การประเมินผลผลิตข้าว

อ่าน: 2443

การประเมินผลผลิตในนาข้าว โดยเฉพาะนาดำด้วยเครื่องปักดำ เนื่องจากสามารถปลูกเป็นแถว ที่ตั้งระยะระหว่างแถว และระหว่างกอได้ตามความต้องการ ในการทำแปลงนาดำสาธิต หนึ่งไร่ครึ่ง เป็นนาข้าวหอมมะลิ105 ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับความอนุเคราะห์ทั้งกล้าข้าวหอมมะลิ 105 อายุ 15วัน พร้อมเจ้าหน้าที่นาสาธิต และรถปักดำจากบริษัทสยามคูโบต้าคอร์เปอเรชั่น จำกัด มาช่วยปักดำให้เป็นการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นภาระกิจส่วนหนึ่งของการตอบแทนสังคม

อาม่าได้ขอตั้งเครื่องปักดำ ดังนี้ คือ

  1. ปักดำที่ละสามต้น(หนึ่งกอ)
  2. ตั้งระยะห่างระหว่างแถว 30 ซม.
  3. ตั้งระยะห่างระหว่างกอ 20 ซม.

ในพื้นที่หนึ่งไร่ จะมีเนื้อที่ 1,600 ตารางเมตร  หากเราปักดำข้าวตามข้อกำหนด จะมีข้าว 15 กอ/หนึ่งตารางเมตร

การประเมินผลผลิตข้าวอย่างคร่าวๆ โดยการคำนวนผลผลิตในเนื้อหนึ่งตารางเมตร

อ่าม่าสุ่มเก็บรวงข้าวมาจำนวนหนึ่ง นับเมล็ดข้าว/ต่อรวง เฉลี่ยแล้วได้ข้าว 207 เมล็ด / รวง ซึ่งเป็นค่าที่สูงทีเดียว

นับเมล็ดข้าว

เลือกพื้นที่กลางนา วัดเนื้อที่ หนึ่งตารางเมตร ตัดข้าวทั้งหมดที่อยู่ภายในเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร เพื่อมานับจำนวนลำข้าวที่ออกรวง

ตัดข้าวในหนึ่งตารางเมตร

เด็กๆ ที่สามารถนับเลข หนึ่งถึงสิบได้ มาช่วยกันนับรวงข้าว กองละสิบรวง ผู้ใหญ่จะมารวมเป็นกำละ ห้าสิบรวง เพื่อสะดวกแก่การนับจำนวนรวงข้าวในหนึ่งตารางเมตร ทั้งนี้อาม่าให้โอกาสเด็กๆ ได้ม่ส่วนร่วมในการประเมินผลผลิตข้าวในแปลงนานี้ สร้างความสนุกสนานให้กับเด็กๆ ด้วย และได้เรียนรู้ว่าการนับรวงข้าวนี้ได้ประโยขน์อะไร ผลปรากฏว่าได้ข้าวทั้งหมด 234 รวง

จากนั้นอาม่าจะประเมินผลผลิต/ไร่ได้สะดวกขึ้น จากประสบการณ์การคาดคะเนผลผลิต ทุกครั้งที่ทำการเก็บเกี่ยวข้าว จะเกิดความเสียส่วนหนึ่งจากการเก็บเกี่ยว และความไม่สม่ำเสมอของรวงข้าว และจำนวนเมล็ดข้าวลีบส่วนหนึ่ง ต้องไม่ลืมหักความเสียหายออกก่อนการคำนวน จึงใช้ค่าเมล็ดข้าวดีสองค่าคือ  150 เมล็ด / รวง และ 100 เมล็ด / รวง ในการคำนวนผลผลิตข้าวในหนึ่งตารางเมตร และใช้จากข้อมูล ข้าว 1,000 เมล็ดหนัก  30 กรัม(ชาวนาวันหยุด)ในการคำนวนในดังนี้

  1. ในกรณี  ใช้ ตัวเลขข้าว 150 เมล็ด / รวง  ในการคนวนข้าวต่อหนึ่งตารางเมตร  234×150x30/1,000 = 1.053 กก. ในนาหนึ่งไร่จะผลผลิตข้าว 1.053 x 1,600 = 1,684.8 กก.
  2. ในกรณี ใช้ ตัวเลขข้าว 100 เมล็ด / รวง  ในการคนวนข้าวต่อหนึ่งตารางเมตร   234×100x30/1,000 = .702 กก. ในนาหนึ่งไร่จะผลผลิตข้าว  .702 x 1,600 = 1,123.2 กก.

