การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 5 ขนาดของกองหมัก

โดย จอมป่วน เมื่อ 15 June 2009 เวลา 11:57 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 48901

การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 5 ขนาดของกองหมัก

ในการทำปุ๋ยหมักจะคล้ายๆการทำเหล้า คือหมักเสร็จแล้วต้องมีการบ่มต่ออีกสักระยะหนึ่ง ถ้าบ่มจนได้ที่ มีรสกลมกล่อม

ปัจจัยที่สนับสนุนการหมัก
1. สัดส่วนวัสดุสีน้ำตาล : วัสดุสีเขียว
2. อากาศ
3. ความชื้น
4. ขนาดของกอง


ถ้าพูดในเชิงทฤษฎีก็คือ  Optimum Composting Conditions

1.  Carbon : Nitrogen  <> 30 : 1
2.  Oxygen  > 5 %
3.  Moisture   40-60 %
4.  Temperature  90-140 F


ขนาดของกองหมัก จะมีส่วนควบคุมอุณหภูมิ – Temperature
ในการทำปุ๋ยหมัก  นอกจากการใช้วัสดุสีน้ำตาลและสีเขียวให้ได้สัดส่วนมีอากาศเข้าไปในกองหมัก  มีความชื้นที่เหมาะสมความชื้นแล้ว  ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือขนาดของกองหมัก  ถ้ากองหมักมีขนาดเล็กเกินไปก็ไม่สามารถควบคุมความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม ไว้ได้  ขนาดของกองหมักควรมีขนาดอย่างน้อย 1 ลูกบากศ์เมตร   แต่ถ้าขนาดใหญ่เกินไปก็จะมีปัญหาที่อากาศไมาสามารถเข้าไปในกลางกองหมักได้  ก็จะเกิดการบูดเน่าของกองหมักเพราะอยู่ในสภาพที่ไม่มีอากาศหรือ Oxygen
ในการทำปุ๋ยหมัก  ถ้าทำได้ถูกต้องกองหมักจะมีอุณภูมิสูงถึง 90-140 องศาฟาเรนไฮต์   ซึ่งจะสามารถทำลายเชื้อโรคและเมล็ดพันธุ์ของพืชที่มีอยู่ในกองหมักได้

ถ้ากลับกองหมักบ่อยๆทุกวันหรือวันเว้นวันก็อาจได้ปุ๋ยที่พอจะนำไปใช้ได้เร็ว ( 30-45 วัน )  แต่ถ้ากลับทุกอาทิตย์อาจได้ปุ๋ยที่พอจะนำไปใช้ได้ในเวลา 60-90 วัน  ถ้าการย่อยสลายสมบูรณ์แล้วอุณหภูมิจะลดลงจนไม่มีความร้อนเกิดขึ้นอีกภายใน กอง
ในการทำปุ๋ยหมักจะคล้ายๆการทำเหล้า  คือหมักเสร็จแล้วต้องมีการบ่มต่ออีกสักระยะหนึ่ง  ในการทำปุ๋ยหมักให้สมบูรณ์จริงๆคือปฏิกริยาต่างๆเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ต้องใช้ เวลานานถึง 270 วัน  (  เหมือนสุราชั้นยอดที่บ่มจนได้ที่  มีรสกลมกล่อม  อิอิ )   แต่เอาว่าเป็นปุ๋ยที่พอจะนำไปใช้ได้  ( เป็นเหล้าก็ยังบาดคอหน่อย )  ก็ใช้เวลา 60-90 วันก็พอ
ปุ๋ยที่มีคุณภาพดีแล้ว ( Mature )  จะมีลักษณะเป็นเกล็ดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ  ค่อนข้างแห้ง  ไม่เกิดความร้อนภายในกองหมักแล้ว  ไม่มีความเป็นกรดหรือด่าง  มีสารอาหารพอประมาณ  สามารถนำไปใช้เป็นสารอาหารและปรับปรุงคุณภาพดินทางกายภาพ ( ทำให้ดินร่วนซุย ) ได้


« « Prev : การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 4 ความชื้น

Next : การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 6 การเลือกสถานที่ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2317 ความคิดเห็น