เสริมความแข็งแรงของคันดินกั้นน้ำ

อ่าน: 4024

คุณถนัด พีระประสมพงศ์ ส่งอีเมลถึงผู้ดูแลเว็บ thaiflood.com ซึ่งส่งเมลต่อให้ผมดู (ผมตัดอีเมลทิ้งไป)

From: Thanat Peeraprasompong
Date: 2011/10/9
Subject: เสนอแนวทางซ่อมประตูน้ำบางโฉมศรี
To: webm...@thaiflood.com

ขออนุญาตนำเสนอแนวทางการซ่อมแซมประตูน้ำบางโฉมศรี และอีกหลายๆ จุดนะครับ

สืบเนื่องจากได้ดูข่าวความพยายามซ่อมแซ่มประตูน้ำบางโฉมศรี ที่ใช้หินห่อตะแกรงเหล็ก แล้วนำไปวางต่อๆ กัน แต่ยังทนแรงน้ำเชี่ยวไม่ไหว

1. เสาเข็มต้นใหญ่ วางแนวขนานกับแนวพนังหินเดิม หลายๆ ต้น ซ้อนๆ กัน (ดูภาพจากไฟล์ที่แนบมา จะเข้าใจนะครับ)
2. หย่อนหินที่ห่อตะแกรงด้านหลังแนวเสาเข็มที่วางซ้อนต่อกัน

การทำแบบนี้ ทำให้หินที่วางลงไปจะไม่ถูกแรงน้ำพัดพาไป

ด้วยความเคารพ

ผมคิดว่าเป็นความคิดที่เข้าท่ามากๆ ครับ คนมีความรู้ หากไม่สามารถจะใช้ความรู้นั้นให้เกิดประโยชน์ได้ ก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่รู้

อ่านต่อ »


น้ำใจไทย

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 October 2011 เวลา 2:07 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4387

เจอข้อความนี้ในทวิตเตอร์ อ่านแล้วก็อึ้งไปสองวินาที


White Thailand

ชาวบ้านเฉาะมะพร้าวมาเลี้ยงเรา #ArsaDusit ผมถามหาว่าต้นมันอยู่ไหน ชาวบ้านตอบว่า “ดำน้ำลงไปเก็บมา” #ThaiFlood  http://t.co/E8761ALw

เรื่องข้างบนนี้เกิดที่อยุธยา แม้ชาวบ้านผู้ประสบภัยประสบความทุกข์ยากมากแล้ว ก็ยังมีน้ำใจแบ่งปันมะพร้าวมาให้อาสาสมัคร ซึ่งยอมเสี่ยง ยอมเหนื่อย ลงพื้นที่ประสบภัยไปช่วยเหลือพวกเขา มะพร้าวนี้และอาหารทุกอย่างเป็นสิ่งที่มีค่ามาก เพราะอาหารคือความอยู่รอด ภัยที่เกิดในวงกว้างและผู้ประสบภัยกระจัดกระจายกันอยู่ทั่ว เป็นไปไม่ได้เลยที่ทีมช่วยเหลือต่างๆ จะไปช่วยได้ทันท่วงทีได้ทุกที่

อ่านต่อ »


ระบบจับคู่ความต้องการกับความช่วยเหลือ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 October 2011 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2830

จากบันทึก [ฐานข้อมูลการร้องขอความช่วยเหลือ] ซึ่งเปิดให้ร้องขอความช่วยเหลือ โดยให้รายละเอียดให้มากที่สุด วันนี้ thaiflood.com ก็เปิดตัวอีกครึ่งหนึ่งของภาพ คือฐานข้อมูลความช่วยเหลือ โดยข้อมูลจากทั้งสองฐาน มีการจับคู่กันว่าการร้องขอใดที่ยังไม่มีผู้ช่วยเหลือ การร้องขอใดที่มีผู้เข้าไปช่วยเหลือแล้ว

http://form.thaiflood.com/request
http://form.thaiflood.com/delivery

เรื่องนี้ก็เป็นไปตามหลักการ Pleas & Pledges Matching คือการจับคู่ความต้องการและความช่วยเหลือ ทำให้ไม่ส่งความช่วยเหลือไปแบบเดาสุ่มโดยไม่มีข้อมูล และไม่ส่งความช่วยเหลือมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