สรุปผลผลิตต่อไร่ ไม่ต่ำกว่า หนึ่งตันแน่นอน

ในที่สุดการชั่งน้ำหนักข้าวในนาแปลงนี้ (หนึ่งไร่ครึ่ง)เกิดขึ้นหลังจากตากข้าวสี่วันจนแห้ง ได้น้ำหนัก 1,502 กก. ซึ่งเป็นน้ำหนักแห้ง ที่สูญเสียน้ำหนักอย่างน้อย 10 % ดังนั้นน้ำหนักวันเก็บเกี่ยว  1,652.2 กก. สรุปได้ข้าวจริงๆ เกินหนึ่งตัน ต่อไร่ค่ะ


เก็บเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิต

อ่าน: 2451

เสาร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ แปลงนาสาธิต การทำนาดำอินทรีย์ บ้านใหม่อุดม ต. บ้านใหม่ อ. หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา อาม่าในฐานะวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ. นครราชสีมา ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ให้ครอบครัวชาวนา ทำนาให้ได้ข้าวให้พอกินตลอดทั้งปี และมีเมล็ดพันธุ์พอเพียงที่จะปลูกในฤกาลต่อไป อย่างมั่นคง จึงทำแปลงนาสาธิต เพื่อสอนให้ชาวนาทำนาที่เป็นมิตกับสิ่งแวดล้อม ถีงเวลาเก็บเกี่ยว อาม่าประสานขอความอนุเคราะห์รถเก็บเกี่ยวข้าวจาก บริษัทสยามคูโบต้า คอร์เปอเรชั่น จำกัด ซึ่งได้รับความร่วมมือดีอย่างดียิ่งค่ะ

แม่เสมเจ้าของนาคนที่ยืนดูนา

อาม่ากำลังโบกมือ

แม่เสมเจ้าของนา ปราบปลื้มกับผลผลิตที่ได้ ตอนปักดำให้ด้วยรถปักดำของคูโบต้า ใช้กล้าข้าวหอมมะลิ  ๑๐๕ อายุ ๑๕ วัน แม่เสมมาสารภาพกับอาม่าว่า ตอนแรกจะถอดใจแล้ว เพราะต้นข้าวต้นเล็กมาก แล้วเหี่ยวคิดว่าต้องตายแน่ๆ หลังจากปักดำดำไปได้หนึ่งอาทิตย์เริ่มให้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำฉีดพ่น เพิ่มเสริมสร้างรากให้แข็งแรง จากนั้นข้าวเริ่มตั้งตัวได้ แม่เสริมทำตามคำแนะนำ และสังเกตุว่าหลังฉีดปุ๋ยครั้งแรก ไม่มีหญ้ามารบกวน จึงเรียกปุ๋ยน้ำว่ายา อาม่าต้องอธิบายให้ฟังว่า เป็นปุ๋ยน้ำอินทรีย์ที่ผลิตโดยเครือข่ายของอาม่า ให้ไว้ทั้งหมด ๖ ถัง (ถังละ๑ลิตร) ทีมงานอาม่าอธิบายวิธีใช้ ให้ชาวนาได้รับฟัง ซึ่งมีสองสูตร สูตรที่หนึ่งใช้กับต้นข้าวอายุน้อยกว่าสองเดือน และสูตรที่สองหลังจากต้นข้าว มีอายุสองเดือนขึ้นไป แม่เสมก็ทำตามคำแนะนำ คือ ฉีดปุ๋ย ทุก ๑๕ วัน รวมฉีดปุ๋ยทั้งหมด หกครั้ง และยอมรับว่าทำนาแบบนี้ไม่เหนื่อยเลยและออกรวงสวยงามจนเป็นที่โจทย์จันกันใน หมู่ชาวนา ตอนแรกนึกว่าจะไม่ได้ข้าวแน่ๆ แต่กลับกลายเป็นาข้าวที่สวยที่สุดในระแวกนี้ ถึงกับจะมาขอแลกข้าวไปปลูกบ้าง

รถเก็บเกี่ยวข้าวคูโบต้า

แปลงนาข้าวนี้ มีเนื้อที่แค่ไร่ครึ่ง ไม่ถึงสองไร่ค่ะ เพราะอีกครึ่งไร่อยู่เหนือขึ้นไปเป็นอีกแปลง ใชักล้าข้าวที่เตรียมมาสองไร่ไปดำที่แปลงน้อยด้วย และดูแลเหมือนนาแปลงใหญ่

