ส.ค. 09

ผมเริ่มตั้งสมมุติฐานอย่างหนึ่งว่าคนไทยมองความถูกผิดในลักษณะที่แตกต่างจากชาวตะวันตก แน่นอนว่าจริงๆ แล้วมันจะต้องต่างกันอยู่แล้วเพราะความแตกต่างทางวัฒนธรรม แต่ประเด็นตรงนี้คือคนไทย (สำรวจจากตัวเองด้วย) มองความถูกผิดเป็นเรื่องสัมพัทธ์เอามากๆ ทำให้เกิดพฤติกรรมแปลกๆ หลายอย่าง อย่างสำนวนที่ว่า “เกลียดตัวกินไข่” “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” “เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม” “เดินตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด” หรือ นิทานที่แม่ปูสอนลูกปูให้เดินตรงๆ เป็นต้น

ต้องออกตัวบ่อยๆ ว่าที่เอาเรื่องพวกนี้มาคิดมาคุยกันทั้งที่เป็นเรื่องน่าเบื่อก็เพื่อที่จะทำความเข้าใจตัวเอง และปัญหาของทีมงานในบริษัท และการที่หัวข้อเป็นเรื่องนิสัยคนไทยเพราะว่ากำลังทำความเข้าใจปัญหาสากลของคนไทยที่ไม่ใช่ปัญหาสากลของชาวตะวันตก เพื่อใช้ในการปรับปรุงตัวเองและคนใกล้ตัว ไม่ใช่เป็นการมองว่าฝรั่งดีกว่าหรือแย่กว่าคนไทย แต่เพราะว่ามันไม่มีประโยชน์ที่จะพูดถึงข้อดีของคนไทย หรือข้อเสียของฝรั่ง ที่มีประโยชน์กว่าคือการเข้าใจข้อเสียของตนเอง และข้อดีของผู้อื่น อ่านต่อ… »

ส.ค. 08

ที่มา http://qa.buu.ac.th/form/common/QA2.ppt

ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง

คนไทยมักจะยึดติดกับความเคยชินแบบเดิมๆ เคยทำมาอย่างไรก็จะทำอยู่อย่างนั้น ไม่ค่อยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าฝรั่งเอาวิธีใหม่ๆ เข้ามาทำให้พวกเขาต้องทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญให้พวกเขา มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่หรือไม่ก็ถึงกับถูกต่อต้านก็มี อ่านต่อ… »

ม.ค. 02

จะเขียนเรื่องนิสัยคนไทยแล้วก็พยายามรวบรวมความคิดอยู่พักหนึ่ง พอดีมีเรื่องไฟไหม้ซานติก้าผับ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 จึงได้โอกาสพูดเรื่องนิสัยแรก งานนี้ตายไปประมาณ 60 คนทันที บาดเจ็บอีกหลายร้อย เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่เกิดขึ้นตอนกำลังเค้าดาวพอดี เพราะไหม้จากพลุเค้าดาวนั่นแหละ ผมรู้จากข่าววันรุ่งขึ้นเพราะหลับไปตั้งแต่สองทุ่มแล้ว

ผมวิเคราะห์ว่าคนไทยมีนิสัย ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อหนึ่งคือ “ไม่เป็นไร” อ่านต่อ… »

ต.ค. 18

ที่เกิดนึกจะเขียนบล็อกขึ้นมาทั้งๆ ที่ไม่เคยคิดมาก่อนเลยคืออย่างนี้ครับ ในช่วงสามปีที่ผ่านมาผมเริ่มบริษัทที่ปรึกษาเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ศรีราชา ทำหน้าที่ช่วยเหลือองค์กรในการเปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส บริษัทมีเว็บหลายเว็บ แต่ผมไม่เคยคิดจะเขียนบล็อกเพราะมีความรู้สึกว่าไม่มีเวลาเขียนหนังสือ เพราะเขียนช้า จนกระทั่งพักหลังๆ สังเกตตัวเองว่ามีเรื่องบางเรื่องที่ชอบเล่าหรือบ่นให้พวกน้องๆ ในบริษัทฟัง ไปๆ มาๆ เลยกลายเป็นความหมกหมุ่นที่ทำให้สนใจในปัญหานี้ เพราะตัวผมเองก็มีปัญหานี้ น้องๆ ก็มีกัน ดูคนทั่วไปก็มี แล้วก็เป็นปัญหาในการทำงานมาก เรียกได้ว่าเป็นปัญหาเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ในที่ทำงานของผมเลย

ปัญหาที่ว่าคือเรื่อง “นิสัยคนไทย” ซึ่งแปลว่าปัญหาแบบนี้เป็นปัญหาเฉพาะในที่ทำงานหรือบ้านเมืองคนไทย ไม่ใช่ปัญหาสากลทั่วไป ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่ว่าฝรั่งมันดีกว่าเรา หรือว่ามันไม่มีปัญหานะครับ แต่ว่าปรกติปัญหาสากลเราก็มักจะมีทางแก้ที่มีการเรียนรู้มาเป็นอย่างดี ปัญหาลักษณะนิสัยของฝรั่งก็มักจะมีหนทางแก้หรือไม่ก็แค่ทำความเข้าใจ แต่ปัญหาจาก “ความเป็นไทย” โดยเฉพาะในที่ทำงานดูจะเป็นอะไรที่ “ตามมีตามเกิด” องค์กรที่จัดการเรื่องนี้ได้ดีก็จะมาจากประสบการณ์ หรือเกิดจาก “ตัวบุคคล” ของผู้บริหารที่เข้าใจนิสัยคนไทย มากกว่าที่จะมีหลักการให้เลียนแบบได้

เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าถกเถียง เลยขอยกขึ้นมาจั่วหัวไว้ก่อน ลองค้นดูในเน็ตพอจะมีข้อมูลให้อ้างอิงได้บ้างตามที่ลอกมาไว้ข้างล่าง อ่านต่อ… »