พื้นที่ประสบภัยเป็นพื้นที่อันตราย ไม่ใช่พื้นที่ที่จะเข้าไปโดยไม่เตรียมตัวให้พร้อมนะครับ

เมื่อจะเข้าพื้นที่ ควรวางแผนไปก่อน น่าจะดีกว่าไปหาข้อมูลเอาข้างหน้า; ถึงแม้จะมีข้อมูลจากแหล่งข่าวหรือผู้ประสบภัยเอง ก็ควรจะแบ่งปันข้อมูลกันระหว่างทีมช่วยเหลือต่างๆ เพราะว่าความช่วยเหลือในลักษณะถุงยังชีพนั้น ช่วยให้อยู่ได้ไม่นาน เมื่อใช้ของในถุงยังชีพหมดแล้ว ผู้ประสบภัยก็ยังความต้องการความช่วยเหลืออยู่ดี ตามนิยามของภัยพิบัติที่สหประชาชาติใช้ คือ “เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้ชีวิตไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ และเกินกำลังของท้องถิ่นที่จะจัดการ จำเป็นต้องร้องขอความช่วยเหลือจากภายนอก

อ่านต่อ »


ความหมายของงานป้องกัน

อ่าน: 4026

น้องชายผมทำงานดูแลการผลิตในโรงงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่คลองรังสิต

ความคิดเรื่องการป้องกัน ก็ต้องประเมินดูความเสี่ยงต่างๆ ถ้าน้ำท่วมคลองรังสิต ก็จะท่วมโรงงาน และบริษัทจะเสียหาย ดังนั้นเขาก็ออกไปประเมินสถานการณ์โดยไม่ต้องมีใครสั่ง พบความเสี่ยงและได้เขียนบอกกล่าวเอาไว้ในเฟสบุ๊ค (แต่ผมไม่ลิงก์ไว้ให้นะครับ ด้วยเหตุผลของความเป็นส่วนตัวของเขา) ในเมื่อไม่รู้ก็ต้องเรียนรู้ ตรวจสอบ แทนที่จะรอรายงานหรือคิดไปเอง

คลิกดูแผนที่เพื่อความเข้าใจ

อ่านต่อ »


เรือโครงเหล็กเส้น

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 October 2011 เวลา 13:09 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3720

คนเราถ้าใส่ใจในความเดือดร้อนของผู้อื่น รู้ว่าน้ำท่วมผู้คนเดือดร้อนเป็นล้านคน คงไม่อยู่เฉยๆ หรอกครับ แล้วยิ่งมีความรู้จริง ก็จะเห็นช่องทางทำอะไรได้เยอะ แสวงเครื่องได้หลากหลาย

อาจารย์ทวิช อดีตวิศวกรนาซ่าท่านหนึ่ง สอนอยู่ที่สำนักวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สร้างต้นแบบเรือที่ใช้เหล็กเส้นมาผูกเป็นโครง (Rebar) แล้วใช้ผ้าใบคลุมรถสิบล้อมาทำเป็นลำเรือครับ สร้างได้ง่ายมาก งบประมาณสักสองพันบาท

(อาจารย์ไม่อยากให้นำชื่อนาซ่ามาใช้เป็นยี่ห้อเหมือนนักร้องที่ต้องมีชื่อวงหรือชื่อการประกวดแปะท้ายเป็นยี่ห้อ แต่ว่าผมรู้จักท่านบนเน็ตตั้งแต่ท่านยังทำงานอยู่ที่นั่นเมื่อยี่สิบปีก่อน รู้ว่าท่านเป็นของจริง; อดีตวิศวกรนาซ่าทุกคนที่ได้พูดคุย ต่างก็คิดแบบนี้เหมือนกันหมด เพราะต่างคนต่างเป็นของจริงโดยไม่ต้องอวดอ้าง)

ถ้าอย่างนี้ ช่างก่อสร้าง ช่างกล หรือใครๆ ก็สร้างได้ เหมือนดังกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานให้คณะผู้บริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรและถ่ายทอดทางโทรทัศน์