ถ่ายข้าวใส่รถ

เก็บไปได้ส่วนหนึ่งเต็มรถเก็บเกี่ยว(เท่ากับน้ำหนักข้าวหนึ่งตัน ) ต้องถ่ายขึ้นรถบรรทุกข้าว แล้วเก็บเกี่ยวส่วนที่เหลือต่อจนหมด ซึ่งได้ข้าวอีกมากเกือบเต็มรถ คาดว่าต้องได้ข้าวเกือบสองตัน ในนาไร่ครึ่งค่ะ


เหตุผลที่ไม่ให้เผาฟางข้าว

อ่าน: 86776

ทำไมชาวนาถึงถูก ต่อว่าเและถูกห้ามไม่ให้เผาฟางข้าวทั้งในนา และนอกนา

หลายครั้งหลายหนที่ชาวนาได้ยินได้ฟัง แต่ไม่ทำตามนั้นต้องเข้าใจและเห็นใจเขานะคะ เพราะสังคมทุนนิยมเข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัว ชาวนาทิ้งไร่นาไปสู่แรงงานภาคอุตสากรรม ทำคนให้เป็นเครื่องจักร จึงทำให้ขาดแรงงานภาคเกษตรกรรมรุนแรงขึ้นทุกวัน ทำอะไรที่ต้องพึ่งการซื้อแรงงานจากคน จะพบเห็นการพึ่งพาแรงแบบลงแขกที่เป็นวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่มีคุณค่ายิ่งหายไปจากไร่นา เพราะถูกวิถีชีวิตเร่งรีบครอบงำด้วยวัตถุนิยม จนลืมความงดงามของสังคมชนบทที่พึ่งอาศัยแบ่งปันกัน มาเป็นสังคมชาวนาที่ต้องจ่ายค่าจ้างเป็นค่าแรงงานเพิ่มขึ้น นับวันแรงงานยิ่งหายากมากขึ้น จนชาวนาท้อ เพราะถึงแม้มีแรงแต่ขาดทักษะการทำนา จ้างค่าแรงงาน จบแล้วจบเลยไม่มีความพูกพันแบบดั้งเดิม เงินมิอาจซื้อความงดงามของวัฒนธรรมความมีน้ำใจได้ค่ะ  ความจำเป็นที่จะลดค่าแรงงานในการไถกลบหมักฟางในนา กว่าฟางเปื่อยก็ใช้เวลาไม่ทันใจ จึงอาศัยการเผาฟาง อาศัยยาฆ่าหญ้า อาศัยสารเคมีกำจัดแมลงแลพศัตรูพืช ทั้งที่รู้ถึงอันตรายจากสารเคมี แต่จะอ้างว่าไม่มีทางเลือก อาม่าจึงพยายามไปเสาะทางเลือกมาให้ค่ะ บันทึกนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาให้พิจารณาค่ะ ในการตอบโจทย์ว่าทำำไมไม่ให้เผาฟาง

ทำนาปลูกข้าวแบบไม่ต้องฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบ ประหยัดค่าแรง ลดต้นทุน
ในฟางข้าวที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งร้อยถังหรือหนึ่งตัน

ในฟางข้าวที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งร้อยถังหรือหนึ่งตัน
จะมีไจนโตรเจน 7.6 กก., ฟอสฟอรัส 1.1 กก., โพแทสเซียม 28.4 กก., แมกนีเซียม 2.3
กก., แคลเซียม 3.8 กก. กำมะถัน 0.34 กก. เหล็ก 150 กรัม. สังกะสี 20 กรัม ทองแดง 2
กรัม โบรอน 16 กรัม. ซิลิก้า 41.9 กิโลกรัม คลอรีน 55 กิโลกรัม (สถาบันข้าวนานาชาติ
IRRI, Manila, Philippines (1987)) จากตัวเลขดังกล่าว
สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของฟาง
ถ้าไม่เผาฟางก็สามารถประหยัดปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนอาหารเสริมได้มาก

