On this page the following entries were made in the “สิงหาคม, 2009” time-frame.
Archive for “สิงหาคม, 2009”
สามก๊ก ฉบับเหม็นโฉ่ว ตอนที่ ๒
บทที่ ๒
อันเมื่อบ้านเมืองเป็นวิบัติ หรือถึงคราที่จะเสื่อมสูญ ดับสูญลง มักปรากฎซึ่งอาเพศนานับประการ ดังปรากฎในเพลงยาวพยากรณ์ชะตากรุงศรีอยุธยา
…..
เดือนดาวดินฟ้าจะอาเพด
อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาล
เกิดนิมิตพิศดารทุกบ้านเมือง
พระคงคาจะแดงเดือดดังเลือดนก
อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง
ผีป่าจะวิ่งเข้าสิงเมือง
ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร
…..
มิใช่เทศกลร้อนก็ร้อนระงม
มิใช่เทศกาลลมก็พัด
มิใช่เทศกาลหนาวหนาวก็พ้น
มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ
…..
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ
นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย
น้ำเต้าอันลอยก็จะถอยจม
…..
จะเป็นเมืองแพศยาอาทัน
นับวันก็จะเริ่มเสื่มสูญเอย
……
“พระเจ้าเลนเต้ด้อยความสามารถ มิได้ตั้งอย่ในโบราณราชประเพณี กาลวิบัติของฮ่องเต้องค์นี้เกิดจากข้าราชบริพารที่อยู่แวดล้อม มิได้เป็นคนดีมีศีลสัตย์ยึดคุณธรรม ฉาบหน้าล้วนวางท่ามีเกียรติ แฝงอุดมด้วยวาระซ้อนเร้น ยึดถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง มิไดสนใจทุกข์สุขของประชาราษฏร์ ฮ่องเต้กับโฮเฮาอัครมเหสีรวมทั้งตังไทฮอพระราชมารดาคนสามัญ หลงเชื่อฟังเเต่พวกขันทีประจบสอพลอ ยกย่องขันทีให้เป็นใหญ่ในแผ่นดินยิ่งกว่าขุนนางทั้งปวง พระเจ้าเลนเต้ทรงมีอำนาจราชศักดิ์ แต่ทรงบริหารราชการแผ่นดินกับอำนาจที่พระองค์มีอยู่ไม่เป็น ที่ควรแข็งมิแข็ง ที่ควรอ่อนมิอ่อน อีกทั้งได้แม่ทัพชื่อโฮจิ๋น เป็นพี่ชายอัครมเหสีโฮเฮา มีรากเหง้ามาจากคนฆ่าสัตว์ขายหมู เป็นคนทึ่ม ไม่มีความรู้ทางการทหาร และการปกครองบ้านเมือง”
สามก๊ก ฉบับบริหาร
ศาสตรจารย์เจริญ วรรธนะสิน
หากจะกล่าวง่ายๆคือราชสำนักฮั่นยุคปลายนี้ล้วนมาจากคนสามัญทั้งฮ่องเต้ แม่ฮ่องเต้ มเหสี และแม่ทัพใหญ่ คนทั้งหมดนี้มาจากนอกราชสำนักดังนั้นการจะมีบารมีในราชสำนักต้องอาศัยขันที ที่มีเครือข่ายทั้งในวังและนอกวัง ทำให้ขันทีจึงมีอำนาจมากขึ้นจนกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการล่มสลายราชวงศ์ฮั่น
เมื่อความอดทนของประชาชนถึงขีดสุดการต่อต้านจึงบังเกิดขึ้น เฉกเช่นเมื่อครั้งเล่าปังปฐมฮ่องเต้เคยได้ลุกขึ้นสู้เพราะทนการกดขี่ของราชสำนักไม่ได้เพียงแต่การลุกขึ้นสู้ครั้งนี้มีผู้นำที่อ้างตนว่าเป็น ผู้วิเศษ
ครั้นนั้นที่เมืองกิลกกุ๋นเกิดโรคห่าระบาดหนัก มีคนป่วยเป้นอันมาก ชายผู้หนึ่งอ้างตนเป็นผู้วิเศษเที่ยวแจกยันต์ตามบ้าน ให้ติดไว้ที่หน้าบ้าน พลันแล้วอาการระบาดก็ทุเลาลง ชายผู้นั้นจึงได้รับการสรรเสริญจากชาวบ้านทั้งปวงเป็นอันมาก ชายผู้นี้คือ เตียวก๊ก
เตียวก๊กเห็นว่าราชสำนักอ่อนแอ ใกล้ถึงวันอวสาร จึงคิดการหมายชิงแผ่นดิน เตียวก๊กป่าวประกาศไปยังศิษย์ที่มีอยู่ทั่วไปในแปดหัวเมืองว่า แผ่นดินนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วจักต้องมีผู้มีบุญลงมาครองแผ่นดินใหม่ ประชาจักต้องอยู่เย็นเป็นสุข พร้อมทั้งประกาศสโลแกนว่า ฟ้าครามสิ้นแล้ว ฟ้าเหลืองขึ้นแทน ปีชวดนี้แล ใต้ฟ้ารุ่งเรือง
ชาวบ้านที่ทนการกดขี่ของขุนนางชั่วช้าในท้องถิ่นไม่ได้ต่างเข้าร่วมกลุ่มกบฎของเตียวก๊กเป็นอันมาก เตียวก๊กเองชอบโผกผ้าสีเหลืองเป็นสำคัญ [...]
Continue reading “สามก๊ก ฉบับเหม็นโฉ่ว ตอนที่ ๒” »