  หนาประมาณ 5-10 ซม.  คราวนี้ก็นำเอาวัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวผสมกันให้ได้สัดส่วนตามที่เคย แนะนำไว้  นำลงไว้ในถังหมักหรือคอกหมัก  ถ้าท่านผสมได้ถูกต้องจะได้กองหมักที่มีความชื้นพอสมควร  ไม่แห้งหรือไม่แฉะเกินไป  ถ้าแห้งเกินไปอาจพรมน้ำลงไปเล็กน้อย  หรือถ้าแฉะเกินไปก็ให้เพิ่มปริมาณของวัสดุสีน้ำตาลเพิ่มลงไป  เสร็จแล้วให้คลุมกองหมักด้วยวัสดุสีน้ำตาล  ซึ่งวัสดุสีน้ำตาลชั้นนี้จะทำหน้าที่ดูดซับกลิ่น  ทำให้กองหมักไม่เหม็นรบกวนเราและเพื่อนบ้าน
วัสดุสีน้ำตาลจะมีสัดส่วนของคาร์บอนสูง  จะทำหน้าที่เหมือนที่เราใช้ถ่านในการดับกลิ่น  ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่าทำหน้าที่เป็น Biofilter  จะดูดซับกลิ่นทำให้ไม่มีกลื่นเหม็นรบกวน
ในการทำจริงๆ  เราจะมีวัสดุสีน้ำตาล ( กิ่งไม้  ใบไม้ ใบหญ้าแห้ง )  ที่เราสามารถเก็บรวบรวมไว้ก่อนเป็นจำนวนมาก  ถ้าเป็นกิ่งไม้ก็ควรจะตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆแล้วใส่เข่งหรือถุงปุ๋ยเพื่อเก็บ ไว้ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ย
ส่วนวัสดุสีเขียวส่วนมากจะเป็นเศษผัก   เศษผลไม้ที่เกิดขึ้นทุกวัน  ( ถ้ายังไม่แน่ใจก็อย่าเพิ่งนำเศษอาหารไปทำปุ๋ยหมัก  แต่ถ้าชำนาญแล้วก็สามารถนำไปหมักได้  ไม่มีปัญหาอะไร )  วัสดุพวกนี้พวกนี้มักจะเกิดขึ้นในครัวหรือห้องรับประทานอาหารเป็นส่วนใหญ่  ก็สามารถรวบรวมไว้ในภาชนะที่ใช้รวบรวมเรียกว่า Minibin หรือ  Compost Pail   แล้วนำไปทิ้งในถังหมักได้ทุกเย็น  ล้างภาชนะให้สะอาดแล้วนำกลับมาไว้ที่เดิม



เวลามีเศษผัก  เศษผลไม้และเศษอาหารเพิ่มทุกวัน  เราก็นำไปไว้ในคอกหมักปุ๋ยทุกวัน  เพราะถ้าปล่อยไว้หลายวันจะมีกลิ่นเหม็นรบกวนในบ้าน  เวลาจะนำลงในถังหมักก็ควรจะเปิดชั้นวัสดุสีน้าตาลออก   แล้วเ้ทวัสดุสีน้ำตาลเพิ่มลงไป  ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันโดยใช้คราดหรือมือเสือก็ได้  แล้วปิดกองด้วยวัสดุสีน้ำตาลเพื่อไม่ให้มีกลิ่น
เห็นไหมครับ  ง่ายนิดเดียว  น่าทำไหมครับ  ตอนต่อไปจะแนะนำวิธีดูแลกองหมัก  คอยติดตามนะครับ



วันพิเศษ…. อิอิ

2180 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 21 June 2009 เวลา 9:07 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 60238

ทุกวันเป็นวันพิเศษ…. ทำเรื่องเล็กๆธรรมดาๆให้เป็นเรื่องพิเศษ

วันนี้ก็เป็นวันพิเศษวันหนึ่ง…….