ต้นข้าวต้องการปุ๋ยธาตุอาหารหลักเพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือก
100 ถังหรือหนึ่งตันโดยต้องการ ไนโตรเจน 22.2 กก. มีอยู่ในฟางแล้ว 7.6 กก.
ต้องการเพิ่มอีก 14.6 กก. ฟอสฟอรัส 7.1 ก.ก. มีอยู่ในฟางแล้ว 1.1 ต้องการเพิ่มอีก
6.0 กก. โพแทสเซียม 31.6 กก. มีอยู่ในฟางแล้ว
28.4 ต้องการเพิ่มอีก 3.2 กก.
จะสังเกตุเห็นได้ว่าในส่วนที่ขาดหายไปนั้นก็คือออกไปในรูปของแกลบหรือเปลือกข้าว
จึงควรต้องเพิ่มเข้ามาให้เกิดความสมดุลกัน ธาตุอาหารหลักทั้งสามตัวถ้าสังเกตให้ดี
ไนโตรเจน 7.6 กิโลกรัมจากฟางข้าว เทียบเท่าได้กับ ปุ๋ยเคมี 16-20-0 หนึ่งกระสอบ
คือมีไนโตรเจนตัวหน้าร้อยละ 16 ปุ๋ยหนัก
50 กิโลกรัมต่อกระสอบ ก็เท่ากับมีไนโตรเจนอยู่ 8 กิโลกรัม ในฟางข้าวขาดเพียง 0.4
กิโลกรัมเท่านั้นเอง ส่วนโพแทสเซียมในฟางข้าวมีอยู่ 28.4 กิโลกรัม
เทียบเท่าได้กับปุ๋ย 0-0-60 หนึ่งกระสอบ เทียบเปอร์เซ็นต์เหมือนกับปุ๋ยไนโตรเจนในข้างต้น

ถ้าเกษตรกรกระทำการเผาตอซังฟางข้าว
ก็เท่ากับว่าได้เผาปุ๋ยทิ้งไป 2 กระสอบ เป็นเงินก็เกือบ 2,000 บาทสูญเสียรายได้หรือกำไรไปแล้วโดยที่ยังไม่ได้ลงมือปลูก
แต่ถ้าเราไม่เผาฟางเท่ากับเราได้สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยเพิ่มปุ๋ยให้กับดินไปอีก
2 กระสอบ แถมยังได้ธาตุอาหารเสริมจุลธาตุต่างๆ
ช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง โดยอาจจะเติมปุ๋ยลงไปบ้างเพียงเล็กน้อยตามปริมาณที่ต้นข้าวต้องการจากผลการวิจัย
IRRI ด้านบน

อีกทางเลือกหนึ่งเราสามารถใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟที่ชื่อว่า
“ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์” ซึ่งมีแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ มากมาย ทั้งฟอสฟอรัส,
แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, เหล็ก, ทองแดง แมงกานีส , สังกะสี, โบรอน,
มิลิบดินัม ฯลฯ และที่สำคัญคือแร่ซิลิก้าหรือซิลิสิค แอซิด (H4Sio4) ที่ช่วยให้ข้าวใบตั้งชูสู้แสง
ไม่ล้มง่ายปลอดภัยในช่วงเก็บเกี่ยวที่มีพายุฟ้าฝนลมแรง ช่วยเพิ่มน้ำหนัก
เมล็ดแกร่ง โดยทำการหว่านเตรียมดินตอนทำเทือกเพียง 1 – 2 กระสอบต่อไร่
จะช่วยลดทดแทนการฉีดพ่นปุ๋ยยาฮอร์โมนและธาตุอาหารเสริมทางใบ ช่วยลดต้นทุนไม่ต้องสิ้นเปลืองเรื่องแรงงานในการฉีดพ่น
อันนี้ก็ฝากพี่น้องเกษตรกรให้ช่วยเลือกพิจารณากันสักนิดนะครับ หากเลือกพรรค เลือก
ส.ส. ยังตัดสินใจไม่ได้ ก็ลองเลือกใช้
“ซีโอ-พูมิซซัลเฟอร์” กันดูก่อนนะครับ

มนตรี
บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com


ปลูกผักปลอดสารพิษ water crest

127 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ กรกฏาคม 6, 2011 เวลา 22:46 ในหมวดหมู่ ความพอเพียง, ความมั่นคงทางอาหาร, เกษตรประณีต #
อ่าน: 3560

การปลูกผักปลอดสารพิษสามารถ ทำได้สะดวกสะบายในพื้นที่จำกัด ตัวอย่างวันนี้คือการปลูก water crestสามารทำโครงเหล็กวาง กระถางหรือถุงที่ปลูก water crestวางเรียงเป็นชั้น ประหยัดพื้นที่ สามารถเคลื่อนย้าย ได้สะดวกสบาย เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัด ใครก็ทำได้ เราสามารถปลูกผักกินใบได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักสลัดนานาชนิด ที่มีตั้งแต่ใบที่มีรูปทรงต่างๆ ตั้งแต่ใยเรียบกลมมนยาว หรือสั้น ใบหยักเป็นคลื่น ใบที่แตกฝอยสวยงาม และสีของใบก็มีตั้งแต่สีเขียวอ่อน ถึงเข้ม จนถึงสีแดงที่เข้มอ่อนต่างกัน จะทำให้เพลิดเพลินเจริญตา เจิญใจ ปลูกเองกินเองด้วยมาตรฐาน กรอ…..อิอิ

