ซานติก้าผับ - ไม่เป็นไร วัวหายไม่ต้องล้อมคอก ความถูกผิดสำหรับคนไทย
ส.ค. 08

ที่มา http://qa.buu.ac.th/form/common/QA2.ppt

ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง

คนไทยมักจะยึดติดกับความเคยชินแบบเดิมๆ เคยทำมาอย่างไรก็จะทำอยู่อย่างนั้น ไม่ค่อยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าฝรั่งเอาวิธีใหม่ๆ เข้ามาทำให้พวกเขาต้องทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญให้พวกเขา มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่หรือไม่ก็ถึงกับถูกต่อต้านก็มี

การโต้แย้ง

เมื่อมีการเจรจา คนไทยจะไม่กล้าโต้แย้งทั้งๆ ที่ตัวเองกำลังเสียเปรียบ ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นคนคุมเกม บางคนบอกว่ามีนิสัยอย่างนี้เรียกว่า “ขี้เกรงใจ” แต่สำหรับฝรั่งแล้ว นิสัยนี้จะทำให้คนไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคนไทยคือ มักจะไม่ค่อยกล้าบอกความคิดของตัวเองออกมาทั้งๆ ที่คนไทยก็มีความคิดดีไม่ไม่แพ้ฝรั่งเลย แต่มักจะเก็บความสามารถไว้ ไม่บอกออกมาให้เจ้านนายได้รู้ และจะไม่กล้าตั้งคำถาม บางทีฝรั่งก็คิดว่าคนไทยรู้แล้วเลยไม่บอกเพราะเห็นว่าไม่ถามอะไร ทำให้ทำงานกันไปคนละเป้าหมาย หรือทำงานไม่สำเร็จ เพราะคนที่รับคำสั่งไม่รู้ว่าถูกสั่งให้ทำอะไร

ความรับผิดชอบ

1.ฝรั่งมองว่าคนไทยเรามักทำไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาในการทำงานไว้ล่วงหน้า ทั้งๆทีงานบางชิ้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดยิ่งงานไหนให้เวลาในการทำงานนานก็จะยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ๆ จะถึงกำหนดส่ง เลยทำงานออกมาแบบรีบๆ ไม่ได้ผลงานดีเท่าที่ ควร
2.ไม่ค่อยยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าให้เซ็นชื่อรับผิดชอบงานที่ทำคนไทยจะกลัวขึ้นมาทันที เหมือนกับกลัวจะทำไม่ได้ หรือกลัวจะถูกหลอก

วิธีแก้ไขปัญหา

คนไทยไม่ค่อยมีแผนการรองรับเวลาเกิดปัญหา แต่จะรอให้เกิดก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไปแบบเฉพาะหน้า หลายครั้งที่ฝรั่งพบว่าคนไทยไม่รู้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรต้องรอให้เจ้านายสั่งลงมาก่อนแล้วค่อยทำตามถ้านายเจ้านายไม่อยู่ทุกคนก็จะประสาทเสียไปหมด

บอกแต่ข่าวดี

คนไทยมีความเคยชินในการแจ้งข่าวที่แปลกมาก คือ
1.จะไม่กล้าบอกผู้บังคับบัญชาชาวต่างชาติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จนกระทั่งบานปลายไปเกินแก้ไขได้จึงค่อยเข้ามาปรึกษา
2.จะเลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่าเจ้านายจะชอบ เช่น บอกแต่ข่าวดีๆ แทนที่จะเล่าไปตามความจริงหรือถ้าหากเจ้านายถามว่า จะทำงานเสร็จทันเวลาไหม ก็จะบอกว่าทัน (เพราะรู้ว่านายอยากได้ยินแบบนี้) แต่ก็ไม่เคยทำทันตามเวลาที่รับปากเลย

คำว่า “ไม่เป็นไร”

เป็นคำพูดที่ติดปากคนไทยทุกคน ทำให้เวลามีปัญหา ก็จะไม่มีใครรับผิดชอบ และจะไม่ค่อยหาตัวคนทำผิดด้วยเพราะเกรงใจกัน แต่จะใช้คำว่า “ไม่เป็นไร” มาแก้ปัญญหาแทน

ทักษะในการทำงาน

1.ไม่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ ถ้าทำงานเป็นทีมมักมีปัญหาเรื่องการกินแรงกันบางคนขยันแต่บางคนไม่ทำอะไรเลย บางทีก็มีการขัดแย้งกันเองในทีม หรือเกี่ยงงานกันจนผลงานไม่คืบหน้า
2.ไม่ค่อยมีทักษะในการทำงาน แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงมาแล้ว และไม่ค่อยใช้ความพยายามอย่างเต็มทีเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด
3.พนักงานชาวไทยที่รู้จัก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องราวความเคลื่อนไหวของโลกเท่าไรนัก แล้ไม่ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติมแม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานก็ตาม

ความซื่อสัตย์

พนักงานคนไทยควรจะมีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมามากกว่านี้ หลายครั้งที่ชอบโกหกในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น มาสาย ขาดงานโดยอ้างว่าป่วย ออกไปข้างนอกในเวลางาน

