การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 3 อากาศ

โดย จอมป่วน เมื่อ 15 June 2009 เวลา 11:50 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 61134

ใน การหมักปุ๋ย นอกจากผสมวัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวให้ได้สัดส่วนแล้ว ต้องดูแลให้อากาศเข้าไปในกองหมักได้ดี ด้วยการใช้วัสดุที่มีขนาดเหมาะสม ต้องคอยกลับกองหมักทุก 5-7 วัน และต้องดูแลอย่าให้กองหมักแฉะหรือมีความชื้นมากเกินไป

ปัจจัยที่สนับสนุนการหมัก
1. สัดส่วนวัสดุสีน้ำตาล : วัสดุสีเขียว
2. อากาศ
3. ความชื้น
4. ขนาดของกอง


ถ้าพูดในเชิงทฤษฎีก็คือ  Optimum Composting Conditions

1.  Carbon : Nitrogen  <> 30 : 1
2.  Oxygen  > 5 %
3.  Moisture   40-60 %
4.  Temperature  90-140 F


อากาศ  -  Oxygen > 5%
ในการทำปุ๋ยหมัก  นอกจากจะต้องผสมวัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว  สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือต้องมีอากาศเข้าไปในกองหมัก  หรือต้องให้มี Oxygen เข้าไปในกองหมักมากพอสมควร  จึงจะเกิดการหมักหรือการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมัก
ในการหมัก  จุลินทรีย์ต้องการ Oxygen  เพื่อทำให้เกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ  เรียกว่าเกิด Aerobic Raction ตามสมการ


และในกระบวนการนี้จะไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเพราะเกิดคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ


แต่ถ้ากระบวนการนี้ไม่มี อากาศ หรือ Oxygen  ก็จะเกิดการบูดเน่า  เรียกว่าเกิด Anaerobic Digestion  ตามสมการ



กระบวนการนี้  จะเกิดก๊าซมีเทน  ไฮโดรเจนซัลไฟด์  และแอมโมเนีย  ทำให้เกิดการบูดเน่าแทนการย่อยสลายตามธรรมชาติหรือการหมัก
ส่วนมากจะเข้าใจผิด  เวลาทำปุ๋ยหมักก็กลัวว่าจะมีกลิ่นเหม็นเลยหาภาชนะที่มิดชิด  ปิดฝาให้สนิท  อากาศเข้าไปไม่ได้  เลยยิ่งเหม็นมากขี้น
ในการหมัก  ขนาดของวัสดุที่ใช้ต้องอย่าให้ละเอียดเกินไป  เพราะถ้ามีขนาดเล็กเกินไปก็จะทำให้กองแน่น  อากาศเข้าไปในกองหมักลำบาก
เวลาหมักไปสักระยะหนึ่งก็เกิดการย่อยสลาย  กองจะยุบตัวลงมาทำให้กองแน่นขึ้น  อากาศก็จะเข้าไปในกองได้น้อยลง  ทำให้เกิดการบูดเน่าภายในกองหมักได้  จึงจำเป็นต้องกลับกองหมัก  เพื่อให้อากาศเข้าไปในกองได้  ส่วนมากจะแนะนำให้กลับกองหมักทุก 5-7 วัน
ถ้ากองหมักมีความชื้นมากเกินไป ( มีน้ำมาก )  ก็จะเป็นอุปสรรคทำให้อากาศเข้าไปในกองหมักได้น้อย  ทำให้เกิดการบูดเน่าภายในกองหมักได้
สรุปว่า ในการหมักปุ๋ย  นอกจากผสมวัสดุสีน้ำตาลและวัสดุสีเขียวให้ได้สัดส่วนแล้ว  ต้องดูแลให้อากาศเข้าไปในกองหมักได้ดี  ด้วยการใช้วัสดุที่มีขนาดเหมาะสม  ต้องคอยกลับกองหมักทุก 5-7 วัน  และต้องดูแลอย่าให้กองหมักแฉะหรือมีความชื้นมากเกินไป


« « Prev : การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 2 สัดส่วนวัสดุที่ใช้

Next : การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 4 ความชื้น » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2935 ความคิดเห็น