การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 3 อากาศ

โดย จอมป่วน เมื่อ 15 June 2009 เวลา 11:50 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 62208

ใน การหมักปุ๋ย นอกจากผสมวัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวให้ได้สัดส่วนแล้ว ต้องดูแลให้อากาศเข้าไปในกองหมักได้ดี ด้วยการใช้วัสดุที่มีขนาดเหมาะสม ต้องคอยกลับกองหมักทุก 5-7 วัน และต้องดูแลอย่าให้กองหมักแฉะหรือมีความชื้นมากเกินไป

ปัจจัยที่สนับสนุนการหมัก
1. สัดส่วนวัสดุสีน้ำตาล : วัสดุสีเขียว
2. อากาศ
3. ความชื้น
4. ขนาดของกอง


ถ้าพูดในเชิงทฤษฎีก็คือ  Optimum Composting Conditions

1.  Carbon : Nitrogen  <> 30 : 1
2.  Oxygen  > 5 %
3.  Moisture   40-60 %
4.  Temperature  90-140 F


อากาศ  -  Oxygen > 5%
ในการทำปุ๋ยหมัก  นอกจากจะต้องผสมวัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว  สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือต้องมีอากาศเข้าไปในกองหมัก  หรือต้องให้มี Oxygen เข้าไปในกองหมักมากพอสมควร  จึงจะเกิดการหมักหรือการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมัก
ในการหมัก  จุลินทรีย์ต้องการ Oxygen  เพื่อทำให้เกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ  เรียกว่าเกิด Aerobic Raction ตามสมการ


และในกระบวนการนี้จะไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเพราะเกิดคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ


แต่ถ้ากระบวนการนี้ไม่มี อากาศ หรือ Oxygen  ก็จะเกิดการบูดเน่า  เรียกว่าเกิด Anaerobic Digestion  ตามสมการ



กระบวนการนี้  จะเกิดก๊าซมีเทน  ไฮโดรเจนซัลไฟด์  และแอมโมเนีย  ทำให้เกิดการบูดเน่าแทนการย่อยสลายตามธรรมชาติหรือการหมัก
ส่วนมากจะเข้าใจผิด  เวลาทำปุ๋ยหมักก็กลัวว่าจะมีกลิ่นเหม็นเลยหาภาชนะที่มิดชิด  ปิดฝาให้สนิท  อากาศเข้าไปไม่ได้  เลยยิ่งเหม็นมากขี้น
ในการหมัก  ขนาดของวัสดุที่ใช้ต้องอย่าให้ละเอียดเกินไป  เพราะถ้ามีขนาดเล็กเกินไปก็จะทำให้กองแน่น  อากาศเข้าไปในกองหมักลำบาก
เวลาหมักไปสักระยะหนึ่งก็เกิดการย่อยสลาย  กองจะยุบตัวลงมาทำให้กองแน่นขึ้น  อากาศก็จะเข้าไปในกองได้น้อยลง  ทำให้เกิดการบูดเน่าภายในกองหมักได้  จึงจำเป็นต้องกลับกองหมัก  เพื่อให้อากาศเข้าไปในกองได้  ส่วนมากจะแนะนำให้กลับกองหมักทุก 5-7 วัน
ถ้ากองหมักมีความชื้นมากเกินไป ( มีน้ำมาก )  ก็จะเป็นอุปสรรคทำให้อากาศเข้าไปในกองหมักได้น้อย  ทำให้เกิดการบูดเน่าภายในกองหมักได้
สรุปว่า ในการหมักปุ๋ย  นอกจากผสมวัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวให้ได้สัดส่วนแล้ว  ต้องดูแลให้อากาศเข้าไปในกองหมักได้ดี  ด้วยการใช้วัสดุที่มีขนาดเหมาะสม  ต้องคอยกลับกองหมักทุก 5-7 วัน  และต้องดูแลอย่าให้กองหมักแฉะหรือมีความชื้นมากเกินไป


« « Prev : การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 2 สัดส่วนวัสดุที่ใช้

Next : การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 4 ความชื้น » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3071 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 5.6442949771881 sec
Sidebar: 0.57432293891907 sec