ฝึกอ่านภาษาอังกฤษใครอ่านได้ชัดกว่ากัน
อ่าน: 1322เมื่อวานได้ไปเรียนภาษาอังกฤษมา อาจารย์ให้ลองอ่านประโยคติดกันเร็วๆ เรารึก็นึกว่าง่ายๆ
เลยจะลองเอามาให้่มิตรรักแฟนบล็อกลองอ่านกันว่าใครจะอ่านได้ชัดกว่ากันอิอิ
She sells sea shells on the sea shore
The shells that she sells are sea shells I’m sure.
So if she sells sea shells on the sea shore,
I’m sure that the shells are sea shore shells
และอีกประโยค
Betty bought a bit of butter,
But the bit of butter Betty bought was bitter.
So Betty bought a better bit of butter,
To make the bitter butter better
ใครอ่านได้ชัดที่สุดเร็วที่สุดรับรางวัลที่คุณหมอจอมป่วนนะเจ้าค่ะ อิอิ
ไม่มีใครแก่เกินเรียน
อ่าน: 1242เมื่อเดือนก่อนเห็นจดหมายเวียนเรื่องเรียนภาษาอังกฤษ เลยลองถามข้อมูลดู ถามเื่พื่อนๆ ว่าอยากเรียนไหม เพื่อนๆก็บอกโอเค ตามกันไปสมัคร 5 คน ไปสมัีครเรียนที่หน้าบ้าน NUIC สมัครเรียน เสารอาทิตย์ 5โมง - 2 ทุ่ม หลักสูตร 99 ชั่วโมง โหะๆๆ กี่วันจบก็ไม่รู้
เมื่อวันศุกร์ก็มี Pre-test ก่อนเรียน แค่นี้ก็มึนจะแย่ แต่เอาน่า ลงเรียนไปแล้วไม่ให้เสียเวลา แล้ววันนี้ก็ได้มาเรียนจริงๆ เพื่อนร่วมเรียนส่วนใหญ่เป็นนิสิตปีสุดท้าย และยังมี คนทำงานแล้วอีกหลายคน อาจารย์สอนสนุก ไม่เครียดเลยสัีกนิด แม้ว่าบางคำจะไม่รู้เรื่องก็เถอะ
แต่ยังไงก็ต้องลุ้นดูว่าสุดท้ายแล้วจะพูดอังกฤษ หรือฟัง เค้าภาษาอังกฤษ ได้รู้เรื่องแค่ไหน เวลาผู้ใช้บริการที่เป็นต่างชาติมาจะได้ไม่พูดให้เมื่อยมืออีก หุหุ
สู้ต่อไปทาเคชิ …!!
Catalog คือ งานของเรา
อ่าน: 2458และแล้วก็ได้เวลาที่เหมาะสมพอที่จะเล่าเรื่องต่างๆให้หลายๆ คนได้อ่าน บ้าง อิอิ
วันนี้อยากจะเล่าถึงงานประจำที่เริ่มทำมาแล้วที่นี่ หอสมุดม.นเรศวร …
งานบรรณารักษ์ที่รับผิดชอบก็คืองานวิเคราะห์เลขหมู่ จัดหมวดหมู่เนื้อหาให้อยู่ในที่ๆเดียวกัน อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ
เพื่อการค้นหาที่ง่ายขึ้น โดยเก็บรวมรวมรายการบรรณานุกรมนี้ไว้ในฐานข้อมูล INNOPAC
ที่ดูเหมือนจะแสนง่ายดาย อาศัยจาก web catalog ทั่วโลกก็ตามเถอะ
แต่จะสุ่มสี่สุ่มแปดจัดๆ ไป โดยไม่คำนึงว่าแต่ก่อนหอสมุดแห่งนี้เค้าให้อะไรไว้บ้าง ผู้ใช้บริการก็คงหาไม่เจอ
เมื่อแรกมาจับงานวิเคราะห์เลขหมู่ที่เรียกกันในวงการว่า แคตล็อก นั้น ก็ผ่านงานวารสารมาบ้าง
แต่การวิเคราะห์เลขหมู่สิ่งที่ต้องรู้เข้าในสายเลือดเลยก็คือ
- ระบบการจัดหมู่ ที่ในห้องสมุดดังๆ ทั่วโลกเป็นที่นิยมแล้ว ไม่รวมห้องสมุดเฉพาะ จะมีอยู่ คือ Dewey และ LC รวม NLM ที่แยกจาก LC ไปเป็นหมวดหมู่ทางการแพทย์
- Marc21 เป็นรูปแบบการลงรายการให้เครื่องอ่านได้ (แปลตามตำราเปะ) ก็เหมือนๆกับกฎการลงรายการ ที่รูปแบบตายตัวรู้กันในหมู่บรรณารักษ์ นักเอกสาร ทั่วโลก มีมาแต่ดั้งเดิมที เดี๋ยวนี้เค้าพัฒนาเป็น Metadata
- หัวเรื่อง ที่เป็นคำสำคัญที่รูปแบบตายตัว (เอาอีกละอะไรก็ตายตัว) ยึดตามตำรา หัวเรื่องภาษาไทย ของคณะกรรมการสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, LC Subject Heading (แค่เฉพาะตำราก็ปาไปหลายเล่มหนาๆ) , MeSH (Medical Subject Heading)
- และอีกอย่างที่สำคัญคือ ถ้าริจะเป็นนักกอป ก็ต้องมี Common Sense นิดหน่อยเกี่ยวกับเลขผู้แต่ง หนังสือ ที่แต่ละห้องสมุดจะให้ไม่เหมือนกันเลย ซึ่งยังไงๆ ก็ต้องยึดของเราเป็นหลัก
แค่สิ่งที่ต้องรู้ก็เหนื่อยแล้วอิอิ แต่ความจริงมาทำจริงๆ สิ่งเหล่านี้จะสอนเราอย่างที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย หนังสือบางเรื่องบางอย่าง มีหลากหลายเนื้อหา อยู่ในนั้น บรรณารักษ์ ต้องพินิจพิจารณา ให้ใกล้เคียง มากที่สุดว่าสมควรอยู่หมวดใด ให้มั่วๆ ไป นักวิชาการ อาจารย์ บางท่านจะท้วงติง มาอีกที ว่าทำไมเล่มนี้อยู่ตรงนี้ ไม่อยู่ตรงนั้น เฮ้อ……..
จริงๆแล้ว หนังสือบางเล่ม บรรณารักษ์ยังต้องจับแล้ววาง ก็ไม่รู้จะให้ไว้หมวดไหน บรรณารักษ์ก็ไม่ได้รู้ไปทุกอย่าง ศัพท์บางคำ ระบบ LC ยังไม่ได้บัญญัติ ไว้เลยด้วยซ้ำ ก็ต้องเอาไว้ก่อน รอสมองโล่งๆแล้วค่อยว่ากันใหม่ ^0^ แต่ถึงอย่างไร สุดท้ายก็ต้องรีบทำหนังสือออกไปให้ผู้ใช้บริการได้อ่านอย่างรวดเร็วนั้นแหละค่ะ
วันนี้มากับเรื่องงานประจำ เดี๋ยวจะเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาฝากอีก อย่างไรแล้วก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ
~แก่นจัง~