… ถ้าทำได้แล้วก็จะเป็นการช่วยประเทศชาติให้อยู่อย่างดี ถ้าไม่เอาใจใส่ในความคิดเหล่านี้ งานทั้งหลายที่เราทำก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย แต่ก็ต้องมีบกพร่อง เพราะว่าเศรษฐกิจพอเพียงถ้าคิดแบบชาวบ้าน ไม่มีอะไรที่ฝรั่งเรียก sophisticated มันแบบธรรมดาๆ พอทำอะไรแบบธรรมดาก็ดูท่าทางไม่มีประโยชน์ใหญ่โตมโหฬาร แต่ว่าถ้าทำไม่ sophisticated ชาวบ้านก็ทำเองได้ …

เศรษฐกิจพอเพียงนั้นซื้อของได้ แต่ซื้ออย่างฉลาด ซื้อเท่าที่จำเป็น… ถ้ายังคิดเอะอะอะไรก็ซื้อแหลก อย่างนั้นไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงมั๊งครับ

เรือนี้เบื้องหลังเป็นเรื่องของการเลือกใช้สิ่งที่พอหาได้ในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม (แรง+วัสดุ ฟังดูน่าปวดหัว) แต่เวลาสร้างนั้น ใครก็ทำได้ง่ายๆ ครับ

อ่านต่อ »


ฐานข้อมูลการร้องขอความช่วยเหลือ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 October 2011 เวลา 23:15 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2783

เวลาเกิดความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ใครๆ ก็เดือดร้อนทั้งนั้น แต่คนช่วยมีน้อยกว่าคนเดือดร้อนมาก ดังนั้นในเมื่อจะช่วยกันจริงๆ ก็ประสานกันหน่อยดีไหมครับ อย่าให้เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเลย ขบวนรถช่วยเหลือลงพื้นที่ในกระแสข่าวจนรถติด ส่วนพื้นที่ที่ไม่ได้ ก็ไม่มีใครเหลียวแล

ตามพรบ.ป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 15 ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการรับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตจังหวัด และสั่งการตามลำดับชั้น ผู้ว่าฯ ท่านอยู่ในพื้นที่ครับ ท่านรู้สถานการณ์และบริบทดี แต่ด้วยข้อจำกัดของระบบราชการ ระบบการรวบรวมกลั่นกรองหลายชั้น และอะไรต่อมิอะไรอีกเยอะแยะที่ไม่อยากกล่าว รายละเอียดเล็กๆ จะตกหล่นหายไปเสมอ

ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครถูกลืม ขอร้องให้ช่วยกันแชร์ข้อมูลสถานการณ์+ความเดือดร้อนครับ

http://form.thaiflood.com/request

กรอกข้อมูลแล้วจะได้ไม่ต้องรีทวิตมากจนไปกลบข้อความสำคัญอื่นๆ แต่กรอกแล้วความเดือดร้อนจะปรากฏอยู่ในแผนที่ ช่วยให้ทีมต่างๆ ที่วางแผนจะช่วยเหลือ ได้วางแผนเส้นทางและเตรียมความพร้อมในการบรรเทาทุกข์ได้เหมาะสม

แน่นอน ที่นี่เมืองไทย อาจจะมีคนป่วนได้ ทีมคนพิการที่น้ำใจงาม จะโทรศัพท์ตรวจสอบและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม… ถ้าท่านไม่ได้ช่วยอะไร ก็อย่าป่วนเลย เห็นแก่คนที่เดือดร้อนบ้างเถอะ

ฐานข้อมูลนี้ ใช้ร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคประชาชน… จะมีฟอร์มอื่นตามออกมาอีก เพื่อที่ว่าทีมใดจะลงพื้นที่ใด ดูแลได้แค่ไหน ทีมอื่นจะได้ไม่ทำงานซ้ำซ้อน กระจายความช่วยเหลือไปยังผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ กำลังเรามีไม่มาก ต้องใช้อย่างฉลาดที่สุด อย่าเสียเวลามานั่งบริกรรมคำว่าบูรณาการ แต่ยังคิดจะรวบไว้คนเดียวเลย ไว้ใจกัน ประสาน และช่วยกันทำได้ครับ


เรือกระดาษราคาถูกกว่า

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 October 2011 เวลา 22:30 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8790

จากบันทึกที่แล้ว [เรือส่วนตัวราคาถูก] ที่มีเป้าหมายที่ราคาลำละพันบาท ที่จริงมีถูกกว่านั้นครับ แต่ต้องอาศัยพื้นที่แห้ง ผลิตแล้วส่งไปช่วย ราคาไม่น่าจะเกินลำละห้าร้อยบาท โดยใช้กระดาษลูกฟูก กาว เทป OPP (อาจใช้สีพลาสติกสำหรับทาบ้านด้วย ถ้าจะหรูหน่อยก็อาจใช้โพลียูริเทน) บวกกับความกล้าคิดกล้าทดลอง