 


อ่านต่อ »


การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 7 ถังหมักหรือคอกหมักปุ๋ย

1680 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 15 June 2009 เวลา 12:03 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 16711

เทศบาล นครพิษณุโลกได้ทดลองถังหมักและคอกหมักมาหลายแบบ แบบที่ใช้ไม้ทำก็สวยดีแต่จะผุพังง่าย อายุใช้งานสั้น ชาวบ้านนิยมใช้วงบ่อคอนกรีตมาเป็นถังหมัก และใช้อิฐบล็อกมาทำเป็นคอกหมักครับ

คราว นี้มาลองดูว่าจะใช้ถังหมักปุ๋ยหรือคอกหมักปุ๋ยแบบไหนดี  ก็เลยรวบรวมถังหมักปุ๋ยและคอกหมักปุ๋ยมาให้ดูเล่น  ชอบแบบไหนก็ลองนำไปประยุกต์ใช้เอง  ใครมีอะไรดีๆก็แนะนำมาหน่อยนะครับ


เทศบาลนครพิษณุโลกได้ทดลองถังหมักและคอกหมักมาหลายแบบ  แบบที่ใช้ไม้ทำก็สวยดีแต่จะผุพังง่าย  อายุใช้งานสั้น  ชาวบ้านนิยมใช้วงบ่อคอนกรีตมาเป็นถังหมัก  และใช้อิฐบล็อกมาทำเป็นคอกหมักครับ
อ่านต่อ »


การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 6 การเลือกสถานที่

2341 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 15 June 2009 เวลา 11:59 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 28732

สถาน ที่ที่จะใช้หมักปุ๋ยไม่ควรอยู่ห่างจากบ้านมากเกินไป เพราะจะไม่สดวกเวลานำวัสดุต่างๆไปใส่ในถังหมัก ควรให้อยู่ในที่ที่ระบายน้ำได้ดี ควรอยู่ไม่ห่างจากก๊อกน้ำหรือแหล่งน้ำ ไม่ควรตั้งคอกหมักหรือถังหมักในที่โล่ง และควรตั้งอยู่บนพื้นดิน

ตอนนี้คงทราบปัจจัยที่สำคัญในการหมักปุ๋ยแล้วนะครับ  ที่เล่าให้ฟังเป็นการหมักปุ๋ยที่บ้าน (  Backyard Composting )  ถ้าสนใจจะทำก็เริ่มกันเลยนะครับ  เริ่มกันที่การเลือกสถานที่นะครับ
อ่านต่อ »


การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 5 ขนาดของกองหมัก

2366 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 15 June 2009 เวลา 11:57 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 49869

การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 5 ขนาดของกองหมัก

ในการทำปุ๋ยหมักจะคล้ายๆการทำเหล้า คือหมักเสร็จแล้วต้องมีการบ่มต่ออีกสักระยะหนึ่ง ถ้าบ่มจนได้ที่ มีรสกลมกล่อม อ่านต่อ »


การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 4 ความชื้น

76 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 15 June 2009 เวลา 11:53 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 44665

ใน การทำปุ๋ยหมัก นอกจากต้องใช้วัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวให้ได้สัดส่วน ดูแลให้มีอากาศเข้าไปในกองหมัก ต้องคอยดูแลความชื้นให้พอดี การหมักจึงจะได้ผลดีและใช้เวลาน้อย
อ่านต่อ »


การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 3 อากาศ

3071 ความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ 15 June 2009 เวลา 11:50 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 62207

ใน การหมักปุ๋ย นอกจากผสมวัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวให้ได้สัดส่วนแล้ว ต้องดูแลให้อากาศเข้าไปในกองหมักได้ดี ด้วยการใช้วัสดุที่มีขนาดเหมาะสม ต้องคอยกลับกองหมักทุก 5-7 วัน และต้องดูแลอย่าให้กองหมักแฉะหรือมีความชื้นมากเกินไป

ปัจจัยที่สนับสนุนการหมัก
1. สัดส่วนวัสดุสีน้ำตาล : วัสดุสีเขียว
2. อากาศ
3. ความชื้น
4. ขนาดของกอง


ถ้าพูดในเชิงทฤษฎีก็คือ  Optimum Composting Conditions

1.  Carbon : Nitrogen  <> 30 : 1
2.  Oxygen  > 5 %
3.  Moisture   40-60 %
4.  Temperature  90-140 F
อ่านต่อ »



Main: 0.050810098648071 sec
Sidebar: 0.011201858520508 sec