ระบบพวกพ้อง

คนไทยมักจะนำเพื่อนฝูงมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ ผมไม่เคยชอบวิธีนี้เลย ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อข้าวของภายในสำนักงาน พวกเขามักจะแนะนำเพื่อนๆ มาก่อนโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่บริษัทควรจะได้รับ นี่เป็นประสบการณ์จริงที่ประสบมา การให้ความช่วยเหลือเพื่อนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเลยเป็นอะไรที่แย่มาก และเมื่อพบว่าเพื่อนพนักงานด้วยกันทุจริต คนไทยก็จะช่วยกันปกป้อง และทำให้ไม่รู้ไม่เห็นจนกว่าผู้บริหารจะตรวจสอบได้เอง

แยกไม่ออกระหว่างเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว

คนไทยมักจะไม่รู้ว่าอะไรว่าอะไรคือเรื่องงาน และอะไรที่เรียกว่าเรื่องส่วนตัว พวกเขาชอบเอาทั้งสองอย่างนี้มาปนกันจนทำให้ระบบการทำงานเสียไปหมด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งขององค์กร
1.ชอบสอดรู้สอดเห็น โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน
2.มักจะคุยกันเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานมากเกินไป บางครั้งทำให้บานปลายและนำไปสู่ข่าวลือ และการนินทากันภายในสำนักงาน
3.มักจะลาออกจากบริษัทโดยไม่ยอมแจ้งล่วงหน้าตามข้อตกลง แต่กลับคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์เต็มที่
4.ไม่ยอมรับความผิดชอบที่มีมากขึ้นในช่วงวิกฤติ
5.ต้องการเงินมากขึ้นแต่กลับไม่ค่อยสร้างคุณค่างานอะไรเพิ่มขึ้นเลย

ความคิดเห็นที่ pantip.com
ความคิดเห็นแย้งของ wbj

2 ความคิดเห็นสำหรับ “การทำงานแบบคนไทยในมุมมองของชาวต่างชาติ”

  1. bangsai Says:

    เรื่องเหล่านี้เคยคุยกันมามากพอสมควร ส่วนตัวผมคิดว่ามีบางมุมมอง ที่แตกต่างออกไปนะครับ เช่น เมื่อโลกเปลี่ยนไป เราเอามาตรฐานฝรั่งมาจับ แน่นอนความบกพร่องของคนไทยในมาตรฐานนั้นย่อมมีมากมาย ดังกล่าวมาทั้งหมด ซึ่งผมก็เห็นด้วย เพราะก็ทำงานกับฝรั่งมาก็ไม่น้อย แต่หากจะเอาวิธีการบริหารงานแบบของฝรั่งเปี๊ยบเลยมาใช้กับคนไทย ผมก็ว่านักบริหารคนนั้นย่อมประสบปัญหามากมาย เผลอจะเครียดมากกว่าลูกน้องที่เป็นคนไทยอีก นักบริหารต่างหากที่ต้องยึดหลักการที่ก้าวหน้าและต้องมีศิลปในการเข้าถึงคนไทยและปรับปรุงเขา อย่างเข้าใจอย่างนุ่มนวล อย่างเป็นมิตรและสร้างสรรค์ มีหลายองค์กรทำได้

    ฝรั่งที่ผมทำงานด้วยส่วนใหญ่จะเข้าหลักสูตรฝึกอบรม “การเข้าถึงวัฒนธรรมที่แตกต่าง” พบว่าได้ผลดีขึ้นมาก  

    งานในองค์กรส่วนใหญ่มุ่งส้รางงานให้บรรลุเป้าหมาย แต่ไม่ค่อยมีฝ่ายที่เกาะติดประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงคนในองค์กร เมื่อพบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามที่องค์กรพึงประสงค์ก็จะใช้กฏระเบียบมาจับ แล้วก็เรียกมาตักเตือน ลงโทษ วิธีการนี้เก่าไปแล้ว สมควรทบทวนใหม่ ข้อคิดที่มีบางแห่งทำก็คือ ส้รางทีมงานพี่เลี้ยงขึ้นมาแบบเนียนๆ เมื่อใครมีประเด็นปัญหาก็เข้าไปคลุกคลีแบบเนียนๆ ศึกษาสาระลึกๆว่าเป็นเช่นไร เพราะอะไร ทำไม ฯลฯ แล้วก็แลกเปลี่ยนแนวทางออก แล้วก็นำประเด็นนั้นๆมาปรึกษาแก้ไขกับผู้บริหารระดับสูง แบบ แก้ปัญหานอกรูปแบบ (informal approach) ได้ผลมากกว่า

    มีองค์กรธุรกิจของฝรั่งที่ผมรู้จัก ห่วยแตกก็มี พนักงานเข้าออกเป็นว่าเล่น แสดงถึงวิธีการบริหาร ทำงานแย่มากๆ

    เป็นเพียงความคิดเห็นกว้างๆน่ะครับ
    ผมชอบบันทึกนี้ครับ

  2. DrRider Says:

    มันเป็นเรื่องทัศนะคติของคนที่เข้ามาทำงาน ไม่ใช่เรื่องของผู้บริหารฝ่ายเดียว ไม่ใช่ว่าเอาการบริหารแบบฝรั่งเข้ามาใช้ทั้งหมด แต่จริงๆ คนทำงานควรจะต้องมี insight ต้องมีการพัฒนาตัวเอง ต้องหัดพูดกันตรงๆ ต้องรู้จักประเมินตัวเองและขอความช่วยเหลือให้เป็น ไม่ใช่ทำงานไปวันๆ

แสดงความคิดเห็น

*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word