เรือลอยได้ด้วยแรงลอยตัว (buoyancy) คือลำเรือไปแทรกน้ำ เกิดแรงยกเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกแทนที่หรือผลักออกไป แต่ในขณะเดียวกันนำที่ถูกแทนที่ ก็จะพยายามกลับเข้ามาที่เดิม จึงเกิดแรงกดต่อลำเรือ ดังนั้นลำเรือจึงต้องมีความแข็งแรงพอ

กระดาษลูกฟูกที่ใช้ทำกล่อง โดยปกติแล้วต่อให้ติดเทปทำผิวกันน้ำ ก็ไม่น่าจะมีความแข็งแรงพอ… แต่ถ้าหากหัดสังเกตก็จะพบว่าอาการอย่างนี้ ไม้อัดก็เป็นครับ เค้าแก้ปัญหาความแข็งแรงของไม้อัดโดยการซ้อนเป็นหลายชั้น โดยเรียงลายไม้ไปคนละทางให้ขัดกัน ทากาวแล้วอบอัด ลายไม้ที่ขัดกันก็จะกระจายแรงที่กระทำต่อผิวของไม้อัดได้ ฉันใดก็ฉันนั้น หากเรานำเอากล่องลูกฟูกมาทางกาวติดกัน แต่ว่าเรียงแต่ละชั้นให้ลูกฟูกหันไปคนละทาง ก็จะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดาษลูกฟูกได้ดี!

อ่านต่อ »


เรือส่วนตัวราคาถูก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 October 2011 เวลา 23:39 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6493

เดินทางในน้ำท่วม เรามักจะนึกถึงเรือก่อนเสมอ แล้วก็เป็นเรือ “ตามรูปแบบ” ที่ไม่ได้เตรียมไว้่ล่วงหน้าเสียด้วยสิ ก็เลยไม่รู้จะทำอะไร นั่งทอดอาลัยกับความเสียหาย

เรือไฟเบอร์แพงตามระดับน้ำ แถมแพก็หาไม้ไผ่ไม่ได้ จะใช้พีวีซีก็หลังละพันกว่าสองพัน แล้วถ้าจะกดราคาให้ต่ำกว่าลำละพันบาท จะทำได้ไหม… ได้อยู่แล้วครับ ไม่งั้นผมก็ไม่เขียนหรอก แต่ว่ามีเงื่อนไขคือเรือประกอบเองอย่างนี้ นั่งได้ พายได้ ถ่อได้ แต่ใช้ในน้ำเชี่ยวไม่ได้ เพราะใช้แรงคนซึ่งไม่สามารถต้านทานแรงน้ำไหว (อย่าซ่าเด็ดขาด) เสถียรภาพของเรือ ขึ้นกับน้ำหนักที่ถ่วงลงต่ำตรงกลางลำเรือ ถ้าหนักมากก็จะมีเสถียรภาพมาก แต่น้ำหนักบรรทุกน้อยลงเพราะแรงลอยตัวที่เกิดขึ้น ต้องไปแบกน้ำหนักถ่วงด้วย

การกดราคาให้ต่ำวิธีของคืนนี้คือใช้ไม้หรือท่อพีวีซีขนาดเล็กต่อเป็นโครง แล้วสร้างผิวกันน้ำที่เหนียวโดยใช้ Duct Tape

อ่านต่อ »


ตามมีตามเกิด

อ่าน: 5294

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า ตามมีตามเกิด ไว้ว่า “สุดแต่กำลังความสามารถอันน้อยเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น” ตรงข้ามกับความหมายของคำว่า งอมืองอตีน ซึ่งพจนานุกรมแปลว่า “เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทำการงาน, ไม่คิดสู้”

ในภาวะวิกฤตนั้น เรื่องที่มีอันตรายร้ายแรงแต่ไม่ค่อยพูดถึงกันคือเรื่องความเครียด… ก็ผู้ประสบภัยหมดตัวจะไม่ให้เครียดได้ยังไงครับ มองไปทางไหนก็มีแต่น้ำ แล้วจะไม่ให้คิดเรื่องหมดตัวซ้ำซากได้อย่างไร

