การปรับเวลาประเทศไทย ให้เร็วกว่าเวลาปัจจุบัน 30 นาที ไม่เป็นความจริง

โดย sothorn เมื่อ สิงหาคม 14, 2008 เวลา 2:04 (เย็น) ในหมวดหมู่ ทั่วไป #
อ่าน: 5450

ตามที่มีข่าวประเทศไทยจะปรับเวลาให้เร็วกว่าปัจจุบัน 30 นาที นั้น

http://www.zone-it.com/f/topic:49510.0

ไม่เป็นความจริง

ความจริงคือ

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จัดทำและรักษาเวลามาตรฐานตามสากล ไม่ใช่เป็นการปรับแก้เวลา หรือปรับเปลี่ยนเวลาใดๆทั้งสิ้น

ตามข่าวที่มีการเผยแพร่ข้อมูลทาง Internet  เรื่อง การปรับเวลาประเทศไทย ให้เร็วกว่าเวลาปัจจุบัน 30 นาที ไม่เป็นความจริง
สถาบัน มาตรวิทยาแห่งชาติ ขอเรียนให้ทราบว่า สถาบันฯ มีหน้าที่จัดทำและรักษาเวลามาตรฐานตามระบบสากล และให้บริการถ่ายทอดเวลามาตรฐานโดยการปรับเทียบเวลามาตรฐาน เพื่อให้ผู้ที่ต้องการมีเวลาที่ถูกต้องเที่ยงตรงสามารถนำไปใช้ได้ ไม่ได้เป็นการปรับแก้เวลา หรือปรับเปลี่ยนเวลาใดๆทั้งสิ้น ตามที่เป็นข่าว

ที่มา :

http://www.nimt.or.th/nimt/home/index.php

http://www.nimt.or.th/nimt/Announcement/index.php?menuName=news_detail&menuNameOld=&type=hotissue&NewsId=78

« « Prev : จุดเทียนชัยถวายพระพร

Next : ดอกแก้วมังกร » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

5 ความคิดเห็น

  • #1 sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 เวลา 9:32 (เย็น)

    ขอบคุณค่ะ ที่บอกข่าว ตอนแรกนึกว่า จะมีการปรับเวลาใหม่เสียอีก อิๆๆๆ

  • #2 rani ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 เวลา 1:35 (เช้า)

    อ่านในอนุทิน เห็นแล้วรีบมาอ่าน อิอิ ขอบคุณที่นำมาบอกให้ทราบคะ

  • #3 sothorn ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 เวลา 7:01 (เช้า)

    พระราชบัญญัติ วาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. ๒๕๕๐
    มาตรา ๒๖ ผูใหบริการตองเก็บรักษาขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอรไวไมนอยกวาเกาสิบวัน
    นับแตวันที่ขอมูลนั้นเขาสูระบบคอมพิวเตอร แตในกรณีจําเปนพนักงานเจาหนาที่จะสั่งใหผูใหบริการ
    ผูใดเก็บรักษาขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอรไวเกินเกาสิบวันแตไมเกินหนึ่งปเปนกรณีพิเศษเฉพาะราย
    และเฉพาะคราวก็ได
    ผูใหบริการจะตองเก็บรักษาขอมูลของผูใชบริการเทาที่จําเปนเพื่อใหสามารถระบุตัวผูใชบริการ
    นับตั้งแตเริ่มใชบริการและตองเก็บรักษาไวเปนเวลาไมนอยกวาเกาสิบวันนับตั้งแตการใชบริการสิ้นสุดลง
    ความในวรรคหนึ่งจะใชกับผูใหบริการประเภทใด อยางไร และเมื่อใด ใหเปนไปตามที่รัฐมนตรี
    ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    ผูใหบริการผูใดไมปฏิบัติตามมาตรานี้ ตองระวางโทษปรับไมเกินหาแสนบาท

    ข้อมูลด้านล่างนี้จาก
    http://www.inet.co.th/computer_act/

    4. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง

    ตอบ สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

    1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
    2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
    3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
    4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์  ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

    5. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลอะไรบ้าง และจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นนานแค่ไหน
    ตอบ: ในกรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้
    1.“ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
    2.ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง

    ข้อมูลด้านล่างนี้จาก

    http://61.7.253.244/media/computer-law.pdf (ให้เกรดิต ubnutuclub.com)
    ข้อ ๙ เพื่อให้ข้อมูลจราจรมีความถูกต้องและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงผู้ใหบริการต้องตั้ง
    นาฬิกาของอุปกรณ์บริการทุกชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิงสากล ( Stratum 0) โดยผิด
    พลาดไม่เกิน ๑๐ มิลลิวินาที

    จาก  พระราชบัญญัติ วาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. ๒๕๕๐  และข้อมูลประกอบต่าง น่าจะเป็นที่มาของข่าวลือที่เกิดขึ้น ที่มีการโพสใน http://www.zone-it.com/f/topic:49510.0 และอาจจะมีข่าวนี้ที่อื่นอีกผมหามาได้แค่ที่เดียว ไม่ได้เป็นการโจมตีนะครับ

  • #4 sothorn ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 เวลา 7:18 (เช้า)

    สวัสดีครับ sasinand พี่ rani
    ผมได้ยินข่าวครั้งแรก ก็คิดอยู่ว่ามันเป็นไปได้ยังไง ก็ต้องพึ่ง google  จนได้ข้อมูลนี้
    ยิ่งกว่านั้น ISP รายใหญ่ในภูเก็ตถึงกับ ส่ง mail เรื่องปรับเวลา 30 นาที ให้ลูกค้า
    ผมว่าเรื่องมันจะไปกันใหญ่

    โลกของคอมพิวเตอร์การทำเวลาให้ตรงกันไม่ใช่เรื่องยากครับ มันมีเทคโนโลยีของมันอยู่แล้ว

  • #5 poonswat ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 สิงหาคม 2008 เวลา 8:34 (เย็น)

    ตอนแรกผมนึกว่าจะเปลี่ยนเวลา เพราะคิดว่า เวลาไทย กับของมาเลย์ ต่างกัน 30 นาที ทั้งๆที่น่าจะใช้เวลาเดียวกัน สาเหตุที่เวลาต่างกันน่าจะมาจากการกำหนดเวลาของประเทศไทย ไปกำหนดตรงเส้นแวง ที่พาดผ่าน จ. อุบล แทนที่จะกำหนดตรงเส้นที่ผ่าน กทม. และเส้นที่ผ่าน จ.อุบล ห่างจาก กรีนนิช 7 ชม. พอดี ไทยก็เลยใช้เส้นนี้มาจนบัดนี้

    (ทั้งหมดนี้เป็นความรู้ที่จำได้มาตั้งแต่สมัยเรียน ม.ปลาย ครับ)


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.18255305290222 sec
Sidebar: 0.028422832489014 sec