การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 1

โดย จอมป่วน เมื่อ 15 June 2009 เวลา 11:42 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 141010

คน สมัยปู่ย่าตายายของเราก็รู้วิธีและทำปุ๋ยหมักกันมานานแล้ว แต่ปัจจุบันเราทอดทิ้งภูมิปัญญาพื้นบ้านแล้วหันไปพึ่งพาปุ๋ยเคมี ซึ่งก่อปัญหาอื่นๆตามมาอีก เช่นดินเสื่อมสภาพ การขาดดุลการค้า ฯ

การทำปุ๋ยหมักก็เป็นการที่มนุษย์สังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  แล้วนำมาปรับประยุกต์ใช้   คนสมัยปู่ย่าตายายของเราก็รู้วิธีและทำกันมานานแล้ว  แต่ปัจจุบันเราทอดทิ้งภูมิปัญญาพื้นบ้านแล้วหันไปพึ่งพาปุ๋ยเคมี  ซึ่งก่อปัญหาอื่นๆตามมาอีก  เช่นดินเสื่อมสภาพ  การขาดดุลการค้า ฯ
เราสามารถทำปุ๋ยหมักใช้เองที่บ้าน  หรือแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะทั่วไปตั้งแต่ครัวเรือนเพื่อไม่ให้เกิดการปน เปื้อนกับสารหรือวัตถุอันตรายต่างๆ  แล้วให้ท้องถิ่นเก็บไปทำปุ๋ยหมักที่โรงงานทำปุ๋ย (  กรณีที่ท้องถิ่นมีโรงงานทำปุ๋ยหมัก )  ก็จะสามารถลดปริมาณขยะที่ต้องเก็บ  ขนส่งและนำไปกำจัดลงได้เกือบครึ่ง  ซึ่งก็หมายถึงการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะมูลฝอยลงได้ด้วย

ศัพท์ที่ควรทราบ
ขยะอินทรีย์หรือขยะชีวภาพ ( Organic Waste ) คือขยะที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิตและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ  ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม  เช่น  เศษผัก  เศษผลไม้  เศษอาหาร  กิ่งไม้  ใบหญ้า  ดอกไม้  เป็นต้น  แบ่งออกเป็น
วัสดุสีน้ำตาล ( Brown material ) คือขยะอินทรีย์ที่มีสีน้ำตาล  ลักษณะทั่วไปจะแห้ง  มีองค์ประกอบของคาร์บอนมาก  ( Carbon- rich materials )  เช่น  กิ่งไม้แห้ง  ใบไม้แห้ง  ฟางข้าว  แกลบ  ดอกไม้แห้ง  หญ้าแห้ง  ขี้เลื่อย  เปลือกถั่ว  เป็นต้น
วัสดุสีเขียว  ( Green material ) คือขยะอินทรีย์ที่มีสีเขียว  ลักษณะทั่วไปจะชื้น  มีองค์ประกอบของไนโตรเจนสูง (  Nitrogen-rich materials )  เช่น  หญ้าที่ตัดใหม่ๆ  ดอกไม้สด   เศษผักเศษผลไม้สด  ขยะจากครัว  เศษอาหาร  มูลสัตว์ เป็นต้น



ปัจจัยที่สนับสนุนการหมัก

1. สัดส่วนวัสดุสีน้ำตาล : วัสดุสีเขียว
2. อากาศ
3. ความชื้น
4. ขนาดของกอง  ( ช่วยควบคุมอุณหภูมิ )

ถ้าพูดในเชิงทฤษฎีก็คือ  Optimum Composting Conditions

1.  Carbon : Nitrogen  <> 30 : 1

2.  Oxygen  > 5 %

3.  Moisture   40-60 %

4.  Temperature  90-140 F

ในธรรมชาติ  กองกิ่งไม้ใบหญ้าและวัสดุธรรมชาติก็จะเกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติหรือเกิด การหมักอยู่แล้ว  เช่นการที่ชาวสวนกวาดเอาใบไม้  เศษหญ้า  มาสุมที่โคนต้นแล้วปล่อยให้เกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ  แต่อาจใช้เวลานานหน่อย   แต่ถ้าเราควบคุมสภาพแวดล้อมให้ปัจจัยที่สนับสนุนการหมักเหมาะสมก็จะใช้เวลา น้อยลง  จะอธิบายละเอียดในตอนต่อไปครับ  โปรดติดตาม

« « Prev : ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมEnvironmental Research and Training Center- ERTC

Next : การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 2 สัดส่วนวัสดุที่ใช้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

9794 ความคิดเห็น