ดังนั้น ควรหาอะไรที่ผู้ประสบภัยทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อตัวเองและครอบครัว ไม่นั่งรอความช่วยเหลือแต่ถ่ายเดียว

เรือฝาชี

อันแรกเป็นเรือของคนอเมริกันพื้นเมือง รูปร่างเหมือนฝาชีที่เอาชันยาก้นให้กันน้ำได้ ถ้าหาชันไม่ได้ อาจจะลองสีพลาสติกเกรดหนาหน่อย ก็คงพอใช้ได้ครับ

จะรับน้ำหนักได้แค่ไหน ก็แล้วแต่ความแข็งแรงของฝาชี และน้ำหนักบรรทุก

นั่งในฝาชี พายไปพายมา โรแมนติคไปอีกแบบ

แต่ห้ามใช้เรือฝาชีในน้ำเชี่ยวอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเสถียรภาพต่ำมาก พลิกคว่ำในคลื่นหรือกระแสน้ำแรงได้ง่าย

เสื้อชูชีพทำเอง

เรื่องนี้ต้องขอยกย่องชื่นชมเป็นพิเศษต่อ ผู้ประดิษฐ์ ผู้ทดลอง ผู้ถ่ายทำ และผู้เผยแพร่ความรู้ (คุณ 1Bigidea — คุณประเสริฐ มหคุณวรรณ เบอร์โทรหาได้ในลิงก์ข้างบน)

อ่านต่อ »


เรือที่ต้านน้ำน้อย

อ่าน: 3494

ปัญหาหนึ่งที่เจอในพื้นที่ประสบอุทกภัยในช่วงนี้ คือน้ำเชี่ยวมาก ในเมื่อกระแสน้ำมีกำลังแรง เรือพายก็จะทานกระแสน้ำไม่ไหว

บางครั้งความแรงของน้ำหมุนเรือได้ หรือกดให้หัวหรือกราบเรือจมน้ำได้ และทำให้เรือล่มหรือพลิกคว่ำได้ จุดอ่อนของเรือในกรณีอย่างนี้คือว่าเรือมีส่วนที่จมน้ำมาก ดังนั้นก็จะต้านน้ำมาก ทำให้ต้องใช้เครื่องที่มีกำลังแรงซึ่งราคาแพงและกินน้ำมันซึ่งหาเติมได้ยากในพื้นที่ประสบภัย

แต่ว่าเรือเป็นพาหนะจำเป็นสำหรับอุทกภัย ใช้เพื่อเดินทาง นำคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาล และใช้ขนความช่วยเหลือ ในการไปแจกสิ่งของบรรเทาทุกข์ครั้งหนึ่ง พบว่าชาวบ้านต้องเดินลุยน้ำระดับอกมาเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร เพื่อมารับสิ่งของบริจาค แล้วก็ต้องเอาเทินหัวลุยน้ำกลับไปบ้านอีกหลายกิโลเมตร ช่างเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากและอันตรายเหลือเกิน ถ้าเพียงแต่มีพาหนะที่เดินทางในน้ำได้ หรืออย่างน้อยก็ขนของหนักช่วยผ่อนแรงคนก็คงจะดีไม่น้อย

เรื่องนี้ เขียนมาหลายบันทึกแล้วครับ ผมคิดว่าการแจกเรือ ใช้ได้สำหรับสถานการณ์ที่น้ำนิ่งๆ เท่านั้น หากน้ำเชี่ยว ไม่สามารถใช้พายหรือถ่อไปได้ พอต้องติดเครื่องเรือก็ไปกันใหญ่ละ แต่บริจาคเรือก็ยังดีกว่าเดินแบกของลุยน้ำครับ แล้วเครื่องเรือแพงกว่าลำเรือเสียอีก

เรื่องนี้มีอยู่สองปัญหาที่ต้องแก้ คือราคาของเรือ เพราะว่ากำลังในการบริจาคนั้น มีอยู่ไม่มาก ต้องทุ่มเททรัพยากรส่วนใหญ่ไปช่วยผู้ประสบภัยให้พอประทังอยู่ไปได้ก่อน และเรื่องกำลังที่จะขับเคลื่อนเรือไป

อ่านต่อ »



Main: 0.21031904220581 sec
Sidebar: 1.1702530384064 sec