อยากรู้เรื่องการปลูกwater crest ก็ที่มีข้อมูลครบถ้วน อาม่าจัดให้ค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 33(พึ่งพากัน)

อ่าน: 10445

โครงการความมั่นคงทางอาหาร นอกจากเราจะต้องอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้านแล้ว ต้องหมั่นเอามาขยายพันธุ์ให้มากพอ และแจกจ่ายให้เกษตรกรในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการนำไปใช้ปลูกเพื่อกิน และกระจายแบ่งปันเพื่อนเกษตรกรต่อๆ ไป จะทำให้พันธุ์พืชพื้นบ้านไม่สูญายหายไปจากท้องถิ่น

อาม่ามีความพยายามที่จะช่วยเปลี่ยนเกษตรกรเคมี มาเป็นเกษตรอินทรีย์แบบค่อยเป็นค่อยไป ทีมงานอาม่านั้นศักยภาพสูง เราทำงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกร เอาปัญหาของเกษตรกรมาศึกษาวิเคราะห์ แล้วแก้ปัญหาเป็นขั้นเป็นตอน ส่วนใหญ่เกษตรกรที่เคยชินกับการใช้สารเคมีจะใจร้อน มักจะทำแบบเดิมๆ …อ้างว่าไม่มีเวลา……นี่คือปัญหาหลัก แต่เราก็ไม่ย่อท้อทำให้ดูและช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ให้เกษตรกรที่ให้ความร่วมมือ เมื่อผลผลิตออกมาแล้ว….นั่นคือคำตอบ อาม่าบอกเสมอว่าให้ผลงานแทนคำพูดเถิด คนเราไม่เหมือนกันสอนคนที่เราสอนได้ก่อน….

ผลสรุปของทีมงานหลังจากลงมือทำงานศึกษาวิเคราะห์แล้ว ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร  จึงตกลงกันว่าต้องผลิตสารจากสมุนไพร ที่มีประสิทธิ์ภาพ แทนสารเคมีที่เกษตรกรใช้ ทุกชนิด ตอนนี้ทีมงานพร้อมแล้ว ตั้งแต่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่มีคุณภาพเหมาะกับพืชแต่ละชนิด และแต่ละช่วงอายุ ปริมาณการใช้น้อยมาก/ไร่ ต้นทุนต่ำมาก  ได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่าการใช้สารเคมีเป็นอย่างน้อย สารสมุนไพรกำจัดโรคพืช แมลงศัตรูพืช ตลอดจนสารสมุนไพรกำจัดหญ้าแต่ละชนิด ผลพลอยได้คืออนุรักษ์จุลินทรีย์สิ่งมีชีวิต คืนระบบนิเวศน์เล็กๆ และคืนระบบห่วงโซ่อาหารกลับคืนสู่ ท้องไร่ท้องนาเกษตรอินทรีย์ ชีวีก็มีสุข และที่สำคัญที่สุดเป็นมิตรกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม แน่นอนที่สุด ปลอดภัยต่อชีวิตรเกษตรกร

เมื่อวานทีมงานไปพบกับน้องต้นกล้า(สุภชัย ปิติวุฒิ) ชาวนาวันหยุด คนดังเกษตรอินทรีย์ผสมผสานเทคโนโลยีแห่ง G2K

เช้าวันนี้น้องต้นกล้ารายงานอาม่าดังนี้ค่ะ
“จัด rotary weeder ฝากไปกับหมอหยก กับหมอแหลมแล้วครับ ขอบคุณอาม่า สำหรับชุด จัดการหอย และเเมลงในเเปลงนา กับสารอินทรีย์ชีวภาพ ครับ จะลองเอาไปใช้ และแจ้งผลให้ทราบครับ”

Large_img_3294

Large_img_3069

อาม่าเลยส่งสารสกัดสมุนไพรไปให้น้องต้นกล้ากำจัดหอยเชอรี่และปูนา ไม่อันตรายต่อสัตว์เลี้ยง และเกษตรกรค่ะ



Main: 1.0587780475616 sec
Sidebar: 3.2205798625946 sec